1. โครงการพัฒนาสมรรถนะบัณฑิตเพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศไทย 4.0 กิจกรรม การอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาทักษะวิชาการนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
การพัฒนาประเทศไทย 4.0 เน้นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจให้ไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เพื่อให้ประเทศหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) เป็นเหตุให้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงขึ้นในทุกภาคส่วนรวมถึงในระบบการศึกษา สมรรถนะของบัณฑิตในยุคการพัฒนาประเทศไทย 4.0 นอกจากสมรรถนะด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีขั้นสูง และการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณ สมรรถนะด้านภาษาอังกฤษ และการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพนับเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ยุค 4.0
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จึงจัดโครงการฯ ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08.00 - 17.30 น. ณ ห้องประชุมปิ่นเกลียว และห้อง LI 2 อาคารศูนย์ภาษา ศูนย์คอมพิวเตอร์ และหอประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริหาร บุคลากร เจ้าหน้าที่และนักศึกษาของคณะฯ
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
นักศึกษามีสมรรถนะที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศไทย 4.0 โดยสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากวิทยากรไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ฝึกการกล้าคิด กล้าแสดงออก
2. โครงการบริการวิชาการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การจัดทำงบการเงินรวมและหมายเหตุประกอบงบการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การบันทึกบัญชีของโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การพัฒนาศักยภาพการบริหารงานในระบบ e-LAAS สำหรับผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารท้องถิ่น” รุ่นที่ 1
การบรรยายและฝึกปฏิบัติ หลักสูตร“การจัดทำงบการเงินรวมและหมายเหตุประกอบงบการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการบันทึกบัญชีของโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การพัฒนาศักยภาพการบริหารงานในระบบ e-LAAS สำหรับผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารท้องถิ่น” ระหว่างวันที่ 2 - 4 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรม ฟอร์จูน โคราช จังหวัดนครราชสีมา
โดยมีวัตถุประสงค์
1) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถจัดทำงบการเงินรวม การจัดทำงบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน งบแสดงฐานะทางการเงิน การกำหนดหมายเหตุประกอบงบการเงิน การจัดทำงบแสดงผลการดำเนินงาน การจัดทำหมายเหตุประกอบงบการเงิน การบันทึกนโยบายทางการบัญชีที่สำคัญ สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ถูกต้องตามระเบียบและหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง
2) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจและสามารถบันทึกบัญชีหน่วยงานแม่และหน่วยงานภายใต้สังกัดคือ โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้ถูกต้องตามหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ มท 0808.4/ว 1294 ลงวันที่ 5 พฤษภาคม 2565 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติในการบันทึกบัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจและสามารถใช้ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LAAS) เพื่อการพัฒนาองค์กร ด้านการวางแผน การบริหารจัดการหน่วยงานได้ถูกต้อง เหมาะสมกับงบประมาณ
4) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมปฏิบัติงานในระบบการบันทึกบัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LAAS) ได้ถูกต้องและสอดคล้องกับนโยบายการบัญชีภาครัฐตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ที่มีวัตถุประสงค์ให้มีการปฏิบัติด้านการเงิน การบัญชี การงบประมาณและการบริหารงานพัสดุ ให้เกิดประสิทธิผล เกิดความคุ้มค่า สะดวก รวดเร็ว โปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
ผู้เข้ารับการอบรมเป็นบุคลากรขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวนทั้งสิ้น 18 คน โดยโครงการมีการจัดเก็บรายได้จากการให้บริการวิชาการ จำนวน 18 คน ๆ ละ 4,500 บาท รวมเป็นจำนวนเงิน 72,900 บาท
3. โครงการบริการวิชาการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การจัดทำงบการเงินรวมและหมายเหตุประกอบงบการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การบันทึกบัญชีของโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การพัฒนาศักยภาพการบริหารงานในระบบ e-LAAS สำหรับผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารท้องถิ่น” รุ่นที่ 2
การบรรยายและฝึกปฏิบัติ หลักสูตร “การจัดทำงบการเงินรวมและหมายเหตุประกอบงบการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการบันทึกบัญชีของโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การพัฒนาศักยภาพการบริหารงานในระบบ e-LAAS สำหรับผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารท้องถิ่น” ระหว่างวันที่ 16-18 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรงแคนทารี เบย์ ระยอง จังหวัดระยอง
โดยมีวัตถุประสงค์
1) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถจัดทำงบการเงินรวม การจัดทำงบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน งบแสดงฐานะทางการเงิน การกำหนดหมายเหตุประกอบงบการเงิน การจัดทำงบแสดงผลการดำเนินงาน การจัดทำหมายเหตุประกอบงบการเงิน การบันทึกนโยบายทางการบัญชีที่สำคัญ สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ถูกต้องตามระเบียบและหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง
2) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจและสามารถบันทึกบัญชีหน่วยงานแม่และหน่วยงานภายใต้สังกัดคือ โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้ถูกต้องตามหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ มท 0808.4/ว 1294 ลงวันที่ 5 พฤษภาคม 2565 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติในการบันทึกบัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจและสามารถใช้ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LAAS) เพื่อการพัฒนาองค์กร ด้านการวางแผน การบริหารจัดการหน่วยงานได้ถูกต้อง เหมาะสมกับงบประมาณ
4) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมปฏิบัติงานในระบบการบันทึกบัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LAAS) ได้ถูกต้องและสอดคล้องกับนโยบายการบัญชีภาครัฐตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ที่มีวัตถุประสงค์ให้มีการปฏิบัติด้านการเงิน การบัญชี การงบประมาณและการบริหารงานพัสดุ ให้เกิดประสิทธิผล เกิดความคุ้มค่า สะดวก รวดเร็ว โปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
ผู้เข้ารับการอบรมเป็นบุคลากรขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวนทั้งสิ้น 28 คน โดยโครงการมีการจัดเก็บรายได้จากการให้บริการวิชาการ จำนวน 28 คน ๆ ละ 4,900 บาท รวมเป็นจำนวนเงิน 137,200 บาท
4. โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้สอบบัญชี (CPA) และ ผู้ทำบัญชี (CPD) สาขาวิชาการบัญชี
หลักสูตร กรอบแนวคิดสำหรับรายงานทางการเงิน (ใหม่) ผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2564
หลักสูตร มาตรฐานการรรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 (TFRS 15) เรื่อง G18 รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า
เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้การปฏิบัติงานในแต่ละมาตรฐานการบัญชีทุกมิติ ให้เป็นไปด้วยความถูกต้องชำนาญและพร้อมนำแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะการใช้งานในระบบให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทงการเงินปี 2564 สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมชูนูปถัมภ์
หลักสูตร กรอบแนวคิดสำหรับรายงานทางการเงิน (ใหม่) ผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2564 วันที่ 26 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้องประชุม 204 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
หลักสูตร มาตรฐานการรรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 (TFRS 15) เรื่อง G18 รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า วันที่ 29 ตุลาคม 2565 ณ ห้องประชุม 204 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
หลักสูตร กรอบแนวคิดสำหรับรายงานทางการเงิน (ใหม่) ผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2564 วันที่ 26 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้องประชุม 204 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 47 คน
หลักสูตร มาตรฐานการรรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 (TFRS 15) เรื่อง G18 รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า วันที่ 29 ตุลาคม 2565 ณ ห้องประชุม 204 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 53 คน
หลักสูตร กรอบแนวคิดสำหรับรายงานทางการเงิน (ใหม่) ผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2564 วันที่ 26 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้องประชุม 204 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
หลักสูตร มาตรฐานการรรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 (TFRS 15) เรื่อง G18 รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า วันที่ 29 ตุลาคม 2565 ณ ห้องประชุม 204 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
5. โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร อบรมการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้บุคลากร ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร่มไทรอัดยางไฟฟ้า
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรอบรมการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้บุคลากรห้างหุ้นส่วนจำกัด ร่มไทรอัดยางไฟฟ้า” โดยมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 12 คน เก็บค่าลงทะเบียนคนละ 1,300 บาท เป็นเงิน 15,600 บาท จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 และ 31 พฤษภาคม 2566 ณ ห้อง 403 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ให้ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะในการใช้งาน เครื่องมือ Google ผ่านออนไลน์ และการใช้งานโปรแกรม Microsoft Excel
2) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีทักษะในการใช้งานโปรแกรม Microsoft Excel
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร อบรมการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้บุคลากร ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร่มไทรอัดยางไฟฟ้า มีจำนวนผู้เข้ารับการอบรม 12 คน ผู้เข้ารับการอบรมเห็นว่าสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันอย่างมั่นใจ อยู่ในระดับมาก
6. โครงการบริการวิชาการ “การพัฒนาส่งเสริมอาชีพผู้ประกอบการร้านสตรีทฟู้ด (Street food) กระทรวงแรงงาน จัดโดย สาขาวิชาการเงินและการลงทุน
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ร่วมมือทางวิชาการกับกระทรวงแรงงาน กำหนดจัดโครงงการบริการวิชาการ “การพัฒนาส่งเสริมอาชีพผู้ประกอบการร้านสตรีทฟู้ด มีการจัดอบรม 2 รุ่น ๆ ละ 18 ชั่วโมง
รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่26-28 มิถุนายน 2566
รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 28-30 มิถุนายน 2566 โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้ว่างงานและเยาวชนในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม จำนวน 800 คน ค่าใช้จ่ายคนละ 450 บาท รวมเป็นเงิน 360,000 บาท
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
รุ่นที่ 1 มีจำนวนผู้เข้ารับการอบรม 111 คน โดยเบิกค่าใช้จ่าย คนละ 450 บาท เป็นเงิน 49,950 บาท (วันที่ 26-27 และ 28 มิถุนายน 2566 รวมทั้งสิ้น 18 ชั่วโมง)
ผลการสำรวจความพึงพอใจโครงการบริการวิชาการ “การพัฒนาส่งเสริมอาชีพผู้ประกอบการร้านสตรีทฟู้ด กระทรวงแรงงาน จากผู้เข้าอบรม จำนวน 111 คน
รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 26-28 มิถุนายน 2566 จำนวน 18 ชั่วโมง มีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.53 ด้านบริหารจัดการ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.47 ความพึงพอใจด้านวิชาการ อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.59 ความพึงพอใจด้านความเหมาะสมของสถานที่ และอาหาร อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.52 นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมอบรมมีข้อเสนอแนะว่าควรบันทึกการอบรมในทุกหัวข้อ และเผยแพร่ผ่านทาง Social Media เพื่อที่ผู้เข้าร่วมอบรมจะสามารถกลับไปดูย้อนหลัง หรือทบทวนเนื้อหาได้อีกครั้ง