1. โครงการขยายผลและพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านการศึกษา (SDG4) ระดับจังหวัด: ภาคกลาง
การศึกษา “โครงการขยายผลและพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4) ระดับจังหวัด : ภาคกลาง” นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทบทวนและปรับปรุงตัวชี้วัดของเครื่องมือสำรวจความก้าวหน้าของการพัฒนาเด็ก เยาวชนและแรงงานรุ่นใหม่ ระดับจังหวัด ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา 2) พัฒนาแนวทางการเก็บข้อมูล และระบบฐานข้อมูลสถานการณ์ความก้าวหน้าของการพัฒนาเด็ก เยาวชนและแรงงานรุ่นใหม่ระดับจังหวัด 3) สร้างเครือข่ายในการในการสำรวจและบริหารจัดการจัดเก็บข้อมูลความก้าวหน้าของการพัฒนาเด็ก เยาวชน และแรงงานรุ่นใหม่ระดับจังหวัดครอบคลุม 4 ภูมิภาค และ 4) สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ความก้าวหน้าของการพัฒนาเด็ก เยาวชน และคนรุ่นใหม่ระดับจังหวัดครอบคลุม 4 ภูมิภาค เพื่อนำใช้ในการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษาต่อองค์การสหประชาชาติและสาธารณะ
พื้นที่การศึกษาประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม นครนายก ลพบุรี สระแก้ว และระยอง กลุ่มเป้าหมายในแต่ละจังหวัด ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารสถานศึกษา 2) ตัวแทนครูอาจารย์ของแต่ละระดับการศึกษา 3) ตัวแทนนักเรียน/นักศึกษาแต่ละระดับการศึกษา (ป.6, ม.3, ม.6, ปวช.3) 4) ตัวแทนนักศึกษาระดับอุดมศึกษา (ปวส.2, ปริญญาตรีปีที่ 3 และปีที่ 4) รวมกลุ่มเป้าหมายจังหวัดละ 620 คน 5 จังหวัด 3,100 คน
การสำรวจและจัดเก็บข้อมูลใช้กระบวนการเก็บข้อมูลร่วมกับเครือข่ายสถาบันการศึกษาในพื้นที่ ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม รับผิดชอบจังหวัดนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี รับผิดชอบลพบุรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รับผิดชอบนครนายก และมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี รับผิดชอบสระแก้วและระยอง
เครื่องมือที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจำแนกตามกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย 6 ชุด ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา 2) แบบสอบถามตัวแทนครูอาจารย์ 3) แบบสอบถามนักเรียนระดับประถมศึกษา 4) แบบสอบถามนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและปวช. 5) แบบสอบถามนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและปวส. และ 6) แบบสอบถามนักศึกษาระดับอุดมศึกษาปริญญาตรี ปี 3 และปี 4
การดำเนินงาน ในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมา (ตุลาคม 2564 – เมษายน 2565) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. การประชุมร่วมกับคณะทำงานส่วนกลางเพื่อทำความข้าใจเกี่ยวกับโครงการ แนวทางการดำเนินงาน วางแผนการดำเนินงานร่วมกัน และให้ข้อคิดเห็นต่อคณะทำงานส่วนกลางและทีมพัฒนาระบบฐานข้อมูล ผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวม 3 ครั้ง
2. การประชุมปฏิบัติการระดับภาค ร่วมกับคณะทำงานระดับจังหวัดทั้ง 5 จังหวัด จำนวน 15 คน เพื่อทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ หลักคิดในการพัฒนาตัวชี้วัด SDG4 ระดับจังหวัด แนวทางการดำเนินโครงการ การจัดทำแผนปฏิบัติการ การบริหารจัดการ เครื่องมือ และกระบวนการในการสำรวจ การจัดเก็บข้อมูล การตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องของข้อมูล เมื่อวันที่ 19-20 พฤศจิกายน 2564 ณ ภูมนตรารีสอร์ท จังหวัดนครนายก
3. การประชุมคณะทำงานระดับจังหวัดกับภาคีเครือข่ายด้านการศึกษาระดับจังหวัด จังหวัดละ 1 ครั้งประกอบด้วย
ครั้งที่ 1 จังหวัดลพบุรี คณะนักวิจัยได้จัดประชุม เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564 ณ ห้องประชุมคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
ครั้งที่ 2 จังหวัดสระแก้ว คณะนักวิจัยได้จัดประชุม เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2564 ณ ห้องประชุม ครุธรรมจารุ โรงเรียนสระแก้ว
ครั้งที่ 3 จังหวัดนครปฐม คณะนักวิจัยได้จัดประชุม เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2565 ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ครั้งที่ 4 จังหวัดนครนายก คณะนักวิจัยได้จัดประชุม เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2565 ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒองครักษ์ จังหวัดนครนายก
ครั้งที่ 5 จังหวัดระยอง คณะนักวิจัยได้จัดประชุม เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2565 ณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
4. ประชุมติดตามการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เดือนละ 1 ครั้ง รวม 5 ครั้ง
5. ประสานงานติดตามการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ และทุติยภูมิระดับจังหวัด ตรวจสอบความถูกต้องและทำความสะอาดข้อมูล
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
1)จังหวัดนครนายก ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและยืนยันความถูกต้องของข้อมูลเสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์แล้ว
2)จังหวัดลพบุรี ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและยืนยันความถูกต้องของข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยประมาณร้อยละ 90
3)จังหวัดนครปฐม ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและยืนยันความถูกต้องของข้อมูลเรียบร้อยแล้ว โดยประมาณร้อยละ 80
4)จังหวัดสระแก้ว ดำเนินการเก็บข้อมูลและยืนยันความถูกต้องของข้อมูลเรียบร้อยแล้ว โดยประมาณร้อยละ 70
5)จังหวัดระยอง ดำเนินการเก็บข้อมูลและยืนยันความถูกต้องของข้อมูลเรียบร้อยแล้ว โดยประมาณร้อยละ 60
2. โครงการติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนาศักยภาพนักสื่อสารสุขภาวะและพัฒนาเครือข่าย พลเมืองสร้างสรรค์ (Creative CitiZen)
ดำเนินการติดตามปละประเมินผลโครงการพัฒนาศักยภาพนักสื่อสารสุขภาวะและพัฒนาเครือข่ายพลเมืองสร้างสรรค์ มีกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ Creative CitiZen Academy จัดขึ้นระหว่างเดือน กรกฎาคม - ตุลาคม 2566 จำนวนทั้งสิ้น 40 คน (รุ่น 1 จำนวน 20 คน รุ่น 2 จำนวน 20 คน) โดยมุ่งให้เกิดการพัฒนาเครือข่ายนักสื่อสารที่มีทักษะในการออกแบบสื่อสร้างสรรค์เพื่อสังคมสุขภาวะ
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
1) เกิดนักสื่อสารสุขภาวะทีมีสมรรถนะในการสื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง จำนวน 40 คน
2) เกิดสื่อสร้างแรงบันดาลใจภายใต้ประเด็นสุขภาวะ จำนวนไม่ต่ำกว่า 20 ผลงาน และ
3) เกิดการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อยกระดับเป็นหลักสูตรที่สามารถนำไปขยายผลต่อได้
3. โครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนา 3 ชุมชนต้นแบบของคณะวิทยาการจัดการ ตำบลคลองจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
โครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนา 3 ชุมชนต้นแบบของคณะวิทยาการจัดการ จังหวัดนครปฐม ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ให้กับบุคคลภายนอก ในตำบลคลองจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสินค้าเกษตรในชุมชน ยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นที่สะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ผสานการสร้างเรื่องราวโดยการสร้างเป็น online marketing content ของตำบลคลองจินดา ในจังหวัดนครปฐม ระยะเวลาดำเนินการ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ชุมชนท้องถิ่นตำบลคลองจินดา จังหวัดนครปฐม
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
ได้ผลงานออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชน จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์
การนำการบริการวิชาการไปใช้ประโยชน์ต่อ
1. นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ และฝึกประสบการณ์การลงพื้นที่บริการวิชาการ ตั้งแต่กระบวนการ วางแผน ลงพื้นที่ และสรุปโครงการ
2. ต่อชุมชน สังคม โดยการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ผลไม้พร้อมทาน คลองจินดา เฟรชฟรุ้ต จำนวน 5 ชิ้นงาน ได้แก่ มะม่วง ฝรั่ง แก้วมังกร ชมพู่ ชุดขนมไทยมงคล มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม กล่องละ 30 บาท เป็น 55 บาท
4. โครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนา 3 ชุมชนต้นแบบของคณะวิทยาการจัดการ จังหวัดนครปฐม ตำบลหนองปากโลง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
โครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนา 3 ชุมชนต้นแบบของคณะวิทยาการจัดการ จังหวัดนครปฐม จัดขึ้นในวันที่ 31 ตุลาคม 2566 ณ ชุมชนท้องถิ่นตำบลหนองปากโลง จังหวัดนครปฐม ให้กับบุคคลภายนอก ในตำบลหนองปากโลง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสินค้าเกษตรในชุมชน ยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นที่สะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ผสานการสร้างเรื่องราวโดยการสร้างเป็น online marketing content ของตำบลหนองปากโลง จังหวัดนครปฐม
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชน จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์
การนำการบริการวิชาการไปใช้ประโยชน์ต่อ
1. นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ และฝึกประสบการณ์การลงพื้นที่บริการวิชาการ ตั้งแต่กระบวนการ วางแผน ลงพื้นที่ และสรุปโครงการ
2. ชุมชนได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ และแปรนด์ ขนมครกในตำบลหนองปากโลง ร้านขนมครกสองพี่น้อง แบบบรรจุภัณฑ์รสดั้งเดิม ต้นหอม ข้าวโพด รวมมิตร เผือก จำนวน 5 ชิ้นงาน มีรายได้เพิ่มจากเดิม 20 บาท เป็น 25-30 บาท
5. โครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนา 3 ชุมชนต้นแบบของคณะวิทยาการจัดการ จังหวัดนครปฐม ตำบลหนองงูเหลือม
โครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนา 3 ชุมชนต้นแบบของคณะวิทยาการจัดการ จังหวัดนครปฐม จัดขึ้นในวันที่ 27 เมษายน 2566 ณ ชุมชนท้องถิ่นตำบลหนองปากโลง จังหวัดนครปฐม ให้กับบุคคลภายนอก ในตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสินค้าเกษตรในชุมชน ยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นที่สะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ผสานการสร้างเรื่องราวโดยการสร้างเป็น online marketing content ของตำบลหนองปากโลง จังหวัดนครปฐม
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชน จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์
การนำการบริการวิชาการไปใช้ประโยชน์ต่อ
1. นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ และฝึกประสบการณ์การลงพื้นที่บริการวิชาการ ตั้งแต่กระบวนการ วางแผน ลงพื้นที่ และสรุปโครงการ
2. ออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนชุดจัดสวนถาดต้นไม้มงคล จำนวน 5 ชิ้นงาน
ชิ้นงานที่ 1 สวนถาดไม้มงคลร่ำรวย แบรนด์ปลูกรัก และบรรจุภัณฑ์ มีรายได้เพิ่ม เดิมราคา 200 ต่อ 1 เซต เป็น 320 บาท ต่อ 1 เซต
ชิ้นงานที่ 2 สวนถาดต้นไม้เจริญรุ่งเรือง และบรรจุภัณฑ์ มีรายได้เพิ่ม เดิมราคา 200 ต่อ 1 เซต เป็น 320 บาท ต่อ 1 เซต
ชิ้นงานที่ 3 ชุดปลูกผักสวนครัวสำเร็จรูป (ผักสุขภาพใบเขียว) และบรรจุภัณฑ์ มีรายได้เพิ่ม เดิมราคา 59 ต่อ 1 เซต เป็น 199 บาท ต่อ 1 เซต
ชิ้นงานที่ 4 ชุดปลูกผักสวนครัวสำเร็จรูป (ผักสุขภาพรวมมิตร) รายได้เพิ่ม เดิมราคา 59 ต่อ 1 เซต เป็น 199 บาท ต่อ 1 เซต
ชิ้นงานที่ 5 Betta Fish ชุดจัดตู้ปลาสวยงาม แบรนด์ bb Bettaberry Thailand รายได้เพิ่ม เดิมราคา 700 ต่อ 1 เซต เป็น 1,000 บาท ต่อ 1 เซต