ผลการดำเนินงาน ปี 2024
SDG4 :

1. การให้บริการแหล่งทรัพยากรทางการศึกษา สำหรับนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรและประชาชนทั่วไป

ตัวชี้วัดที่ 4.3 มาตรการจัดการการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ตัวชี้วัดย่อย 4.3.1 ทรัพยากรสาธารณะ (การเรียนรู้ตลอดชีวิต)

การให้บริการแหล่งทรัพยากรทางการศึกษา สำหรับนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรและประชาชนทั่วไป

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงหลักกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม มีทรัพยากรสาธารณะและมีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาที่ทุกคน ทุกวัยสามารถใช้งานและเข้าถึงได้

เพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับผู้ที่สนใจทุกระดับและประเภท ซึ่งรูปแบบในการให้บริการต่าง ๆ สามารถใช้บริการได้ฟรีทั้งหมด ในการสืบค้นทรัพยากรในทุกประเภทได้จากฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ (WebOpac) https://aritopac.npru.ac.th และการสืบค้น วิทยานิพนธ์ FulltText Online NPRU e-Thesis Fulltext : https://bit.ly/3Ghs3Db

การเผยแพร่ข้อมูลประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ได้จาก http://arit.npru.ac.th/

การเข้าถึงแหล่งทรัพยากรทางการศึกษาสาหรับผู้ที่ไม่ได้เรียนที่มหาวิทยาลัย เช่น คอมพิวเตอร์ ห้องสมุด หลักสูตรออนไลน์ต่าง ๆ และการเข้าถึงสื่อต่าง ๆ สานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงหลักกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม มีทรัพยากรสาธารณะและมีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาที่ทุกคน ทุกวัยสามารถใช้งานและเข้าถึงได้เพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับผู้ที่สนใจทุกระดับและประเภท ซึ่งรูปแบบในการให้บริการต่าง ๆ สามารถใช้บริการได้ฟรีทั้งหมด

1. การสืบค้นทรัพยากรในทุกประเภทได้จากฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ (WebOpac) https://aritopac.npru.ac.th

2. การสืบค้นวิทยานิพนธ์ FulltText Online NPRU e-Thesis Fulltext : https://bit.ly/3Ghs3Db

3. การสืบค้นข้อมูลจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม : https://npruarc.omeka.net/

ดูข้อมูลเพิ่มเติม

 

2. จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา

ปีการศึกษา 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีผู้สำเร็จการศึกษาทั้งสิ้น 3,797 คน จำแนกตามคณะ และระดับการศึกษาดังนี้

 

ข้อมูลสารสนเทศ : จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา

3. จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาที่ได้รับวุฒิการศึกษาที่มีสิทธิได้รับการสอนในระดับประถมศึกษา

ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ และภาค กศ.พป. (จำแนกตามคณะ และสาขาวิชา)

ปีการศึกษา 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีภาคปกติ
และภาค กศ.พป. ที่ได้รับวุฒิการศึกษาที่มีสิทธิได้รับการสอนในระดับประถมศึกษา จำนวน 1,340 คน จำแนกตามคณะ และสาขาวิชา ดังนี้

 

4. โครงการพัฒนาหลักสูตร non - degree สำหรับบุคลากรนอกวัยเรียน กิจกรรม พัฒนาหลักสูตร non degree และพัฒนาหลักสูตรข้ามศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2566 รหัสกิจกรรม 203301010121

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 มีหลักสูตรระยะสั้น จำนวน 15 หลักสูตร เพื่อสนับสนุนการเสริมสร้างทักษะทางอาชีพหรือสมรรถนะใหม่ (upskill/reskill) รองรับการพัฒนาประเทศและความต้องการในอนาคต สำหรับบุคคลทุกช่วงวัย ทั้งวัยทำงาน วัยเกษียณ ทั้งศิษย์เก่าและประชาขนในท้องถิ่น ประกอบด้วย

1. หลักสูตร Barista และการประกอบธุรกิจร้านกาแฟ สาขาวิชาการการท่องเที่ยวและการโรงแรม

2. หลักสูตรอบรมเตรียมความพร้อมการสอบรับใบอนุญาตว่าความ สาขาวิชานิติศาสตร์

3. หลักสูตรธรรมาภิบาลในการปกครองท้องถิ่น สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

4. หลักสูตร บด..บท..เขียนบทภาพยนตร์ สาขาวิชาออกแบบดิจิทัลอาร์ต

5. หลักสูตรการสนทนาภาษาจีนเพื่อการทำงาน สาขาวิชาภาษาจีน

6. หลักสูตรเทคนิคการสื่อสารในองค์กร สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

7. หลักสูตรการพัฒนาทักษะทางสังคมด้วยการสื่อสารที่ทรงพลัง สาขาวิชาสังคมศึกษา

8. หลักสูตรการบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน

9. หลักสูตรขับร้องประสานเสียงสำหรับบุคคลทั่วไป

10. หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการออกแบบกราฟิกประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโซเซียลมีเดีย สำหรับธุรกิจด้วยตนเอง สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์

11. หลักสูตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

12. หลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ทักษะนาฏศิลป์อินเดียเบื้องต้น” สาขาวิชานาฏศิลป์

13. หลักสูตรผ้าพิมพ์ลายสีธรรมชาติ (E-coprinting)ย้อมเส้นไหม ฝ้าย สีธรรมชาติ สาขาวิชาศิลปศึกษา

14. หลักสูตรการจัดรูปแบบการพิมพ์ การอ้างอิงและบรรณานุกรมสำหรับการทำผลงานทางวิชาการ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

15. หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการการสอนภาษาไทยเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร สาขาวิชาภาษาไทย

https://misc.npru.ac.th/นhmshortcourse/

 

 

 

5. โครงการพัฒนาสมรรถนะบัณฑิตเพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศไทย 4.0 กิจกรรม การอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาทักษะวิชาการนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

การพัฒนาประเทศไทย  4.0  เน้นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจให้ไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เพื่อให้ประเทศหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) เป็นเหตุให้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงขึ้นในทุกภาคส่วนรวมถึงในระบบการศึกษา  สมรรถนะของบัณฑิตในยุคการพัฒนาประเทศไทย  4.0  นอกจากสมรรถนะด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีขั้นสูง  และการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณ สมรรถนะด้านภาษาอังกฤษ และการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพนับเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ยุค 4.0

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จึงจัดโครงการฯ ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08.00 - 17.30 น. ณ ห้องประชุมปิ่นเกลียว และห้อง LI 2 อาคารศูนย์ภาษา ศูนย์คอมพิวเตอร์ และหอประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริหาร บุคลากร เจ้าหน้าที่และนักศึกษาของคณะฯ

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

นักศึกษามีสมรรถนะที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศไทย 4.0 โดยสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากวิทยากรไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ฝึกการกล้าคิด กล้าแสดงออก

   

   

6. โครงการบริการวิชาการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การจัดทำงบการเงินรวมและหมายเหตุประกอบงบการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การบันทึกบัญชีของโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การพัฒนาศักยภาพการบริหารงานในระบบ e-LAAS สำหรับผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารท้องถิ่น” รุ่นที่ 1

การบรรยายและฝึกปฏิบัติ หลักสูตร“การจัดทำงบการเงินรวมและหมายเหตุประกอบงบการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการบันทึกบัญชีของโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การพัฒนาศักยภาพการบริหารงานในระบบ e-LAAS สำหรับผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารท้องถิ่น” ระหว่างวันที่ 2 - 4 ธันวาคม 2565  ณ โรงแรม ฟอร์จูน โคราช  จังหวัดนครราชสีมา

โดยมีวัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถจัดทำงบการเงินรวม การจัดทำงบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน งบแสดงฐานะทางการเงิน  การกำหนดหมายเหตุประกอบงบการเงิน การจัดทำงบแสดงผลการดำเนินงาน การจัดทำหมายเหตุประกอบงบการเงิน  การบันทึกนโยบายทางการบัญชีที่สำคัญ สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ถูกต้องตามระเบียบและหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง

2)  เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจและสามารถบันทึกบัญชีหน่วยงานแม่และหน่วยงานภายใต้สังกัดคือ โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้ถูกต้องตามหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ มท 0808.4/ว 1294  ลงวันที่  5  พฤษภาคม 2565  เรื่อง ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติในการบันทึกบัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

3) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจและสามารถใช้ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LAAS) เพื่อการพัฒนาองค์กร ด้านการวางแผน การบริหารจัดการหน่วยงานได้ถูกต้อง เหมาะสมกับงบประมาณ

4)  เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมปฏิบัติงานในระบบการบันทึกบัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LAAS) ได้ถูกต้องและสอดคล้องกับนโยบายการบัญชีภาครัฐตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ที่มีวัตถุประสงค์ให้มีการปฏิบัติด้านการเงิน การบัญชี การงบประมาณและการบริหารงานพัสดุ ให้เกิดประสิทธิผล เกิดความคุ้มค่า สะดวก รวดเร็ว โปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้

          ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

ผู้เข้ารับการอบรมเป็นบุคลากรขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวนทั้งสิ้น 18 คน โดยโครงการมีการจัดเก็บรายได้จากการให้บริการวิชาการ จำนวน 18 คน ๆ ละ 4,500 บาท รวมเป็นจำนวนเงิน 72,900 บาท

     

   

7. โครงการบริการวิชาการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การจัดทำงบการเงินรวมและหมายเหตุประกอบงบการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การบันทึกบัญชีของโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การพัฒนาศักยภาพการบริหารงานในระบบ e-LAAS สำหรับผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารท้องถิ่น” รุ่นที่ 2

การบรรยายและฝึกปฏิบัติ หลักสูตร  “การจัดทำงบการเงินรวมและหมายเหตุประกอบงบการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นการบันทึกบัญชีของโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การพัฒนาศักยภาพการบริหารงานในระบบ e-LAAS สำหรับผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารท้องถิ่น” ระหว่างวันที่ 16-18 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรงแคนทารี เบย์ ระยอง จังหวัดระยอง

โดยมีวัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถจัดทำงบการเงินรวม การจัดทำงบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน งบแสดงฐานะทางการเงิน  การกำหนดหมายเหตุประกอบงบการเงิน การจัดทำงบแสดงผลการดำเนินงาน การจัดทำหมายเหตุประกอบงบการเงิน  การบันทึกนโยบายทางการบัญชีที่สำคัญ สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ถูกต้องตามระเบียบและหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง

2)  เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจและสามารถบันทึกบัญชีหน่วยงานแม่และหน่วยงานภายใต้สังกัดคือ โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้ถูกต้องตามหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ มท 0808.4/ว 1294  ลงวันที่  5  พฤษภาคม 2565  เรื่อง ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติในการบันทึกบัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

3) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจและสามารถใช้ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LAAS) เพื่อการพัฒนาองค์กร ด้านการวางแผน การบริหารจัดการหน่วยงานได้ถูกต้อง เหมาะสมกับงบประมาณ

4) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมปฏิบัติงานในระบบการบันทึกบัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-LAAS) ได้ถูกต้องและสอดคล้องกับนโยบายการบัญชีภาครัฐตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ที่มีวัตถุประสงค์ให้มีการปฏิบัติด้านการเงิน การบัญชี การงบประมาณและการบริหารงานพัสดุ ให้เกิดประสิทธิผล เกิดความคุ้มค่า สะดวก รวดเร็ว โปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

ผู้เข้ารับการอบรมเป็นบุคลากรขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวนทั้งสิ้น 28 คน โดยโครงการมีการจัดเก็บรายได้จากการให้บริการวิชาการ จำนวน 28 คน ๆ ละ 4,900 บาท รวมเป็นจำนวนเงิน 137,200 บาท

8. โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้สอบบัญชี (CPA) และ ผู้ทำบัญชี (CPD) สาขาวิชาการบัญชี

หลักสูตร กรอบแนวคิดสำหรับรายงานทางการเงิน (ใหม่) ผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2564

หลักสูตร มาตรฐานการรรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 (TFRS 15) เรื่อง G18 รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า

เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้การปฏิบัติงานในแต่ละมาตรฐานการบัญชีทุกมิติ ให้เป็นไปด้วยความถูกต้องชำนาญและพร้อมนำแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะการใช้งานในระบบให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทงการเงินปี 2564 สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมชูนูปถัมภ์

หลักสูตร กรอบแนวคิดสำหรับรายงานทางการเงิน (ใหม่) ผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2564 วันที่ 26 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้องประชุม 204 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

หลักสูตร มาตรฐานการรรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 (TFRS 15) เรื่อง G18 รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า วันที่ 29 ตุลาคม 2565 ณ ห้องประชุม 204 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

หลักสูตร กรอบแนวคิดสำหรับรายงานทางการเงิน (ใหม่) ผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2564 วันที่ 26 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้องประชุม 204 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 47 คน

หลักสูตร มาตรฐานการรรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 (TFRS 15) เรื่อง G18 รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า วันที่ 29 ตุลาคม 2565 ณ ห้องประชุม 204 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 53 คน

หลักสูตร กรอบแนวคิดสำหรับรายงานทางการเงิน (ใหม่) ผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2564 วันที่ 26 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้องประชุม 204 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

หลักสูตร มาตรฐานการรรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 (TFRS 15) เรื่อง G18 รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า วันที่ 29 ตุลาคม 2565 ณ ห้องประชุม 204 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

9. โครงการยกระดับคุณภาพสถานศึกษาและชุมชนเพื่อการพัฒนาความยั่งยืน

โครงการยกระดับคุณภาพสถานศึกษาและชุมชนเพื่อการพัฒนาความยั่งยืน

          วันที่จัด :  8 กรกฎาคม 2566

          สถานที่จัด : ณ บริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จากัด (โรงงานแม่พลอย)

          กลุ่มเป้าหมาย : จำนวน 50 คน

วัตถุประสงค์ :   

1. เพื่อพัฒนาผู้นาให้เข้าใจ และแสดงบทบาทภาวะผู้นาในการดูแล สร้างแรงจูงใจต่อ

ผู้ร่วมงานให้สามารถทางานได้บรรลุเป้าหมายขององค์กร

           2. เพื่อพัฒนาผู้นาให้มีความกล้า ความมั่นใจ การกากับติดตามงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. เพื่อสร้างทีมงานและทางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ        

 

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

ผู้เข้าร่วมโครงการมีจำนวน 51 คน ผลการประเมินโครงการยกระดับคุณภาพสถานศึกษาและชุมชนเพื่อการพัฒนาความยั่งยืน อยู่ในระดับมาก บรรลุวัตถุประสงค์โครงการ

            

10. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อยกระดับการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และภาษาไทย

สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพครู ในวันที่ 25 – 28 เมษายน 2566 ณ โรงแรมราชศุภมิตร (RS.Hotel) ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี  เพื่อยกระดับการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และภาษาไทย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ความเข้าใจในรายวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และภาษาไทยให้กับครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา โดยมีครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา จำนวน 12 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านละว้าวังควาย โรงเรียนบ้านกล้วย โรงเรียนวัดคอกช้าง โรงเรียนบ้านพุน้ าร้อน โรงเรียนบ้านห้วยหินดำ โรงเรียนบ้านวังยาว โรงเรียนบ้านทุ่งมะกอก รร.ตชด.บ้านแม่น้ าน้อย รร.ตชด.บ้านปิล็อกคี่ศกร.ตชด.หลวงประกอบนิติสารและท่านผู้หญิงถวิล ศกร.ตชด.บ้านไกรเกรียงและศกร. ตชด.ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

ครูได้รับการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนสอนรูปแบบ Active learning สำหรับรายวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และภาษาไทย และการพัฒนาสื่อการจัดการเรียนการสอน

  

https://news.npru.ac.th/u_news/detail.php?news_id=31854

11. กิจกรรมอบรมเชิงบรรยายการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

วันที่ 17 ธันวาคม 2565 ณโรงเรียนบ้านละว้าวังควายอำเภอด่านช้างจังหวัดสุพรรณบุรี สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้จัดกิจกรรมการอบรมเชิงบรรยายและเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาความรู้ ส่งเสริมทักษะและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้แก่โรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา จำนวน 3 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านละว้าวังควาย โรงเรียนบ้านทุ่งมะกอก โรงเรียนบ้านพุน้ำร้อน โดยมีอาจารย์อรษา พบลาภ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ สังกัดโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

1. ครูและนักเรียน ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ การปฏิบัติการทำสื่อการสอน การประยุกต์ใช้สื่อเพื่อจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์

      

12. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

วันที่ 13 – 14 มกราคม2566 ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านปิล๊อกคี่ ตำบลปิล๊อก อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนและให้นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 โดยมี อาจารย์อนัญญาทองสิมา สังกัดสาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

          ครูและนักเรียนได้รับการยกระดับคุณภาพการศึกษาและมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 มีการฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในสาระวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ระบบนิเวศ ระบบย่อยอาหาร และสาระเทคโนโลยี

      

13. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

วันที่ 7 – 11 กุมภาพันธ์2566 ณ ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาคตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและเพิ่มความสามารถในการคิด การสื่อสาร การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต และการใช้เทคโนโลยี ให้กับนักเรียน ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาคโดยมีอาจารย์อนัญญาทองสิมา สังกัดสาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

ครูและนักเรียนได้รับการยก ระดับคุณภาพการศึกษาและมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในกิจกรรมสาระวิทยาศาสตร์ชีวภาพ การใช้ประโยชน์จากพืชในท้องถิ่น ตลอดจนความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์กับการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะ และการใช้สีธรรมชาติย้อมผ้า

      

14. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนการสอน ฐานการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและการส่งเสริมทักษะอาชีพสำหรับครูและนักเรียน ศกร.ตชด. บ้านไกรเกรียง

วันที่ 29 – 31 มีนาคม 2566 ณ ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านไกรเกรียง อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ได้จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนการสอน ฐานการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและการส่งเสริมทักษะอาชีพสำหรับครูและนักเรียน ศกร.ตชด. บ้านไกรเกรียง เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ส่งเสริมทักษะวิชาชีพด้านการแปรรูปอาหารให้กับนักเรียนศกร.ตชด. บ้านไกรเกรียง โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พุฒิยา รัตนศิริวัฒน์สังกัดสาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

          1. ครูและนักเรียนได้ยกระดับคุณภาพการศึกษา ส่งเสริมและพัฒนาทักษะวิชาชีพด้านการแปรรูปอาหารโดยวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น การพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ปลาหวานโรยงาน ผลิตภัณฑ์ปลาแดดเดียว ผลิตภัณฑ์ปลาเส้นปรุงรส/ปลาทุบ/ปลาบดแผ่น เป็นต้น และการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ

      

15. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและการวัดประเมินผล ทักษะการฟัง การพูด ไวยากรณ์ และคำศัพท์

วันที่ 18 - 20 เมษายน 2566 ณ โรงเรียนบ้านละว้าวังควาย อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและการวัดประเมินผล ทักษะการฟัง การพูด ไวยากรณ์ และคำศัพท์ เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถออกแบบ เลือกและประยุกต์ใช้สื่อและกิจกรรมในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้อย่างเหมาะสมและตรงกับเป้าหมาย โดยมีอาจารย์ ดร.ณัฐกฤตา บุญบงกชรัตน์ สังกัด สาขาวิชาอังกฤษ คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

ครูได้รับความรู้และสามารถออกแบบ เลือกและประยุกต์ใช้สื่อและกิจกรรมในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้อย่างเหมาะสมและตรงกับเป้าหมาย เทคนิคและวิธีการสอนการอ่าน การเขียน ไวยากรณ์ กิจกรรมการสอนคำศัพท์ สื่อการสอนการอ่าน การเขียน และคำศัพท์

      

16. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

วันที่ 11 – 12 พฤษภาคม 2566 ณ โรงเรียนบ้านละว้าวังควาย อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ซึ่งจัดเป็นระยะที่ 2 เพื่อพัฒนาความรู้ ส่งเสริมทักษะและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้แก่โรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา จำนวน 3 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านละว้าวังควาย โรงเรียนบ้านทุ่งมะกอก โรงเรียนบ้านพุน้ำร้อน โดยมีอาจารย์อรษา พบลาภ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ สังกัดโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

          ครูได้รับการพัฒนาทักษะการจัดทำสื่อการเรียนการสอน และรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านวิชาคณิตศาสตร์

      

17. นโยบายการเข้าถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต

นโยบายการเข้าถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้ดำเนินการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐานตามกรอบแนวคิดการพัฒนารูปแบบ/กระบวนการคัดเลือกนิสิต/นักศึกษาครูที่มีประสิทธิภาพให้สอดรับกับแผนขับเคลื่อนกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) ด้านการศึกษา กิจกรรมปฏิรูปที่ 3 การปฏิรูปกลไกและระบบการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐาน (BR1203) ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญคือ สถาบันผลิตครูต้องปรับบทบาทการผลิตครูที่มีสมรรถนะสูงและเป็นความต้องการของประเทศ โดยกลไกและระบบการผลิต คัดกรองครูและบุคลากรทางการศึกษาและอาจารย์ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ได้แก่ 1) มีรูปแบบ กระบวนการคัดเลือกนิสิต/นักศึกษาครู ที่มีประสิทธิภาพ เที่ยงตรง และลดความเหลื่อมล้ำ 2) มีหลักสูตรการผลิตครูที่เป็นเลิศและมีรูปแบบกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูตามความต้องการความจำเป็นตามบริบทของสาขาวิชาพื้นที่ และ 3) มีกรอบมาตรฐานและตัวชี้วัดสมรรถนะอาจารย์สถาบันผลิตครู และครูพี่เลี้ยงในโรงเรียนหรือสถานฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านวิชาชีพครู เพื่อนำไปสู่การประเมินมาตรฐานการปฏิบัติงานและสมรรถนะและการวิเคราะห์และพัฒนาสมรรถนะอาจารย์สถาบันผลิตครูและครูพี่เลี้ยงตามความจำเป็นเป็น

18. จำนวนนักศึกษา FTE (เทียบเท่าเต็มเวลา) ที่เริ่มต้นปริญญาในมหาวิทยาลัย

19. จำนวนนักศึกษาเข้าใหม่

ปีการศึกษา 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีนักเรียน นักศึกษาเข้าใหม่ระดับระดับบัณฑิตศึกษา และปริญญาตรี จำนวน 4,208 คน จำแนกตามคณะ และระดับการศึกษา

ที่มา : (1-2) สำนักงานบัณฑิตศึกษา ณ 4 พฤษภาคม 2567

         (3) อยู่ระหว่างพิจารณาเปิดรับสมัครจากคุรุสภา ณ กันยายน 2566  

         (4-5) สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ณ 4 กันยายน 2566

20. จำนวนนักศึกษาคนแรกในครอบครัวที่ได้ศึกษาในระดับปริญญา

จำนวนนักศึกษาคนแรกในครอบครัวที่ได้ศึกษาในระดับปริญญา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีนักศึกษาซึ่งเป็นลูกคนแรกในครอบครัวที่ได้เข้ารับการศึกษาในระดับปริญญา จำนวน 1,938 คน

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน (npru.ac.th)

21. การให้บริการแหล่งทรัพยากรทางการศึกษา สำหรับนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรและประชาชนทั่วไป

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงหลักกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม มีทรัพยากรสาธารณะและมีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาที่ทุกคน ทุกวัยสามารถใช้งานและเข้าถึงได้

เพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับผู้ที่สนใจทุกระดับและประเภท ซึ่งรูปแบบในการให้บริการต่าง ๆ สามารถใช้บริการได้ฟรีทั้งหมด เช่น คอมพิวเตอร์ ห้องสมุด หลักสูตรออนไลน์ต่าง ๆ และการเข้าถึงสื่อต่าง ๆ

นอกจากนี้ยังมีบริการด้านอื่นๆ เพื่อให้ความบันเทิงแก่ นักศึกษาและบุคคลทั่วไปสามารถมาใช้บริการได้ฟรี เช่น  โสตทัศนูปกรณ์ ที่ให้บริการ ได้แก่  เครื่องเล่นดีวีดี, เครื่องเล่น HD Player พร้อมโทรทัศน์ LED-TV, หูฟังไร้สาย, เครื่องขยายเสียงระบบ Home Theater, เครื่องขยายเสียงพร้อมไมโครโฟน, เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์

http://arit.npru.ac.th/index.php?act=6a992d5529f459a44fee58c733255e86&lntype=editor_left&slm_id=352

22. หลักสูตรออนไลน์ (NPRU Courseware) และระบบเรียนออนไลน์แบบเปิดมหาชน (Thai MOOC)

หลักสูตรออนไลน์ (NPRU Courseware) และระบบเรียนออนไลน์แบบเปิดมหาชน (Thai MOOC)

มหาวิทยาลัยได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พ.ศ. 2566-2570 โดยมีการสร้างแพลตฟอร์ม เพื่อยกระดับสมรรถนะบุคลากรวิชาชีพอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สนับสนุนการสร้างระบบการเรียนรู้และเทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา เช่น มีนโยบายผลักดันและสนับสนุนการจัดทำบทเรียนออนไลน์ โดยการให้ทุนสนับสนุนการจัดทำบทเรียนออนไลน์ บนระบบ NPRU Online Courses และเพื่อเข้าสู่มาตรฐาน Thai MOOC เพื่อให้นักศึกษา และบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวกและสามารถใช้เพื่อการเรียนได้ตลอดชีวิต 

               ประกาศ เรื่อง การให้ทุนสนับสนุนการจัดทำบทเรียนออนไลน์ เพื่อเข้าสู่มาตรฐาน Thai MOOC ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

               ประกาศ เรื่อง การให้ทุนสนับสนุนการจัดทำบทเรียนออนไลน์ บนระบบ NPRU Online Courses ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

               แผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พ.ศ. 2566 - 2570 (หน้า 114)

 1. NPRU Courseware เป็นเว็บไซต์เผยแพร่บทเรียนออนไลน์ของอาจารย์ที่ได้รับทุนสนับสนุนการจัดทำบทเรียนออนไลน์บนระบบ NPRU Online Courses เป็นการนำบทเรียนออนไลน์ที่ผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิมาเผยแพร่ให้นักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ฟรีทุกที่ทุกเวลา ผ่านเว็บไซต์ http://courseware.npru.ac.th/ โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2558 รายวิชา

2. Thai MOOC เป็นระบบเรียนออนไลน์แบบเปิดมหาชนของโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (Thailand Cyber University) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้ผลิตรายวิชาเผยแพร่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ของ Thai MOOC โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ ปี 2553

https://thaimooc.org/taxonomy/publisher/npru

23. บริการสื่อการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษ ณ ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง สถาบันภาษา

สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ให้บริการสื่อการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษ ณ ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง สถาบันภาษา โดยบุคคลทั่วไป สามารถเข้าใช้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สื่อการเรียนรู้ที่ให้บริการ ประกอบด้วย หนังสือ/ตำราด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ หนังสือเตรียมความพร้อมในการสอบมาตรฐานภาษาอังกฤษประเภทต่าง ๆ หนังสืออ่านนอกเวลาภาษาอังกฤษทั้งรูปแบบเล่ม และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งดีวิดีภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศ

ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง สถาบันภาษา https://short.npru.ac.th/373

      

24. ระบบฐานข้อมูลเพื่อสืบค้นงานวิจัย

                   NPRU -Online Journal and Research Databases เป็นระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เช่น ผลงานจากงานประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัย (์NPRU conference) วิทยานิพนธ์ (thesis) ของบัณฑิตระดับปริญญาโท และปริญญาเอก โดยที่ระบบนี้สามารถใช้สืบค้นงานวิจัยเพื่อการศึกษาหรือการอ้างอิง

https://publication.npru.ac.th/

25. แหล่งสืบค้นข้อมูล E-Book

26. NPRU Online Courses

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้เปิดหลักสูตรออนไลน์ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ https://online-courses.npru.ac.th/  เพื่อให้นักศึกษาสามารถเข้าเรียนออนไลน์ได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

27. การให้บริการ ห้อง NPRU GSB Innovation center

ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ UBI มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมให้บริการ ห้อง NPRU GSB Innovation center สำหรับนักศึกษา คณาจารย์ และบุคคลทั่วไปได้เข้าใช้บริการฟรี                 

นักศึกษาเข้าใช้บริการ นั่งทำงาน นั่งพักผ่อน

   

หน่วยงานใช้สถานที่ในการประชุมและถ่ายภาพโปรโมทหน่วยงาน

   

ให้คำปรึกษาผู้ประกอบการที่เข้ารับการบ่มเพาะ สอนวิธีการถ่ายภาพและจัดทำวีดีโอสินค้า

   

28. กิจกรรมส่งเสริมการอ่านและสอดแทรกความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

สำนักวิทยบริการฯ ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและสอดแทรกความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ณ โรงเรียนวัดสามควายเผือก ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2565 มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 64 คน โดยเน้นการบริการวิชาการสู่ชุมชน ได้แก่ การพัฒนาห้องสมุด การจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ การปรับบรรยากาศของห้องสมุดโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และสอดแทรกความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม   

https://news.npru.ac.th/u_news/detail.php?news_id=30259

       

29. โครงการขยายผลและพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านการศึกษา (SDG4) ระดับจังหวัด: ภาคกลาง

การศึกษา “โครงการขยายผลและพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4) ระดับจังหวัด : ภาคกลาง” นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทบทวนและปรับปรุงตัวชี้วัดของเครื่องมือสำรวจความก้าวหน้าของการพัฒนาเด็ก เยาวชนและแรงงานรุ่นใหม่ ระดับจังหวัด ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา 2) พัฒนาแนวทางการเก็บข้อมูล และระบบฐานข้อมูลสถานการณ์ความก้าวหน้าของการพัฒนาเด็ก เยาวชนและแรงงานรุ่นใหม่ระดับจังหวัด 3) สร้างเครือข่ายในการในการสำรวจและบริหารจัดการจัดเก็บข้อมูลความก้าวหน้าของการพัฒนาเด็ก เยาวชน และแรงงานรุ่นใหม่ระดับจังหวัดครอบคลุม 4 ภูมิภาค และ 4) สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ความก้าวหน้าของการพัฒนาเด็ก เยาวชน และคนรุ่นใหม่ระดับจังหวัดครอบคลุม 4 ภูมิภาค เพื่อนำใช้ในการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษาต่อองค์การสหประชาชาติและสาธารณะ

พื้นที่การศึกษาประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม นครนายก ลพบุรี สระแก้ว และระยอง กลุ่มเป้าหมายในแต่ละจังหวัด ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารสถานศึกษา 2) ตัวแทนครูอาจารย์ของแต่ละระดับการศึกษา 3) ตัวแทนนักเรียน/นักศึกษาแต่ละระดับการศึกษา (ป.6, ม.3, ม.6, ปวช.3) 4) ตัวแทนนักศึกษาระดับอุดมศึกษา (ปวส.2, ปริญญาตรีปีที่ 3 และปีที่ 4) รวมกลุ่มเป้าหมายจังหวัดละ 620 คน 5 จังหวัด 3,100 คน

          การสำรวจและจัดเก็บข้อมูลใช้กระบวนการเก็บข้อมูลร่วมกับเครือข่ายสถาบันการศึกษาในพื้นที่ ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม รับผิดชอบจังหวัดนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี รับผิดชอบลพบุรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รับผิดชอบนครนายก และมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี รับผิดชอบสระแก้วและระยอง

เครื่องมือที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจำแนกตามกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย 6 ชุด ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา 2) แบบสอบถามตัวแทนครูอาจารย์ 3) แบบสอบถามนักเรียนระดับประถมศึกษา 4) แบบสอบถามนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและปวช. 5) แบบสอบถามนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและปวส. และ 6) แบบสอบถามนักศึกษาระดับอุดมศึกษาปริญญาตรี ปี 3 และปี 4

การดำเนินงาน ในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมา (ตุลาคม 2564 – เมษายน 2565) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. การประชุมร่วมกับคณะทำงานส่วนกลางเพื่อทำความข้าใจเกี่ยวกับโครงการ แนวทางการดำเนินงาน วางแผนการดำเนินงานร่วมกัน และให้ข้อคิดเห็นต่อคณะทำงานส่วนกลางและทีมพัฒนาระบบฐานข้อมูล ผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวม 3 ครั้ง

2. การประชุมปฏิบัติการระดับภาค ร่วมกับคณะทำงานระดับจังหวัดทั้ง 5 จังหวัด จำนวน 15 คน เพื่อทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ หลักคิดในการพัฒนาตัวชี้วัด SDG4 ระดับจังหวัด แนวทางการดำเนินโครงการ การจัดทำแผนปฏิบัติการ การบริหารจัดการ เครื่องมือ และกระบวนการในการสำรวจ การจัดเก็บข้อมูล การตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องของข้อมูล เมื่อวันที่ 19-20 พฤศจิกายน 2564 ณ ภูมนตรารีสอร์ท จังหวัดนครนายก

3. การประชุมคณะทำงานระดับจังหวัดกับภาคีเครือข่ายด้านการศึกษาระดับจังหวัด จังหวัดละ 1 ครั้งประกอบด้วย

    ครั้งที่ 1 จังหวัดลพบุรี คณะนักวิจัยได้จัดประชุม เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564 ณ ห้องประชุมคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

    ครั้งที่ 2 จังหวัดสระแก้ว คณะนักวิจัยได้จัดประชุม เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2564 ณ ห้องประชุม ครุธรรมจารุ โรงเรียนสระแก้ว

    ครั้งที่ 3 จังหวัดนครปฐม คณะนักวิจัยได้จัดประชุม เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2565 ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

    ครั้งที่ 4 จังหวัดนครนายก คณะนักวิจัยได้จัดประชุม เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2565 ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒองครักษ์ จังหวัดนครนายก

    ครั้งที่ 5 จังหวัดระยอง คณะนักวิจัยได้จัดประชุม เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2565 ณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

4. ประชุมติดตามการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เดือนละ 1 ครั้ง รวม 5 ครั้ง

5. ประสานงานติดตามการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ และทุติยภูมิระดับจังหวัด ตรวจสอบความถูกต้องและทำความสะอาดข้อมูล

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

1)จังหวัดนครนายก ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและยืนยันความถูกต้องของข้อมูลเสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์แล้ว

2)จังหวัดลพบุรี ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและยืนยันความถูกต้องของข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยประมาณร้อยละ 90

3)จังหวัดนครปฐม ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและยืนยันความถูกต้องของข้อมูลเรียบร้อยแล้ว โดยประมาณร้อยละ 80

4)จังหวัดสระแก้ว ดำเนินการเก็บข้อมูลและยืนยันความถูกต้องของข้อมูลเรียบร้อยแล้ว โดยประมาณร้อยละ 70

5)จังหวัดระยอง ดำเนินการเก็บข้อมูลและยืนยันความถูกต้องของข้อมูลเรียบร้อยแล้ว โดยประมาณร้อยละ 60

30. โครงการติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนาศักยภาพนักสื่อสารสุขภาวะและพัฒนาเครือข่าย พลเมืองสร้างสรรค์ (Creative CitiZen)

ดำเนินการติดตามปละประเมินผลโครงการพัฒนาศักยภาพนักสื่อสารสุขภาวะและพัฒนาเครือข่ายพลเมืองสร้างสรรค์ มีกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ  Creative CitiZen  Academy จัดขึ้นระหว่างเดือน กรกฎาคม - ตุลาคม 2566 จำนวนทั้งสิ้น 40 คน (รุ่น 1 จำนวน 20 คน รุ่น 2 จำนวน 20 คน) โดยมุ่งให้เกิดการพัฒนาเครือข่ายนักสื่อสารที่มีทักษะในการออกแบบสื่อสร้างสรรค์เพื่อสังคมสุขภาวะ

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

1) เกิดนักสื่อสารสุขภาวะทีมีสมรรถนะในการสื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง จำนวน 40 คน

2) เกิดสื่อสร้างแรงบันดาลใจภายใต้ประเด็นสุขภาวะ จำนวนไม่ต่ำกว่า 20 ผลงาน และ

3) เกิดการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อยกระดับเป็นหลักสูตรที่สามารถนำไปขยายผลต่อได้

31. โครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนา 3 ชุมชนต้นแบบของคณะวิทยาการจัดการ ตำบลคลองจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

โครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนา 3  ชุมชนต้นแบบของคณะวิทยาการจัดการ จังหวัดนครปฐม ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ให้กับบุคคลภายนอก ในตำบลคลองจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสินค้าเกษตรในชุมชน ยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นที่สะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ผสานการสร้างเรื่องราวโดยการสร้างเป็น online marketing content ของตำบลคลองจินดา ในจังหวัดนครปฐม ระยะเวลาดำเนินการ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ชุมชนท้องถิ่นตำบลคลองจินดา จังหวัดนครปฐม

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

ได้ผลงานออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชน จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์

การนำการบริการวิชาการไปใช้ประโยชน์ต่อ

          1. นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ และฝึกประสบการณ์การลงพื้นที่บริการวิชาการ ตั้งแต่กระบวนการ วางแผน ลงพื้นที่ และสรุปโครงการ

          2. ต่อชุมชน สังคม โดยการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ผลไม้พร้อมทาน คลองจินดา เฟรชฟรุ้ต จำนวน 5 ชิ้นงาน ได้แก่ มะม่วง ฝรั่ง แก้วมังกร ชมพู่  ชุดขนมไทยมงคล มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม กล่องละ 30 บาท เป็น 55 บาท

      

   

32. โครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนา 3 ชุมชนต้นแบบของคณะวิทยาการจัดการ จังหวัดนครปฐม ตำบลหนองปากโลง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

โครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนา 3  ชุมชนต้นแบบของคณะวิทยาการจัดการ จังหวัดนครปฐม จัดขึ้นในวันที่ 31 ตุลาคม 2566 ณ ชุมชนท้องถิ่นตำบลหนองปากโลง จังหวัดนครปฐม ให้กับบุคคลภายนอก ในตำบลหนองปากโลง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสินค้าเกษตรในชุมชน ยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นที่สะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ผสานการสร้างเรื่องราวโดยการสร้างเป็น online marketing content ของตำบลหนองปากโลง จังหวัดนครปฐม

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชน จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์

การนำการบริการวิชาการไปใช้ประโยชน์ต่อ

1. นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ และฝึกประสบการณ์การลงพื้นที่บริการวิชาการ ตั้งแต่กระบวนการ วางแผน ลงพื้นที่ และสรุปโครงการ

  2. ชุมชนได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ และแปรนด์ ขนมครกในตำบลหนองปากโลง ร้านขนมครกสองพี่น้อง แบบบรรจุภัณฑ์รสดั้งเดิม ต้นหอม ข้าวโพด รวมมิตร เผือก จำนวน 5 ชิ้นงาน มีรายได้เพิ่มจากเดิม 20 บาท เป็น 25-30 บาท

 

33. โครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนา 3 ชุมชนต้นแบบของคณะวิทยาการจัดการ จังหวัดนครปฐม ตำบลหนองงูเหลือม

          โครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนา 3  ชุมชนต้นแบบของคณะวิทยาการจัดการ จังหวัดนครปฐม จัดขึ้นในวันที่ 27 เมษายน 2566 ณ ชุมชนท้องถิ่นตำบลหนองปากโลง จังหวัดนครปฐม ให้กับบุคคลภายนอก ในตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสินค้าเกษตรในชุมชน ยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นที่สะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ผสานการสร้างเรื่องราวโดยการสร้างเป็น online marketing content ของตำบลหนองปากโลง จังหวัดนครปฐม

 

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

          ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชน จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์

          การนำการบริการวิชาการไปใช้ประโยชน์ต่อ

1. นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ และฝึกประสบการณ์การลงพื้นที่บริการวิชาการ ตั้งแต่กระบวนการ วางแผน ลงพื้นที่ และสรุปโครงการ

2. ออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนชุดจัดสวนถาดต้นไม้มงคล จำนวน 5 ชิ้นงาน

ชิ้นงานที่ 1 สวนถาดไม้มงคลร่ำรวย แบรนด์ปลูกรัก และบรรจุภัณฑ์ มีรายได้เพิ่ม เดิมราคา 200 ต่อ 1 เซต เป็น 320 บาท ต่อ 1 เซต

ชิ้นงานที่ 2 สวนถาดต้นไม้เจริญรุ่งเรือง และบรรจุภัณฑ์ มีรายได้เพิ่ม เดิมราคา 200 ต่อ 1 เซต เป็น 320 บาท ต่อ 1 เซต

ชิ้นงานที่ 3 ชุดปลูกผักสวนครัวสำเร็จรูป (ผักสุขภาพใบเขียว) และบรรจุภัณฑ์ มีรายได้เพิ่ม เดิมราคา 59 ต่อ 1 เซต เป็น 199 บาท ต่อ 1 เซต

ชิ้นงานที่ 4 ชุดปลูกผักสวนครัวสำเร็จรูป (ผักสุขภาพรวมมิตร) รายได้เพิ่ม เดิมราคา 59 ต่อ 1 เซต เป็น 199 บาท ต่อ 1 เซต

ชิ้นงานที่ 5 Betta Fish ชุดจัดตู้ปลาสวยงาม แบรนด์ bb Bettaberry Thailand รายได้เพิ่ม เดิมราคา 700 ต่อ 1 เซต เป็น 1,000 บาท ต่อ 1 เซต

34. โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร อบรมการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้บุคลากร ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร่มไทรอัดยางไฟฟ้า

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรอบรมการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้บุคลากรห้างหุ้นส่วนจำกัด ร่มไทรอัดยางไฟฟ้า” โดยมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 12 คน เก็บค่าลงทะเบียนคนละ 1,300 บาท เป็นเงิน 15,600 บาท จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 และ 31 พฤษภาคม 2566 ณ ห้อง 403 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

1) ให้ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะในการใช้งาน เครื่องมือ Google ผ่านออนไลน์ และการใช้งานโปรแกรม Microsoft Excel

2) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีทักษะในการใช้งานโปรแกรม Microsoft Excel

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร อบรมการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้บุคลากร ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร่มไทรอัดยางไฟฟ้า มีจำนวนผู้เข้ารับการอบรม 12 คน ผู้เข้ารับการอบรมเห็นว่าสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันอย่างมั่นใจ อยู่ในระดับมาก

     

35. โครงการบริการวิชาการ “การพัฒนาส่งเสริมอาชีพผู้ประกอบการร้านสตรีทฟู้ด (Street food) กระทรวงแรงงาน จัดโดย สาขาวิชาการเงินและการลงทุน

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ร่วมมือทางวิชาการกับกระทรวงแรงงาน กำหนดจัดโครงงการบริการวิชาการ “การพัฒนาส่งเสริมอาชีพผู้ประกอบการร้านสตรีทฟู้ด มีการจัดอบรม 2 รุ่น ๆ ละ 18 ชั่วโมง

รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่26-28 มิถุนายน 2566

รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 28-30 มิถุนายน 2566 โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้ว่างงานและเยาวชนในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม จำนวน 800 คน ค่าใช้จ่ายคนละ 450 บาท รวมเป็นเงิน 360,000 บาท

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

                   รุ่นที่ 1 มีจำนวนผู้เข้ารับการอบรม 111 คน โดยเบิกค่าใช้จ่าย คนละ 450 บาท เป็นเงิน 49,950 บาท (วันที่ 26-27 และ 28 มิถุนายน 2566 รวมทั้งสิ้น 18 ชั่วโมง)

                   ผลการสำรวจความพึงพอใจโครงการบริการวิชาการ “การพัฒนาส่งเสริมอาชีพผู้ประกอบการร้านสตรีทฟู้ด กระทรวงแรงงาน จากผู้เข้าอบรม จำนวน 111 คน

รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 26-28 มิถุนายน 2566 จำนวน 18 ชั่วโมง มีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.53 ด้านบริหารจัดการ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.47 ความพึงพอใจด้านวิชาการ อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.59 ความพึงพอใจด้านความเหมาะสมของสถานที่ และอาหาร อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.52 นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมอบรมมีข้อเสนอแนะว่าควรบันทึกการอบรมในทุกหัวข้อ และเผยแพร่ผ่านทาง Social Media เพื่อที่ผู้เข้าร่วมอบรมจะสามารถกลับไปดูย้อนหลัง หรือทบทวนเนื้อหาได้อีกครั้ง