ผลการดำเนินงาน ปี 2024
SDG3-3 :

1. ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ร่วมกับโรงพยาบาลนครปฐม จัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เป็นหน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลนครปฐม (คลินิกหมอครอบครัว) ภายในมหาวิทยาลัย โดยดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557  เป็นการให้บริการรักษาพยาบาลตามสิทธิการรักษาแก่นักศึกษา บุคลากร และประชนทั่วไปโดยรอบมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมทุกกลุ่มวัย ตั้งแต่วันจันทร์ - วันศุกร์ ระหว่างเวลา 07.00 – 16.00 น. ทั้งในและนอกสถานบริการ พร้อมทั้งมีการให้คำปรึกษาด้านรักษาพยาบาล ให้คำปรึกษาด้านวัยรุ่น ปัญหาทางเพศ สุขภาพจิต ด้านโภชนาการ และการดูแลผู้สูงอายุ พร้อมทั้งบริการส่งต่อสู่โรงพยาบาลในกรณีทีเกินศักยภาพ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษา บุคลากร ตลอดจนประชาชนทั่วไปมีสุขภาพกายที่ดี เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับนักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป 

    

2. ความร่วมมือกับสถาบันด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ความร่วมมือกับบริการด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดย่อย 3.3.1 ความร่วมมือกับสถาบันด้านสุขภาพ

 

1. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีความร่วมมือกับสถาบันสุขภาพระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับโลก เพื่อพัฒนาปรุงปรุงการดำเนินงานด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

ระดับท้องถิ่น

          มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีความร่วมมือกับสถานพยาบาลระดับท้องถิ่น ได้แก่ Nong Din Daeng Tambon Health Promoting Hospital,  Thung Khwan Health Promoting Hospital and Tambon Phong Maduea TamBon Health Promoting Hospital ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ และเป็นสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพพยาบาล  รายละเอียดเพิ่มเติม

          ระดับประเทศ

                    มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีความร่วมมือกับสถานพยาบาลระดับประเทศ ได้แก่ Nakhonpathom Hospital, Ratchaburi Hospital, Banphaeo General Hospital, Thammasat University  Hospital, Banpong Hospital, Photharam Hospital, Srithanya Hospital, Makarak Hospital, Hospital and Makarak Hospital ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ และเป็นสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพพยาบาล

                 ระดับนานาชาติ

                   มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีความร่วมมือกับ Hungkuang University ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการและมีโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาพยาบาล

3. โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อสนับสนับการดูแลสุขภาพ และให้บริการด้านสุขภาพเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้อย่างยั่งยืน

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ความร่วมมือกับบริการด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดย่อย 3.3.2 โครงการส่งเสริมสุขภาพ

โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อสนับสนับการดูแลสุขภาพ และให้บริการด้านสุขภาพเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้อย่างยั่งยืน

          คณะพยาบาลศาสตร์ดำเนินโครงการร่วมกับโรงพยาบาลนครปฐม สสอ.เมืองจังหวัดนครปฐม ชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์สุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม และประชาชนทั่วไป ดำเนินโครงการ โรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อสนับสนับการดูแลสุขภาพ และให้บริการด้านสุขภาพเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยมีคณาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม และนางพวงพันธ์ วุฒิยาสกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลนครปฐม และนางสาวพัชรจริยา  ดำเรืองศรี เป็นวิทยากรให้ความรู้ทางด้านการดูแลโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และกิจกรรมพระพุทธศาสนา  พร้อมการจัดกิจกรรมสันทนาการฝึกสมอง และกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ปัญหาของโรคในผู้สูงอายุ ณ ห้องเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุ ชั้น 1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมและมีการเผยแพร่สู่สาธารณะผ่านซ่องทาง Facebook

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

มีความพึ่งพอใจอยู่ในระดับดีมาก

Link ที่เกี่ยวข้อง

 

4. โครงการการบรูณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ ในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพจิตในเด็กวัยเรียนการคัดกรองสุขภาพจิต และการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR)

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ความร่วมมือกับบริการด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดย่อย 3.3.2 โครงการส่งเสริมสุขภาพ

โครงการการบรูณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ ในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพจิตในเด็กวัยเรียนการคัดกรองสุขภาพจิต และการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR)

          วันที่ 5 กรกฎาคม 2565 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์วริยา จันทร์ขำ รองคณบดีคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์เรียม นมรักษ์อาจารย์กิติกร พรมา จัดโครงการการบรูณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการ ในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพจิตในเด็กวัยเรียนการคัดกรองสุขภาพจิต และการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) ให้กับลูกเสือจิตอาสาพระราชทานจำนวน 40 คน  ณ โรงเรียนวัดศรีวิสารวาจา จังหวัดนครปฐม

รายละเอียดเพิ่มเติม

5. โครงการบริการวิชาการ เรื่อง การป้องกันอุบัติเหตุทางถนน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การฝึกทักษะการช่วยคืนชีพ

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ความร่วมมือกับบริการด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดย่อย 3.3.2 โครงการส่งเสริมสุขภาพ

โครงการบริการวิชาการ เรื่อง การป้องกันอุบัติเหตุทางถนน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การฝึกทักษะการช่วยคืนชีพ

คณะพยาบาลศาสตร์ ออกให้บริการวิชาการ เรื่องการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การฝึกทักษะการช่วยคืนชีพ  ในวันที่ 27 มกราคม 2566 โดยให้นักเรียน โรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคม  เข้าร่วมจำนวน 130 คน คิดเป็น ชาย ร้อยละ 57.1% หญิง 42.9 % ทำ pre-test ก่อนบรรยายเพื่อทดสอบความรู้ และมีอาจารย์บรรยายเกี่ยวกับเนื้อความความรู้ต่างๆและได้สอนขั้นตอนการทา CPR อาจารย์และนักศึกษาพยาบาลมีการสาธิตให้ดูก่อน ระหว่างบรรยายได้มีการให้เด็กนักเรียนตอบคาถามเพื่อให้เด็กๆได้มีส่วนร่วมหลังจากบรรยายเสร็จได้มีการแบ่งกลุ่มให้เด็กนักเรียนเข้าฝึกการ CPR ตามกลุ่ม กลุ่มโดยมีนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 คอยสอนอธิบายให้ความรู้เรื่องการทา CPR และสาธิตให้เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดูก่อน แล้วให้เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ฝึกการ CPR ทีละคน ให้ทุกคนได้ลองปฏิบัติโดยจะมีอาจารย์คอยเข้ามาแนะนาและให้ความรู้เพิ่มเติมระหว่างการฝึกปฏิบัติเด็กนักเรียนต่างให้ความสนใจและร่วมมือในการฝึกปฏิบัติอย่างดี หลังจากได้ฝึก CPR ครบทุกคน ได้มีการให้สมาชิกในกลุ่มคัดเลือกตัวแทนของแต่ละกลุ่มไปแข่งการทา CPR มีการแจกของรางวัลให้กับเด็กนักเรียนที่เป็นตัวแทนของแต่ละกลุ่ม และหลังจากทำกิจกรรมเสร็จได้มีการให้เด็กนักเรียนทา post-test เพื่อประเมินความรู้หลังได้ปฏิบัติ

 

วัตถุประสงค์ของการออกบริการวิชาการ

  1. เพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนโรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคมมีความรู้เบื้องต้นในการช่วยเหลือผู้ป่วย   

ผู้หมดสติ

  1. เพื่อให้คำแนะนำแก่นักเรียนโรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคมในการดุแลการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

 

กิจกรรมการออกบริการวิชาการ

          1. บรรยาย เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานให้แก่นักเรียนโรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคม

          2. ฝึกปฏิบัติโดยการแบ่งกลุ่มให้เด็กนักเรียนเข้าฝึกการ CPR ตามกลุ่ม กลุ่มโดยมีนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 คอยสอนอธิบายให้ความรู้เรื่องการทำ CPR และสาธิตให้เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดูก่อน แล้วให้เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ฝึกการ CPR ทีละคน โดยให้ทุกคนได้ทดฝึกปฏิบัติและมีอาจารย์คอยเข้ามาแนะนำและให้ความรู้เพิ่มเติมระหว่างการฝึกปฏิบัติเด็กนักเรียนโรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคม

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

          1. นักเรียนโรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคมจำนวน 130 คน คิดเป็น ชาย ร้อยละ 57.1 หญิง ร้อยละ 42.9  มีความรู้เพิ่มขึ้นเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานจากการทำแบบสอบถาม pre-test  ก่อนให้ความรู้ คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 9.54 (SD 1.75)  หลังให้ความรู้ post-test คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 10.81 (SD 1.99)

          2. นักเรียนที่เข้ารับการร่วมกิจกรรมครั้งนี้มีความพึงพอใจมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 4.76 (SD 0.98) ในการเข้าอบรมครั้งนี้

Link ที่เกี่ยวข้อง

 

6. สิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬาที่ใช้ร่วมกัน

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ความร่วมมือกับบริการด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดย่อย 3.3.3 สิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬาที่ใช้ร่วมกัน

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมี Sport Complex ซึ่งประกอบด้วยศูนย์ฟิตเนส สนามบาสเกตบอล สนามแบดมินตัน สนามวอลเลย์บอล พร้อมทั้งมีสนามฟุตบอล และทางวิ่งหรือเดินออกกำลังกายรอบสระมรกต ใช้สำหรับเป็นสถานที่ออกกำลังกายของนักศึกษา บุคลากร และบุคคลทั่วไปรอบมหาวิทยาลัยมาใช้บริการฟรี นอกจากนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมยังให้บริการกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่ขอใช้สถานที่ในการจัดกิจกรรมการแข่งขันต่าง ๆ เช่น การแข่งขันกระบี่กระบองชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย และการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน เฉลิมพระเกียรติ ร.10 ของสมาคมกีฬาไทย เป็นต้น

นอกจากนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมยังมีสระว่ายน้ำที่ทันสมัยให้บริการแก่นักศึกษา บุคลากร และบุคคลทั่วไป โดยมีการเก็บค่าบริการในอัตราที่เหมาะสม เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและบำรุงรักษาสระว่ายน้ำให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

 

7. การดูแลสุขภาพหรือให้คำปรึกษาทางเพศฟรีสำหรับนักศึกษา

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ความร่วมมือกับบริการด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดย่อย 3.3.4 การดูแลสุขภาพหรือให้คำปรึกษาทางเพศฟรีสำหรับนักศึกษา

คณะพยาบาลศาสตร์ร่วมกับกองพัฒนานักศึกษา ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และโรงพยาบาลนครปฐมให้บริการสายด่วนให้คำปรึกษาด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต รวมถึงสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ นอกจากนั้นยังรับปรึกษาปัญหาชีวิตด้านต่าง ๆ แบบออนไลน์ และมีห้องให้คำปรึกษาที่จัดตั้งในคณะพยาบาลศาสตร์ ให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

 

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดตั้งคลินิกวัยใส อนามัยวัยรุ่น ให้บริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพทางเพศ การเรียน และการคุมกำเนิด โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านสูติศาสตร์คอยให้คำปรึกษาทุกวัน

8. คลินิก Happy Life บริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ความร่วมมือกับบริการด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดย่อย 3.3.5 การดูแลด้านสุขภาพจิต

คลินิก Happy Life บริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต

คณะพยาบาลศาสตร์ ร่วมกับ กองพัฒนานักศึกษา ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และ โรงพยาบาลนครปฐม เปิดให้บริการคลินิก HAPPY LIFE ให้บริการให้คำปรึกษาเบื้องต้น โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และนัดหมายพบแพทย์ ด้านสุขภาพจิตและจิตเวช จากโรงพยาบาลนครปฐม โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตให้คำปรึกษาทุกวัน นอกจากนั้นยังรับปรึกษาปัญหาชีวิตด้านต่าง ๆ แบบออนไลน์ และมีห้องให้คำปรึกษาที่จัดตั้งในคณะพยาบาลศาสตร์ ให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมโดยการนัดหมายกันล่วงหน้า

สโมสรนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

          สโมสรนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เป็นองค์กรหนึ่งที่ให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา ภายใต้การควบคุมของรองกิจการนักศึกษาร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาในแต่ละหมู่เรียน รายละเอียดเพิ่มเติม

 

9. นโยบายปลอดบุหรี่

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ความร่วมมือกับบริการด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดย่อย 3.3.6 นโยบายปลอดบุหรี่

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีนโยบายการบริการจัดการสถานศึกษาปลอดบุหรี่ โดยมีประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เรื่อง นโยบายคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ เพื่อรณรงค์ส่งเสริมไม่ให้มีการสูบบุหรี่ในมหาวิทยาลัย ทั้งนี้มหาวิทยาลัยยังให้บริการเลิกบุหรี่ โดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากคณะพยาบาลศาสตร์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่ประสงค์จะเลิกบุหรี่

รายละเอียดเพิ่มเติม

 

นอกจากนี้ สำนักงานอธิการบดี โดยกองพัฒนานักศึกษา ได้จัดโครงการ NPRU ร่วมใจรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ปี 2565 เพื่อเป็นการรณรงค์งดเว้นการสูบบุหรี่ ติดตามอาคาร สถานที่ต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย จัดทำพื้นที่สำหรับการสูบบุหรี่ที่ไม่รบกวนต่อที่ส่วนรวม และส่งเสริมให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดี ห่างไกลจากพิษภัยของบุหรี่ รวมถึงมีบรรยากาศในสถานศึกษาที่ดีเอื้ออำนวยต่อการดำเนินชีวิตการเรียน การทำงาน ของนักศึกษาและบุคลากร รวมทั้งส่งเสริมภาพลักษณ์อันดีต่อบุคคลทั่วไปที่เข้ามาในรั้วมหาวิทยาลัย ซึ่งมีการดำเนินการในระหว่างวันที่ 15 - 20 สิงหาคม 2565 ณ บริเวณต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

10. ความร่วมมือกับสถาบันด้านสุขภาพ ระดับท้องถิ่น

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ความร่วมมือกับบริการด้านสุขภาพ

ตัวชี้วัดย่อย 3.3.1 ความร่วมมือกับสถาบันด้านสุขภาพ

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีความร่วมมือกับสถาบันสุขภาพระดับท้องถิ่น  เพื่อพัฒนาปรุงปรุงการดำเนินงานด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

          มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีความร่วมมือกับสถานพยาบาลระดับท้องถิ่น ได้แก่ Nong Din Daeng Tambon Health Promoting Hospital,  Thung Khwan Health Promoting Hospital and Tambon Phong Maduea TamBon Health Promoting Hospital ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ และเป็นสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพพยาบาล

         รายละเอียดเพิ่มเติม

11. ความร่วมมือกับสถาบันสุขภาพ ระดับชาติ

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีความร่วมมือกับสถาบันสุขภาพระดับชาติ เพื่อพัฒนาปรุงปรุงการดำเนินงานด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

                    มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีความร่วมมือกับสถานพยาบาลระดับประเทศ ได้แก่ Nakhonpathom Hospital, Ratchaburi Hospital, Banphaeo General Hospital, Thammasat University  Hospital, Banpong Hospital, Photharam Hospital, Srithanya Hospital, Makarak Hospital, Hospital and Makarak Hospital ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ และเป็นสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพพยาบาล  รายละเอียดเพิ่มเติม

12. ความร่วมมือกับสถาบันสุขภาพ ระดับนานาชาติ

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีความร่วมมือกับสถาบันสุขภาพระดับนานาชาติ เพื่อพัฒนาปรุงปรุงการดำเนินงานด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีความร่วมมือกับ Hungkuang University ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการและมีโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาพยาบาล รายละเอียดเพิ่มเติม

13. บริการวิชาการ เรื่องการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การฝึกทักษะการช่วยคืนชีพ

คณะพยาบาลศาสตร์ ออกให้บริการวิชาการ เรื่องการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การฝึกทักษะการช่วยคืนชีพ  ในวันที่ 27 มกราคม 2566 ณ โรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคม  ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวดนครปฐม โดยให้นักเรียนเข้าร่วมจำนวน 130 คน คิดเป็น ชาย ร้อยละ 57.1% หญิง 42.9 % ทำ pre-test ก่อนบรรยายเพื่อทดสอบความรู้ และมีอาจารย์บรรยายเกี่ยวกับเนื้อความความรู้ต่างๆและได้สอนขั้นตอนการทา CPR อาจารย์และนักศึกษาพยาบาลมีการสาธิตให้ดูก่อน ระหว่างบรรยายได้มีการให้เด็กนักเรียนตอบคาถามเพื่อให้เด็กๆได้มีส่วนร่วมหลังจากบรรยายเสร็จได้มีการแบ่งกลุ่มให้เด็กนักเรียนเข้าฝึกการ CPR ตามกลุ่ม กลุ่มโดยมีนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 คอยสอนอธิบายให้ความรู้เรื่องการทา CPR และสาธิตให้เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดูก่อน แล้วให้เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ฝึกการ CPR ทีละคน ให้ทุกคนได้ลองปฏิบัติโดยจะมีอาจารย์คอยเข้ามาแนะนาและให้ความรู้เพิ่มเติมระหว่างการฝึกปฏิบัติเด็กนักเรียนต่างให้ความสนใจและร่วมมือในการฝึกปฏิบัติอย่างดี หลังจากได้ฝึก CPR ครบทุกคน ได้มีการให้สมาชิกในกลุ่มคัดเลือกตัวแทนของแต่ละกลุ่มไปแข่งการทา CPR มีการแจกของรางวัลให้กับเด็กนักเรียนที่เป็นตัวแทนของแต่ละกลุ่ม และหลังจากทำกิจกรรมเสร็จได้มีการให้เด็กนักเรียนทา post-test เพื่อประเมินความรู้หลังได้ปฏิบัติ

 

วัตถุประสงค์ของการออกบริการวิชาการ

          1. เพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนโรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคมมีความรู้เบื้องต้นในการช่วยเหลือผู้ป่วย
ผู้หมดสติ

          2. เพื่อให้คำแนะนำแก่นักเรียนโรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคมในการดุแลการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

 

กิจกรรมการออกบริการวิชาการ

           1. บรรยาย เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานให้แก่นักเรียนโรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคม

           2. ฝึกปฏิบัติโดยการแบ่งกลุ่มให้เด็กนักเรียนเข้าฝึกการ CPR ตามกลุ่ม กลุ่มโดยมีนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 คอยสอนอธิบายให้ความรู้เรื่องการทำ CPR และสาธิตให้เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดูก่อน แล้วให้เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ฝึกการ CPR ทีละคน โดยให้ทุกคนได้ทดฝึกปฏิบัติและมีอาจารย์คอยเข้ามาแนะนำและให้ความรู้เพิ่มเติมระหว่างการฝึกปฏิบัติเด็กนักเรียนโรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคม

 

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

          1. นักเรียนโรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคมจำนวน 130 คน คิดเป็น ชาย ร้อยละ 57.1 หญิง ร้อยละ 42.9  มีความรู้เพิ่มขึ้นเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานจากการทำแบบสอบถาม pre-test  ก่อนให้ความรู้ คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 9.54 (SD 1.75)  หลังให้ความรู้ post-test คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 10.81 (SD 1.99)

          2. นักเรียนที่เข้ารับการร่วมกิจกรรมครั้งนี้มีความพึงพอใจมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 4.76 (SD 0.98) ในการเข้าอบรมครั้งนี้

   

   

Link ที่เกี่ยวข้อง

https://www.facebook.com/pages/คณะพยาบาลศาสตร์-มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม/388735014550275

 

14. กิจกรรมบูรณาการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม อำเภออินทรบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ต.ท่างาม จังหวัดสิงห์บุรี

วันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2566 คณะพยาบาลศาสตร์  ดำเนินกิจกรรมบูรณาการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม อำเภออินทรบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ต.ท่างาม จังหวัดสิงห์บุรี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้อบรมได้กิจกรรมและมีบทบาททางสังคมได้นานที่สุดตามทฤษฎีการมีกิจกรรม และส่งเสริมให้ผู้อบรมมีวิธีการปรับตัวแบบเดิมให้คงไว้ซึ่งบุคลิกภาพเดิมมากที่สุด โดยจะทำกิจกรรมเท่าที่ทำได้ให้ได้มากและนานที่สุดตามทฤษฎีความต่อเนื่อง กลุ่มเป้าหมาย ผู้อบรมสถาบันวิชชาจารย์เพื่อสุขภาพผู้สูงอายจำนวน 16 คน ผู้อบรมมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกับนักศึกษาและผู้สูงอายุที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม อำเภออินบุรีย์ จังหวัดสิงห์บุรี ร้อยละ 100  ผู้อบรมมีความพึงพอใจและรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าในระดับมาก (คะแนนเฉลี่ยมากกว่า 3.51) ซี่งทั้งหมดได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ด้านอาชีพ การออกกำลังกายตามวัย และการผ่อนคลายจิตใจ รวมถึงกิจกรรมสันทนาการเพื่อคลายเครียด และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ในวัยเกษียณ และให้ข้อคิดเห็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

   

   

   

Link ที่เกี่ยวข้อง

https://www.facebook.com/pages/คณะพยาบาลศาสตร์-มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม/388735014550275

15. การเรียนรู้กิจกรรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม การเรียนรู้กิจกรรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ณ โรงเรียนเทศบาล 4 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566

 

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

          1. นักเรียนมีความรู้เรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน คะแนนเฉลี่ย 4.46 (SD 0.78) จากการประเมินด้วยการทำข้อสอบหลังการให้ความรู้จำนวน 5 ข้อ

          2. ความพึงพอใจอยู่ระดับมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 4.85 (SD 1.08)

   

   

Link ที่เกี่ยวข้อง

https://www.facebook.com/pages/คณะพยาบาลศาสตร์-มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม/388735014550275

16. การป้องกันอุบัติเหตุทางถนน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การฝึกทักษะการช่วยคืนชีพ

การพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน โดยให้นักเรียนเข้าร่วมจำนวน 130 คน คิดเป็น ชาย ร้อยละ 57.1% หญิง 42.9 % ทำ pre-test ก่อนบรรยายเพื่อทดสอบความรู้ และมีอาจารย์บรรยายเกี่ยวกับเนื้อความความรู้ต่างๆและได้สอนขั้นตอนการทา CPR อาจารย์และนักศึกษาพยาบาลมีการสาธิตให้ดูก่อน ระหว่างบรรยายได้มีการให้เด็กนักเรียนตอบคาถามเพื่อให้เด็กๆได้มีส่วนร่วมหลังจากบรรยายเสร็จได้มีการแบ่งกลุ่มให้เด็กนักเรียนเข้าฝึกการ CPR ตามกลุ่ม กลุ่มโดยมีนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 คอยสอนอธิบายให้ความรู้เรื่องการทา CPR และสาธิตให้เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดูก่อน แล้วให้เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ฝึกการ CPR ทีละคน ให้ทุกคนได้ลองปฏิบัติโดยจะมีอาจารย์คอยเข้ามาแนะนาและให้ความรู้เพิ่มเติมระหว่างการฝึกปฏิบัติเด็กนักเรียนต่างให้ความสนใจและร่วมมือในการฝึกปฏิบัติอย่างดี หลังจากได้ฝึก CPR ครบทุกคน ได้มีการให้สมาชิกในกลุ่มคัดเลือกตัวแทนของแต่ละกลุ่มไปแข่งการทา CPR มีการแจกของรางวัลให้กับเด็กนักเรียนที่เป็นตัวแทนของแต่ละกลุ่ม และหลังจากทำกิจกรรมเสร็จได้มีการให้เด็กนักเรียนทา post-test เพื่อประเมินความรู้หลังได้ปฏิบัติ

วัตถุประสงค์ของการออกบริการวิชาการ

          1. เพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนโรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคมมีความรู้เบื้องต้นในการช่วยเหลือผู้ป่วย   

ผู้หมดสติ

          2. เพื่อให้คำแนะนำแก่นักเรียนโรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคมในการดุแลการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

กิจกรรมการออกบริการวิชาการ

           1. บรรยาย เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานให้แก่นักเรียนโรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคม

          2. ฝึกปฏิบัติโดยการแบ่งกลุ่มให้เด็กนักเรียนเข้าฝึกการ CPR ตามกลุ่ม กลุ่มโดยมีนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 คอยสอนอธิบายให้ความรู้เรื่องการทำ CPR และสาธิตให้เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดูก่อน แล้วให้เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ฝึกการ CPR ทีละคน โดยให้ทุกคนได้ทดฝึกปฏิบัติและมีอาจารย์คอยเข้ามาแนะนำและให้ความรู้เพิ่มเติมระหว่างการฝึกปฏิบัติเด็กนักเรียนโรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคม
     

     

      

Link ที่เกี่ยวข้อง

https://www.facebook.com/pages/คณะพยาบาลศาสตร์-มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม/388735014550275

17. บริการวิชาการ ให้ความรู้ในเรื่องของการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นหรือการทำ CPR

คณะพยาบาลศาสตร์  จัดบริการวิชาการให้ความรู้ในเรื่องของการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น โดยมีนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ ร่วมกับพี่ๆมูลนิธิ ได้นำรถ ambulance มาร่วมกิจกรรม ให้น้องๆ ได้เห็นการทำ CPR บนรถ

          หน้าที่ที่ได้รับจากฐานคือ ฐานเกมส์ให้ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการทำ CPR โดยเราจะให้ความรู้ในขั้นตอนต่างๆ คือ

1. ปลุก ... 

2. โทร ...

3. ปั๊ม ...

4. แปะ ...

5. ช็อก ...

6. ส่ง

               เมื่อให้ความรู้น้องๆ เสร็จก็จะให้น้องๆ เอาหมายเลขไปวางให้ตรงกับขั้นตอน จากการที่ได้จัดกิจกรรมในครั้งนี้รู้สึกประทับใจมากๆ เพราะมีน้องๆ หลายๆคนที่สนใจในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน และสามารถทำ CPR ได้อย่างถูกต้อง หวังว่าการจัดกิจกรรมของพวกเราในครั้งนี้จะเป็นการต่อยอดให้น้องๆ สามารถนำไปใช้ได้เมื่อพบเจอสถานการณ์จริง

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

      

https://www.facebook.com/photo/?fbid=480157567615348&set=pcb.480157717615333

18. การอบรมหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการสอนสําหรับพยาบาลพี่เลี้ยง"ประจำปีการศึกษา 2565 (ปีงบประมาณ 2566)

อาจารย์พิเศษภาคปฏิบัติ (preceptor) หรืออาจารย์พี่เลี้ยง เป็นบุคคลสำคัญของแหล่งฝึกปฏิบัติทางการพยาบาลที่มีส่วนร่วมและบทบาทในการสอนภาคปฏิบัติให้แก่นักศึกษาพยาบาลในสถานการณ์จริงเป็นอย่างมาก โดยส่งเสริมให้นักศึกษามีการนำความรู้จากการเรียนทฤษฎีมาประยุกต์ใช้กับผู้รับบริการภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์ประจำกลุ่มจากสถาบันการศึกษาและอาจารย์พิเศษภาคปฏิบัติ ด้วยเหตุนี้ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้เห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพด้านการสอนของอาจารย์พี่เลี้ยง ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งเป็นหลักสูตรอบรมที่ผ่านการรับรองจากสภาการพยาบาลมาอย่างต่อเนื่องทุกปีช่วยเพิ่มศักยภาพและเติมเต็มคุณสมบัติของการเป็นอาจารย์พิเศษภาคปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดของสภาการพยาบาล อีกทั้งยังเป็นการ upskill – reskill ให้แก่พยาบาลวิชาชีพ เพื่อร่วมช่วยผลติบัณฑิตทางการพยาบาลที่มีคุณภาพต่อไป

     

       

บรรยากาศการเรียนภาคทฤษฎี

     

        

บรรยากาศการเรียนภาคปฏิบัติ

Link ที่เกี่ยวข้อง

https://www.facebook.com/pages/คณะพยาบาลศาสตร์-มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม/388735014550275

19. โครงการสถาบันวิชชาจารย์สุขภาพเพื่อผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2566 ณ โรงเรียนผู้สูงอายุชั้น 1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดโครงการสถาบันวิชชาจารย์สุขภาพเพื่อผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2566  โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้อยู่ในวัยเกษียณ ผู้เตรียมเกษียณ และผู้สูงอายุ

 

รายละเอียดดังเอกสารแนบ

20. โครงการตรวจสุขภาพ ประจำปี 2566

โครงการตรวจสุขภาพ ประจำปี 2566 ดำเนินการกิจกรรมเป็น 2 กิจกรรม ดังนี้

1. กิจกรรมตรวจสุขภาพประจำปี ในวันที่ 26 เมษายน 2566

2. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการขยับร่างกายสักนิด ห่างไกล ออฟฟิศซินโดรม ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2566

 

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

          - บุคลากรทราบสุขภาวะและความสมบูรณ์ของร่างกาย สามารถรักษาความผิดปกติหรือโรคต่าง ๆ ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ทันท่วงที ไม่ให้เกิดการลุกลาม

          - บุคลากรมีความรู้ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การออกกำลังกาย และการจัดการกับอารมณ์ที่เหมาะสม

-  มีการปรับสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงานเพื่อห่างไกลจากออฟฟิศซินโดรม

- ลดการสูญเสียด้านสุขภาพ และด้านการเงิน

-  บุคลากรมีคุณภาพชีวิต มีสภาวะสุขภาพที่ดี และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

   

   

   

   

21. กิจกรรมบูรณาการตรวจมะเร็งเต้านม

โครงการบริการวิชาการ ตรวจมะเร็งเต้านมร่วมกับหน่วยส่งเสริมสุขภาพของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และโครงการบูรณาการรายวิชาการรักษาโรคเบื้องต้น และวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ 1  ประจำปีการศึกษา2566 กิจกรรมตรวจคัดกรองนักศึกษาและบุคลากร ด้านสุขภาพและส่งเสริมสุขภาพเด็กในวัยเรียนร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธรรมศาลา

 

วัตถุประสงค์ของการบูรณาการ

               1.  เพื่อให้นักศึกษาบุคคลากรในมหาวิทยาลัย ผู้ป่วย ผู้มารับบริการที่หน่วย PCU มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ตรวจเต้านมเพื่อค้นหาความผิดปกติได้

               2. เพื่อให้นักศึกษาพยาบาลสามารถส่งเสริมสุขภาพสตรี และผู้ป่วย โดยตรวจหามะเร็งเต้านมได้อย่างถูกวิธี

 

การดำเนินการบูรณาการ

          นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 ได้ดำเนินการนำ model เต้านม แผ่นพับ roll up แผ่นป้ายการตรวจมะเร็งเต้านม บริการสอนและฝึกสาธิตย้อนกลับ ให้แก่ผู้รับบริการ  ได้แก่วันที่ วันที่ 25 มี.ค. 2566, 28,29 มี.ค. 2566 โดยมีการดำเนินการดังนี้

          1. แนะนำตัวและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการให้ความรู้เรื่องการดูแลตนเองของสตรี ผู้มารับบริการ  โดยเฉพาะการดูแลเต้านม การตรวจเต้านม 

          2. ประเมินการรับรู้ประโยชน์ของการตรวจเต้านม สังเกตความผิดปกติต่างๆ

          3. สอน สาธิต และให้คำแนะนำเรื่องการตรวจเต้านม โดยใช้เกณฑ์การตรวจของชมรมถันยรักษ์ โรงพยาบาลศิริราช  

          4. ประเมินความรู้และสาธิตย้อนกลับเกี่ยวกับการตรวจเต้านม

                      ภาพ 1  QR code การตรวจเต้านมของชมรมถันยรักษ์                  

ผลการดำเนินการ

          1. กลุ่มเป้าหมาย ผู้มารับบริการ : นักศึกษาในมหาวิทยาลัย ญาติและผู้ป่วย 

          2. นักศึกษาผ่านการเข้าร่วมบูรณาการบริการวิชาการทุกคน และนักศึกษา ผู้ป่วยที่เป็นอาสามาสาธิตย้อนกลับสามารถตอบคำถามถูกต้องและปฏิบัติการตรวจเต้านมได้มากกว่าร้อยละ 80 ขึ้นไป 

ภาพกิจกรรมการดำเนินการ

   

บูรณาการวิชาการร่วมกับ รพสต.ธรรมศาลา

   

   

บูรณาการวิชาการร่วมกับหน่วย PCU มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

   

   

บูรณาการวิชาการร่วมกับหน่วย PCU มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

22. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลผู้สูงอายุติดเตียง

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการจัดโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการดูแลผู้สูงอายุติดเตียง ทั้งนี้เนื่องจากในตำบลโพรงมะเดื่อ ห้วยด้วน และคลองนกกระทุง มีจำนวนผู้สูงอายุค่อนข้างมาก อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องผู้สูงอายุติดเตียงอีกด้วย โดยทางชุมชนมีเจ้าหน้าที่ในการดูแลประชาชนไม่เพียงพอ หากผู้สูงอายุ และญาติมีองค์ความรู้และทักษะในการดูแลตนเองในเบื้องต้นแล้วจะช่วยแบ่งเบางานในส่วนราชการ และลดภาวะเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุได้ ทั้งนี้ทางคณะวิทยาศาสตรืและเทคโนโลยี จึงได้จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลผู้สูงอายุติดเตียง ครั้งที่ 1 วันที่ 18-19 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม ครั้งที่ 2 วันที่ 23 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยด้วน อ.ดอนตูม จ.นครปฐม และครั้งที่ 3 วันที่ 24 - 25 พฤษภาคม 2566 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองนกกระทุง อ.บางเลน จ.นครปฐม โดย อาจารย์ชิราวุธ ปุญณวิช และ อาจารย์วิรญา อาระหัง ได้ทำหน้าที่บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุติดเตียง หลักการกายภาพผู้สูงอายุ และสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุในชุมชนสามารถดูแลตนเองในเบื้องต้นได้ ญาติและผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความเข้าใจและทักษะในการดูแลผู้สูงอายุได้ตรงตามหลักการ

      

23. โครงการอบรมเสริมทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ

สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ได้จัดโครงการอบรมเสริมทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ ให้กับนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม วันที่ 7 กรกฎาคม  2566 ณ โรงยิม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

      

24. โครงการพัฒนาทักษะเชิงปฏิบัติการเพื่อการให้บริการด้านสุขภาพในชุมชนท้องถิ่น

สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ได้จัดโครงการอบรมการพัฒนาทักษะเชิงปฏิบัติการเพื่อการให้บริการด้านสุขภาพในชุมชนท้องถิ่น ให้กับนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม วันที่ 5-7 ธันวาคม 2565 ณ จังหวัดกาญจณบุรี

      

25. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการงานอนามัยครอบครัวในกลุ่มแม่และเด็กและวัยผู้ใหญ่

สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการงานอนามัยครอบครัวในกลุ่มแม่และเด็กและวัยผู้ใหญ่ ให้กับนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม วันที่ 20 มีนาคม 2566 ณ SC101 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

   

26. โครงการสร้างเครือข่ายสาธารณสุขระหว่างสถาบัน

สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ได้จัดโครงการสร้างเครือข่ายสาธารณสุขระหว่างสถาบัน ให้กับนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม วันที่ 6 เมษายน 2566 ณ อาคารสิริวรปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

   

27. โครงการอบรมการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์

สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ได้จัดโครงการอบรมการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ให้กับนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม วันที่ 3-5 สิงหาคม 2566 ณ จังหวัดราชบุรี

   

28. โครงการการลงนามบันทึกข้อตกลงทางวิชาการความร่วมมือต่อเนื่องและศึกษาดูงานเครือข่ายทางการพยาบาลระดับนานาชาติ มหาวิทยาลัย Hungkuang University ไต้หวัน

โครงการการลงนามบันทึกข้อตกลงทางวิชาการความร่วมมือต่อเนื่อง

และศึกษาดูงานเครือข่ายทางการพยาบาลระดับนานาชาติ มหาวิทยาลัย Hungkuang University ไต้หวัน

วันที่ 28 มีนาคม 2566 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.หทัยชนก บัวเจริญ คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์วริยา จันทร์ขำ รองคณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรางคณา สายสิทธิ์ รองคณบดี อาจารย์ณัฐยา เชิงฉลาดชูพรม นางสาวมณฑิรา วุฒิพงษ์ และนางสาวฐาปนี ซั่วเซ่งอี่  ได้รับการต้อนรับจาก Chen,Shu-Ling  Dean of College of Nursing HUNGKUNG UNIVERSITY และคณะ ร่วมหารือการความร่วมทางวิชาการและการวิจัยเพื่อร่วมผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติทางการพยาบาล การให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาเอก การเรียนการสอน VR และ AR  สำหรับการสอนทางการพยาบาล พร้อมทั้งดูงานห้องปฎิบัติทางการพยาบาล ณ College of Nursing HUNGKUNG UNIVERSITY ไต้หวัน