ผลการดำเนินงาน ปี 2024
SDG2-5-2 :

1. ศูนย์ฝึกศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ศูนย์ฝึกศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
การจัดตั้ง “ศูนย์ฝึกศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม” ด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งได้ทำงานยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างต่อเนื่อง โดย ใช้เนื้อที่จำลองกว่า 10 ไร่ เปิดฐานการเรียนรู้/กิจกรรมการสร้างองค์ความรู้ จำนวน 6 ฐาน เช่น การปลูกไม้ยืนต้น การทำนา การปลูกพืชผักสวนครัว การปลูกหญ้าแฝก การทำฝายชะลอน้ำ การทำคลองไส้ไก่ คันนาทองคำ และกิจกรรมอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาได้สัมผัสและลงมือปฏิบัติจริง เช่น เรียนรู้เรื่องการปลูกหญ้าแฝก เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ช่วยกักเก็บตะกอนดิน ลดการสูญเสียธาตุอาหารพืชจากพื้นที่ เพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดินและรักษาความชื้นในดิน เป็นต้น

 

ผลผลิตที่ได้จากศูนย์การเรียนรู้ฯ

 

2.  ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาพืชเกษตรหลักนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

 ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาพืชเกษตรหลักนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาพืชเกษตรหลักนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาพืชเกษตรหลักที่เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดนครปฐม โดยการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมสำหรับการผลิตพืช เช่น ไม้ผล ข้าว ผักต่างๆ และพืชดอก ทั้งนี้เพื่อตอยสนองความต้องการหรือแก้ไขปัญหาทางการเกษตรในจังหวัดนครปฐม รวมถึงการแก้ปัญหาหารผลิตผลผลิตพืชในพื้นที่ให้มีคุณภาพและปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรนอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดเทตโนโลยีให้กลุ่มเกษตรกร ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพของเกษตรกร และการอนุรักษ์สายพันธุ์พืชที่เป็นพืชถิ่นที่สำคัญอีกด้วย

รายละเอียดเพิ่มเติม

3. โครงการอมรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2566 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากระบบ IoT เพื่อการเกษตร

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการจัดโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากระบบ IoT เพื่อการเกษตร โดยในชุมชนหนองงูเหลือมซึ่งเป็นชุมชนเกษตรปลอดสาร มีความสนใจที่จะใช้ระบบ IOT เพื่อช่วยควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำ ทั้งนี้เนื่องจากตำแหน่งในการวางปั๊มของเกษตรกรแต่ละแปลงอยู่ค่อนข้างห่างไกลจากตัวบ้าน ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการเดินทางไปเพื่อเปิด - ปิดปั๊มน้ำทางการเกษตร รวมถึงความไม่ปลอดภัยจากสัตว์มีพิษ และมิจฉาชีพเมื่อต้องออกมาเปิด – ปิด ปั๊มในช่วงฟ้ามืด ทางคณะวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยีจึงได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากระบบ IoT เพื่อการเกษตร ในวันที่ 19 - 20 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 07.30 – 18.00 น. ณ วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์รักสิ่งแวดล้อม ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยอาจารย์ ดร.เกรียงไกร มีถาวร และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมชนม์ ตั้งวชิรพันธุ์ ได้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบ วัสดุ อุปกรณ์ และการใช้ประโยชน์จากระบบ IoT กับการเกษตร พร้อมทั้งสาธิตการติดตั้งระบบ IoT กับระบบน้ำที่แปลงสาธิต ซึ่งทำให้ชุมชนมีการติดตั้งระบบการเปิดปั๊มน้ำทางไกลในแปลงเกษตรของตนเอง

4. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการบริหารจัดการดินสำหรับพืชเศรษฐกิจแก่เกษตรกรตำบลทรงคะนอง

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการจัดโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการดินสำหรับพืชเศรษฐกิจแก่เกษตรกร ทั้งนี้ในชุมชนทรงคะนอง มีปัญหาเรื่องดินสะสมมาตั้งแต่หลังเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในปี พ.ศ.2554 ผลผลิตที่ได้น้อยลง อีกทั้งยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้จนมาถึงปัจจุบัน ทางคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงได้จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการบริหารจัดการดินสำหรับพืชเศรษฐกิจแก่เกษตรกรตำบลทรงคะนอง ในวันที่ 14 และ 17 มิถุนายน 2566 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลทรงคะนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยอาจารย์ ดร.เกรียงไกร มีถาวร และนายพิสิษฐ์ ศรีวิจิตรชัย ได้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการดิน แนวการปฏิบัติหลักการจัดการดินให้เหมาะสมสำหรับปลูกผัก แนวทางการตรวจวัดธาตุอาหารพืชในดิน การตรวจสอบอาการขาดธาตุอาหารพืชในพืชปลูก และหลักการวิธีการให้ปุ๋ยและธาตุอาหารพืชอย่างเหมาะสม พร้อมทั้งได้จัดทำคู่มือด้านการจัดการดินให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนองอีกด้วย ทำให้ทางชุมชนได้มีคู่มือในการปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิต และแก้ปัญหาสภาพดิน

5. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาผลิตภัณฑ์สเปรย์กันยุงโดยใช้เปลือกส้มโอ

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มีการจัดโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้ทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ 2566 เน้นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนท้องถิ่น ทั้งนี้ในชุมชนทรงคะนองเป็นชุมชนที่มีส้มโอเป็นผลิตผลทางการเกษตรหลัก ทั้งนี้เกษตรกรมีการจำหน่ายทั้งการขายส่งให้กับนายทุนเจ้าใหญ่ และขายปลีกตามสถานที่ต่าง ๆ ค่อนข้างมาก จากการจำหน่ายดังกล่าวทำให้มีขยะจากผลิตผลทางการเกษตร คือ เปลือกส้มโอเป็นจำนวนมาก ซึ่งทางชุมชนมีความสนใจที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกส้มโอเหลือใช้ ทางคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงได้จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาผลิตภัณฑ์สเปรย์กันยุงโดยใช้เปลือกส้มโอ ในวันที่ วันที่ 26 - 27 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดย อาจารย์ ดร.กัญญา สอนสนิท ทำหน้าที่เป็นวิทยากรในการอบรมดังกล่าว