1. โครงการอมรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2566 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากระบบ IoT เพื่อการเกษตร
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการจัดโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากระบบ IoT เพื่อการเกษตร โดยในชุมชนหนองงูเหลือมซึ่งเป็นชุมชนเกษตรปลอดสาร มีความสนใจที่จะใช้ระบบ IOT เพื่อช่วยควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำ ทั้งนี้เนื่องจากตำแหน่งในการวางปั๊มของเกษตรกรแต่ละแปลงอยู่ค่อนข้างห่างไกลจากตัวบ้าน ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการเดินทางไปเพื่อเปิด - ปิดปั๊มน้ำทางการเกษตร รวมถึงความไม่ปลอดภัยจากสัตว์มีพิษ และมิจฉาชีพเมื่อต้องออกมาเปิด – ปิด ปั๊มในช่วงฟ้ามืด ทางคณะวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยีจึงได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากระบบ IoT เพื่อการเกษตร ในวันที่ 19 - 20 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เวลา 07.30 – 18.00 น. ณ วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์รักสิ่งแวดล้อม ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยอาจารย์ ดร.เกรียงไกร มีถาวร และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมชนม์ ตั้งวชิรพันธุ์ ได้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบ วัสดุ อุปกรณ์ และการใช้ประโยชน์จากระบบ IoT กับการเกษตร พร้อมทั้งสาธิตการติดตั้งระบบ IoT กับระบบน้ำที่แปลงสาธิต ซึ่งทำให้ชุมชนมีการติดตั้งระบบการเปิดปั๊มน้ำทางไกลในแปลงเกษตรของตนเอง
2. โครงการส่งเสริมสมรรถนะการแปรรูปเพื่ออาชีพ
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ได้จัดโครงการส่งเสริมสมรรถนะการแปรรูปเพื่ออาชีพ ให้กับนักศึกษาหมู่เรียน 66/34 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม วันที่ 20 เมษายน 2566 ณ ห้องปฏิบัติการแปรรูป สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
3. โครงการอบรมการวางแผนการผลิต และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในยุค 4.0
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ได้จัดโครงการอบรมการวางแผนการผลิต และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในยุค 4.0 โดยโครงการได้จัดขึ้นในวันที่ 29-30 มิถุนายน 2566 อบรมโดยวิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปิยะ รนต์ละออง การอบรมนี้ช่วยเสริมศักยภาพของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในการเรียนรายวิชาการวางแผนและการจัดการโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงาน ในหัวข้อหลักการเพิ่มผลผลิต (Productivity) การหาเวลาจังหวะการผลิต (Take Time) และเวลามาตรฐาน (Standard Time) การจัดสมดุลสายการผลิต (Line Balancing) โดยวิธี COMSOL การวางแผนการผลิตด้วย Excel Solver การควบคุมกระบวนการโดยหลักการทางสถิติ (Statistical Process Control:SPC) แผนภูมิควบคุมเชิงปริมาณ และแผนภูมิควบคุมเชิงคุณภาพ (Attribute Control Chart) การวิเคราะห์ความสามารถของกระบวนการระยะสั้น และระยะยาว (Process Capability Analysis: PCA) ด้วยดัชนี Cp, Cpk, Pp, Ppk และการคำนวณหาร้อยละของเสียจากกระบวนการผลิต (Percent of Defective) ภายหลังการอบรมคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.00 ค่ามัธยฐานก่อนการอบรม 13/20 ค่ามัธยฐานหลังการอบรม 19/20
4. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาผลิตภัณฑ์สเปรย์กันยุงโดยใช้เปลือกส้มโอ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มีการจัดโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้ทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ 2566 เน้นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนท้องถิ่น ทั้งนี้ในชุมชนทรงคะนองเป็นชุมชนที่มีส้มโอเป็นผลิตผลทางการเกษตรหลัก ทั้งนี้เกษตรกรมีการจำหน่ายทั้งการขายส่งให้กับนายทุนเจ้าใหญ่ และขายปลีกตามสถานที่ต่าง ๆ ค่อนข้างมาก จากการจำหน่ายดังกล่าวทำให้มีขยะจากผลิตผลทางการเกษตร คือ เปลือกส้มโอเป็นจำนวนมาก ซึ่งทางชุมชนมีความสนใจที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกส้มโอเหลือใช้ ทางคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงได้จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาผลิตภัณฑ์สเปรย์กันยุงโดยใช้เปลือกส้มโอ ในวันที่ วันที่ 26 - 27 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดย อาจารย์ ดร.กัญญา สอนสนิท ทำหน้าที่เป็นวิทยากรในการอบรมดังกล่าว
5. โครงการการวัดสมรรถนะการวิเคราะห์คุณภาพอาหารตามมาตรฐาน
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ได้จัดโครงการการวัดสมรรถนะการวิเคราะห์คุณภาพอาหารตามมาตรฐาน รูปแบบกิจกรรม ให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร หมู่เรียน 63/36 ระดมสมองเสนออาหารในโรงอาหารมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมกลุ่มต่างๆ ประกอบด้วย ข้าวราดแกง ไก่ทอด ผลไม้ น้ำดื่มบรรจุขวด น้ำหวานชงขาย จับฉลากเลือกประเภทอาหารที่ต้องทำการวิเคราะห์ โดยให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มเสนอแนวทางการวิเคราะห์ให้สอดคล้องกับเครื่องมือวิเคราะห์อาหาร ตามมาตรฐาน มาอย่างน้อย 1 วิธีที่สัมพันธ์กับอาหารกลุ่มนั้นๆ ทดสอบสมรรถนะทักษะการใช้เครื่องมือวิเคราะห์อาหารทางเคมีของนักศึกษาจากการสังเกต การใช้เครื่องมือ ทั้งนี้นักศึกษาต้องนำเสนอกระบวนการตั้งแต่การวางแผน ขั้นตอนการเตรียมสาร การวิเคราะห์คุณภาพอาหารทางเคมี ตามมาตรฐาน ในรูปแบบถ่ายทำเป็น clip VDO สั้นๆ ความยาวไม่เกิน 8 นาที โดยมีหลักเกณฑ์การประเมิน : ใช้เกณฑ์ผ่าน/ไม่ผ่าน โดยต้องมีผลประเมินคุณภาพงาน ทักษะ สมรรถนะการวิเคราะห์อาหารตามมาตรฐาน ไม่ต่ำกว่า 80% จึงผ่านเกณฑ์ ซึ่งนักศึกษาทั้งหมด จำนวน 15 คน ผ่านเกณฑ์ประเมินทุกคน คิดเป็นผ่านเกณฑ์ 100 %
6. โครงการการวัดสมรรถนะการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ได้จัดโครงการการวัดสมรรถนะการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร จัดขึ้นในวันที่ 9-11 พฤษภาคม 2566 โดยเชิญ ดร.ปิยวรรณ ธรรมบำรุง มาเป็นผู้ประเมินสมรรถนะการแปรรูปของนักศึกษาในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จำนวน 8 ผลิตภัณฑ์ได้แก่ โยเกิรต์ แหนม ไส้กรอกเปรี้ยว ถั่วกรอบแก้ว กล้วยเบรกแตก บะหมี่ใส่ผำ คุกกี้สิงคโปร์จากแป้งข้าวเจ้า และเค้กกล้วยหอม โดยการสังเกตการปฏิบัติงานของนักศึกษาตามเกณฑ์การประเมินที่กำหนด และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ คะแนนเฉลี่ยของทุกคนคือร้อยละ 82.22 ผ่านตามเกณฑ์ตัวชี้วัดที่ให้นักศึกษามีผลการประเมินระดับคะแนนมากกว่าร้อยละ 70
7. กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการบริหารจัดการดินสำหรับพืชเศรษฐกิจแก่เกษตรกรตำบลทรงคะนอง
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการจัดโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการดินสำหรับพืชเศรษฐกิจแก่เกษตรกร ทั้งนี้ในชุมชนทรงคะนอง มีปัญหาเรื่องดินสะสมมาตั้งแต่หลังเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในปี พ.ศ.2554 ผลผลิตที่ได้น้อยลง อีกทั้งยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้จนมาถึงปัจจุบัน ทางคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงได้จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการบริหารจัดการดินสำหรับพืชเศรษฐกิจแก่เกษตรกรตำบลทรงคะนอง ในวันที่ 14 และ 17 มิถุนายน 2566 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลทรงคะนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยอาจารย์ ดร.เกรียงไกร มีถาวร และนายพิสิษฐ์ ศรีวิจิตรชัย ได้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการดิน แนวการปฏิบัติหลักการจัดการดินให้เหมาะสมสำหรับปลูกผัก แนวทางการตรวจวัดธาตุอาหารพืชในดิน การตรวจสอบอาการขาดธาตุอาหารพืชในพืชปลูก และหลักการวิธีการให้ปุ๋ยและธาตุอาหารพืชอย่างเหมาะสม พร้อมทั้งได้จัดทำคู่มือด้านการจัดการดินให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนองอีกด้วย ทำให้ทางชุมชนได้มีคู่มือในการปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิต และแก้ปัญหาสภาพดิน
8. โครงการการจัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีการอาหารและนวัตกรรมของนักศึกษาชั้นปีที่ 4
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ได้จัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นเวทีให้นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารชั้นปีที่ 4 ได้เรียนรู้ประสบการณ์จริงจากการแสดงผลงานทางวิชาการ โดยผลงานที่นำมาจัดแสดงนี้เป็นผลงานวิจัย ในรายวิชาปัญหาพิเศษ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากฟักทองและธัญพืช การผลิตฟักทองผงกึ่งสำเร็จรูปโดยกระบวนการอบแห้งแบบโฟม-แมท การพัฒนาผลิตภัณฑ์เยลลี่จากมะขามแดง และการใช้แป้งข้าวกล้อง กข 43 ทดแทนแป้งสาลีและเสริมโปรตีนจากรำข้าวสาลีในคุกกี้สิงคโปร์ จัดนิทรรศการในวันที่ 16 ธันวาคม 2565
9. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำระบบควบคุมคุณภาพอุตสาหกรรมอาหาร
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ได้จัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารชั้นปีที่ 4 จำนวน 15 คน มีความรู้และทักษะในการจัดทำระบบคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น GMP HACCP และ BRC ที่มากขึ้นก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร การอบรมจัดขึ้นในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566
10. โครงการการส่งเสริมสมรรถนะการวิเคราะห์คุณภาพอาหารตามมาตรฐาน
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ได้จัดโครงการการส่งเสริมสมรรถนะการวิเคราะห์คุณภาพอาหารตามมาตรฐานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการวิเคราะห์คุณภาพอาหารตามมาตรฐาน เน้นทักษะการใช้เครื่องมือและวิธีวิเคราะห์อาหารทางด้านเคมี และจุลินทรีย์ตามมาตรฐานโดยประเมินผลการวางแผนกระบวนการวิเคราะห์อาหารทางด้านเคมีและจุลินทรีย์ และความรู้ในหลักการและวิธีการใช้เครื่องมือและวิธีวิเคราะห์ที่ถูกต้อง
11. โครงการพัฒนาสมรรถนะการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ได้จัดโครงการพัฒนาสมรรถนะการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร จัดขึ้นในวันที่ 9-11 พฤษภาคม 2566 โดยวิทยากร ผศ.ดร.วันเพ็ญ แสงทองพินิจ การอบรมนี้เป็นการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาชื้นปีที่ 1 โดยการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบทางการเกษตร ผักและผลไม้ เนื้อสัตว์ นม ธัญพืช และนำงานวิจัยมาถ่ายทอดให้นักศึกษา โดยให้นักศึกษาแปรรูปผลิตภัณฑ์จำนวน 8 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ โยเกิร์ต แหนม ไส้กรอกเปรี้ยว ถั่วกรอบแก้ว กล้วยเบรกแตก บะหมี่ใส่ผำ คุกกี้สิงคโปร์จากแป้งข้าวเจ้า และเค้กกล้วยหอม