1. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก (ระยะที่ 2 : การอบรมเชิงปฏิบัติการ) กิจกรรมการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของผู้เรียนเชื่อมโยงหลักเกณฑ์การเลื่อนวิทยฐานะ ว.9 (PA) ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ระบบออนไลน์)
วัตถุประสงค์
1. เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้กับครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา และศิษย์เก่าตามความต้องการของโรงเรียน
2. เพื่ออบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโครงการต่าง ๆ
3. เพื่ออบรมให้ความรู้และเสริมทักษะ (re-skill up-skill and new-skill) ให้กับครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา และศิษย์เก่า นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
4. เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาและคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กสังกัด สพฐ.
โดยระยะที่ 2 นี้ เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการผ่านระบบออนไลน์ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 ระหว่างเวลา 08.30 – 16.30 น. ณ อาคารปฏิบัติการครุศาสตร์และศูนย์สาธิตการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัย
ราชภัฏนครปฐม โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ 875 คน
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความคิดเห็น/พึงพอใจต่อวิทยากรอยู่ในระดับมากที่สุด มีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับมาก
2. การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความคิดเห็น/พึงพอใจด้านสถานที่/ระยะเวลา/การประชาสัมพันธ์/การอำนวยความสะดวกอยู่ในระดับมากที่สุด ภาพรวมผลสัมฤทธิ์ของโครงการบรรลุ วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
หลักฐานที่เกี่ยวข้อง / ภาพประกอบ
2. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
1. กิจกรรมการใช้สื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล การจัดทำคลิปวีดิทัศน์ออกแบบสื่อดิจิทัลสำหรับครู/ผู้บริหาร/ศึกษานิเทศก์ วันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2566
2. กิจกรรมการใช้กระบวนการ PLC สู่การวิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา วันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2566
3. กิจกรรมการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา Active Learning สาระวิชาสังคมศึกษา วันที่ 13-14 มีนาคม 2566
4. กิจกรรมการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและสื่อแอปพลิเคชันสำหรับเด็กปฐมวัย รุ่นที่ 1 วันที่ 13-14 มีนาคม 2566
5. กิจกรรมการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา Active Learning สาระวิชาภาษาไทย วันที่ 20-21 มีนาคม 2566
วัตถุประสงค์
1. เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้กับครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา และศิษย์เก่าตามความต้องการของโรงเรียน
2. เพื่ออบรมให้ความรู้ความเข้าใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโครงการต่าง ๆ
3. เพื่ออบรมให้ความรู้และเสริมทักษะ (re-skill up-skill and new-skill) ให้กับครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา และศิษย์เก่า นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
4. เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาและคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กสังกัด สพฐ. กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
1. โรงเรียนในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย สุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร
2. ครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา และศิษย์เก่า
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
1. กิจกรรมการใช้สื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล การจัดทำคลิปวีดิทัศน์ออกแบบสื่อดิจิทัลสำหรับครู/ผู้บริหาร/ศึกษานิเทศก์ วันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2566 ผลการประเมินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด
2. กิจกรรมการใช้กระบวนการ PLC สู่การวิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา วันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2566 ผลการประเมินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด
3. กิจกรรมการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา Active Learning สาระวิชาสังคมศึกษา วันที่ 13-14 มีนาคม 2566 ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
4. กิจกรรมการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและสื่อแอปพลิเคชันสำหรับเด็กปฐมวัย รุ่นที่ 1 วันที่ 13-14 มีนาคม 2566 ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
5. กิจกรรมการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา Active Learning สาระวิชาภาษาไทย วันที่ 20-21 มีนาคม 2566 ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
หลักฐานที่เกี่ยวข้อง / ภาพประกอบ
1. กิจกรรมการใช้สื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล การจัดทำคลิปวีดิทัศน์ออกแบบสื่อดิจิทัลสำหรับครู/ผู้บริหาร/ศึกษานิเทศก์ วันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2566
2. กิจกรรมการใช้กระบวนการ PLC สู่การวิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา วันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2566
3. กิจกรรมการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา Active Learning สาระวิชาสังคมศึกษา
4. กิจกรรมการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและสื่อแอปพลิเคชันสำหรับเด็กปฐมวัย รุ่นที่ 1 วันที่ 13-14 มีนาคม 2566
5. กิจกรรมการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา Active Learning สาระวิชาภาษาไทย วันที่ 20-21 มีนาคม 2566
3. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก (การอบรมเชิงปฏิบัติการ) กิจกรรมการแนะแนวสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ตามคู่มือ สพฐ.)
วัตถุประสงค์
1. เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้กับครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา และศิษย์เก่า ตามความต้องการของโรงเรียน
2. เพื่ออบรมให้ความรู้ความเข้าใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโครงการต่าง ๆ
3. เพื่ออบรมให้ความรู้และเสริมทักษะ (re-skill up-skill and new-skill) ให้กับครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา และศิษย์เก่า นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
4. เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาและคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กสังกัด สพฐ.
กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
1. โรงเรียนในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ประกอบด้วย สุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร
2. ครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา และศิษย์เก่า
ซึ่งจัดโครงการ ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารปฏิบัติการคณะครุศาสตร์และศูนย์สาธิตการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม วันที่ 12-13 มิถุนายน 2566
หลักฐานที่เกี่ยวข้อง / ภาพประกอบ
4. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก (กิจกรรม การอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้) โดยประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
1. กิจกรรมการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การใช้กระบวนการ PLC สู่การวิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา วันที่ 19 กรกฎาคม 2566
2. กิจกรรมการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้สื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล การจัดทำคลิปวีดิทัศน์ออกแบบสื่อดิจิทัลสำหรับครู/ผู้บริหาร/ศึกษานิเทศก์ วันที่ 20 กรกฎาคม 2566
3. กิจกรรมการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและสื่อแอปพลิเคชันสำหรับเด็กปฐมวัย วันที่ 24 กรกฎาคม 2566
4. กิจกรรมการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การแนะแนวสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ตามคู่มือ สพฐ.) วันที่ 28 สิงหาคม 2566
วัตถุประสงค์
1. เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้กับครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา และศิษย์เก่า ตามความต้องการของโรงเรียน
2. เพื่ออบรมให้ความรู้ความเข้าใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโครงการต่าง ๆ
3. เพื่ออบรมให้ความรู้และเสริมทักษะ (re-skill up-skill and new-skill) ให้กับครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา และศิษย์เก่า นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
4. เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาและคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กสังกัด สพฐ.
กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
1. โรงเรียนในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ประกอบด้วย สุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร
2. ครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา และศิษย์เก่า
ซึ่งจัดโครงการ ณ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารปฏิบัติการคณะครุศาสตร์และศูนย์สาธิตการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม วันที่ 19, 20, 24 กรกฎาคม 2566 และ 28 สิงหาคม 2566
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
1. กิจกรรมการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การใช้กระบวนการ PLC สู่การวิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 มีผู้เข้าร่วม จำนวน 39 คน ผลการประเมินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด
2. กิจกรรมการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้สื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล การจัดทำคลิปวีดิทัศน์ออกแบบสื่อดิจิทัลสำหรับครู/ผู้บริหาร/ศึกษานิเทศก์ วันที่ 20 กรกฎาคม 2566 มีผู้เข้าร่วม 43 คน ผลการประเมินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด
3. กิจกรรมการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและสื่อแอปพลิเคชันสำหรับเด็กปฐมวัย วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 มีผู้เข้าร่วม 38 คน ผลการประเมินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด
4. กิจกรรมการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การแนะแนวสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ตามคู่มือ สพฐ.) วันที่ 28 สิงหาคม 2566 มีผู้เข้าร่วม 37 คน ผลการประเมินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด
หลักฐานที่เกี่ยวข้อง / ภาพประกอบ
1. กิจกรรมการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การใช้กระบวนการ PLC สู่การวิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา วันที่ 19 กรกฎาคม 2566
2. กิจกรรมการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้สื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล การจัดทำคลิปวีดิทัศน์ออกแบบสื่อดิจิทัลสำหรับครู/ผู้บริหาร/ศึกษานิเทศก์ วันที่ 20 กรกฎาคม 2566
3. กิจกรรมการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและสื่อแอปพลิเคชันสำหรับเด็กปฐมวัย วันที่ 24 กรกฎาคม 2566
4. กิจกรรมการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การแนะแนวสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ตามคู่มือ สพฐ.) วันที่ 28 สิงหาคม 2566
5. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของผู้เรียนเชื่อมโยงหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งผู้บริหาร (ว.10/2564) และตำแหน่งศึกษานิเทศก์ (ว.11/2564)
ผู้รับผิดชอบ : คณะครุศาสตร์
วันที่จัด :วันที่ 23 ธันวาคม 2565
สถานที่จัด : ห้องประชุมชั้น 1 อาคารสิริวรปัญญา
วัตถุประสงค์ :
1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนใหผู้้บริหารสถานศึกษา รองผู้ริหารสถานศึกษา และ ศึกษานิเทศก์ มีความรู้ ความเข้าใจ หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในระดับผู้บริหาร รองผู้บริหารและ ศึกษานิเทศก์
2. เพื่ออบรมให้ความรู้และเสริมทักษะ (re skill up skill and new-skill ให้กับผู้บริหาร
สถานศึกษารองผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ บุคลากรทางการศึกษาและศิษย์เก่า นำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
ผู้เข้าร่วมโครงการมีจำนวน 170 คน ผลการประเมินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด บรรลุวัตถุประสงค์โครงการ
หลักฐานที่เกี่ยวข้อง / ภาพประกอบ
6. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับการจัดการเรียนรูเพื่อพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก (ระยะที่ 2 : การอบรมเชิงปฏิบัติการ) ผ่านระบบออนไลน (รุนที่ 2)
ผู้รับผิดชอบ : คณะครุศาสตร์
วันที่จัด : 15 มกราคม 2566
สถานที่จัด : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
วัตถุประสงค์ :
เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้กับครูประจำการ บุคลกรทางการศึกษา และศิษย์เก่าตาม ความต้องการของโรงเรียน ให้ความรู้ความเข้าใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโครงการต่าง ๆ ให้ความรู้และเสริมทักษะ (re-skill up-skill and new-skill) ให้กับครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา และศิษย์เก่า นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน และแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาและคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สพฐ.
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
ผู้เข้าร่วมโครงการมีจำนวน 789 คน ผลการประเมินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก (ระยะที่ 2 : การอบรมเชิงปฏิบัติการ) ผ่านระบบออนไลน์ อยู่ในระดับมากที่สุด
หลักฐานที่เกี่ยวข้อง / ภาพประกอบ
7. การศึกษาสำหรับ SDGs: ในชุมชนที่กว้างขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพการศึกษาและการให้การศึกษาเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยบูรณการการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับนักศึกษาและประชาชนทั่วไป ซึ่งมหาวิทยาลัยได้เปิดโครงการการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (กศ.พป.) เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรการดูแลผู้สูงอายุ โครงการเพิ่มศักยภาพครูให้มีสมรรถนะครูยุคใหม่สำหรับการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 บทเรียนออนไลน์ต่างๆ เป็นต้น เพื่อสนับสนุนให้เกิดการศึกษา เรียนรู้สำหรับบุคคลทั่วไป
1. การศึกษาเพื่อปวงชน (กศ.พป.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเปิดโครงการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (กศ.พป.) ในปี พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน โดยมีสาขาวิชาที่เปิดสอนในปัจจุบันทั้งหมด 11 สาขาวิชา ได้แก่
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
2. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
4. สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน
5. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
6. สาขาวิชานิติศาสตร์
คณะวิทยาการจัดการ
7. สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
8. สาขาวิชาการตลาด
9. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
10. สาขาวิชาการบัญชี
11.สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์)
การจัดการศึกษาเพื่อปวงชน เป็นการจัดการศึกษาที่เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานแล้ว และมีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี มาเรียนต่อยอด เป็นทางเลือกให้ผู้ที่พลาดโอกาสทางการศึกษาในระบบ หรือผู้ที่มีภาระการทำงานแล้ว ได้เข้ามาศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
2. NPRU Online Courses
https://online-courses.npru.ac.th/
มหาวิทยาลัยมีนโยบายผลักดันและสนับสนุนการจัดทำบทเรียนออนไลน์ โดยการให้ทุนสนับสนุนการจัดทำบทเรียนออนไลน์ บนระบบ NPRU Online Courses เพื่อให้นักศึกษา และบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวกและสามารถใช้เพื่อการเรียนได้ตลอดชีวิต
3. หลักสูตรประกาศนียบัตรการดูแลผู้สูงอายุ
คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุภายใต้การดูแลแบบพึ่งตนเองและลดภาวะการพึ่งพาผู้อื่นตามศักยภาพที่ลดลงในระยะยาว จึงพัฒนาหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นหลักสูตรระยะสั้นใช้เวลาเรียน 420 ชั่วโมง (3 เดือน) เพื่อพัฒนาส่งเสริมผู้ดูแลให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเรียนรู้จากสถานการณ์จำลอง และสถานการณ์จริง จนผู้อบรมมีความรู้และสามารถนำความรู้สู่การปฏิบัติจริง ทั้งนี้เพื่อสร้างสังคมกตัญญูทดแทนคุณผู้สูงอายุสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีตราบจนวาระท้ายแห่งชีวิต โดยวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ดังนี้
เพื่อให้ผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรการดูแลผู้สูงอายุ
1. มีความรู้ ความสามารถ และทักษะเบื้องต้นในการดูแลสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุในครอบครัว ชุมชน และสถานบริการสุขภาพได้
2. มีเจตคติที่ดีต่อผู้สูงอายุ มีจิตบริการ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เพื่อการดูแลผู้สูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพ
3. สามารถประสานงานกับบุคคล และหน่วยงาน เพื่อขอความช่วยเหลือด้านการดูแลผู้สูงอายุ
4. มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อหน้าที่ มีระเบียบวินัย และซื่อสัตย์
5. มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในสิทธิของผู้สูงอายุและบุคคล
8. ความมุ่งมั่นต่อการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีความมุ่งมั่นที่จะให้การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนกับนักศึกษาทุกคน ได้เรียนรู้และเข้าใจความสำคัญของการดำเนินชีวิตให้มีความยั่งยืน ดังนี้
1. รายวิชาศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จัดการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษาทำคลิปวิดีโอเกี่ยวกับการปลูกผัก และรายงานผลจากการศึกษาจากภาคปฏิบัติ การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงระดับบุคคล และครอบครัว
https://pws.npru.ac.th/praepat/system/20221214093430_76f758a8fee1d98e27eefd8341377d70.pdf
2. รายวิชาจิตอาสาพัฒนาท้องถิ่น จัดการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษาทำโครงการจิตอาสาพัฒนาท้องถิ่น เช่น โครงการการพัฒนาห้องน้ำ ณ ที่สาธารณะให้น่าใช้ การเก็บขยะเงินล้าน เนรมิตชุมชนให้แสนสะอาด ปันน้ำใจช่วยสุนัขและแมวที่วัดดอนยายหอม
3. รหัสวิชา 4522201 รายวิชาโภชนศาสตร์ Nutrition สาขาวิชาการจัดการอาหาร (Food Management)
คำอธิบายรายวิชา :
ความหมาย ประวัติและความสำคัญของโภชนาการที่มีต่อสุขภาพ หลักการของโภชนศาสตร์ โภชนบัญญัติ ธงและฉลากโภชนาการ ประเภทของสารอาหาร หน้าที่และปริมาณที่ควรได้รับ แหล่งสารอาหาร การย่อยและการดูดซึมสารอาหาร ปัญหาโภชนาการในประเทศไทย หน่วยงานภายในและต่างประเทศที่มีบทบาทในการแก้ปัญหาโภชนาการ
คำอธิบายเพิ่มเติม :
ผู้สอนจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างสุขภาพที่ดี ดังนี้
1. ให้นักศึกษาทุกคนสำรวจสุขภาพของตนเอง ด้วยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว และวิเคราะห์ดัชนีมวลกาย (BMI) จากนั้นให้วิเคราะห์ตนเองว่ามีสุขภาพอย่างไร กรณีที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น มีภาวะอ้วน ผู้สอนจะกระตุ้นให้ผู้เรียนวิเคราะห์ถึงสาเหตุว่าเกิดจากอะไรพร้อมให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ และมีการติดตามผลว่าผู้เรียนสามารถปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิตหรือไม่ และมีสุขภาพที่ดีขึ้นหรือไม่
2. ให้ความรู้เรื่องการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารโดยการอ่านฉลากโภชนาการ เพื่อประโยชน์ในการเลือกซื้อ เลือกบริโภคให้เหมาะสมกับเเต่ละบุคคล รวมถึงให้เห็นความสำคัญของการลดหวานมันเค็ม ซึ่งจะเป็นสิ่งที่จะนำไปสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่เกิดจากการบริโภคอาหาร
3. กิจกรรมเกมส์ “Davinci game จานนี้กี่เเคล” ทำให้นักศึกษาคำนึงถึงปริมาณเเคลอรีที่ได้รับว่ารับประทานอาหารประเภทใด ให้เเคลอรีมากหรือน้อย เพื่อที่จะได้จำกัดปริมาณการบริโภคอย่างเหมาะสม
4. รหัสวิชา 4513207 รายวิชา อาหารเพื่อสุขภาพและความงาม Food for Health and Beauty สาขาวิชา การจัดการอาหาร ( Food Management )
คำอธิบายรายวิชา :
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีสุขภาพดี หลักการบริโภคอาหารเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี อาหารทางเลือก แมคโครไบโอติกส์ อาหารชีวจิต อาหารสมุนไพร อาหารก่อมะเร็ง อาหารต้านมะเร็ง อาหารคลีน อาหารคีโตจีนิกส์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและฟังชันนาลฟูดส์ อาหารดัดแปลงทางพันธุกรรม และอาหารกลุ่มใหม่ที่มีผลต่อสุขภาพและความงาม
คำอธิบายเพิ่มเติม :
ผู้สอนจัดกิจกรรมเสริมสร้างการมีสุขภาพดีและความเป็นอยู่ที่ดี ดังนี้
1. ให้นักศึกษาทดลองทำอาหารเพื่อสุขภาพคนละ 1 เมนูพร้อมนำเสนอ concept idea ว่าอาหารสุขภาพที่ทำเหมาะกับคนกลุ่มใด และมี phytochemical และ zoochemical อะไรบ้างในเมนูนั้นๆ
2. จัดการเรียนการสอนเรื่องการดูแลสุขภาพและความงาม ได้แก่ อาหารลดน้ำหนัก, IF, Ketogenic diet,อาหารชีวจิต, south beach diet, Low CARB, Macrobiotics, CLEAN food, อาหารก่อมะเร็งและต้านมะเร็ง, วิธีการ burned เพื่อลดไขมันในร่างกาย, การออกกำลังกายอย่างถูกวิธี เป็นต้น
3. จัดกิจกรรม Challenge ให้นักศึกษาแข่งกันลดน้ำหนักและ % ไขมันในร่างกาย โดยวัดก่อนเรียนตอนต้นเทอม และวัดอีกครั้งก่อนปิด course โดยให้คะแนนพิเศษสำหรับ นศ. ที่ทำสำเร็จ 5 %
4. จัดกิจกรรม Challenge การวิ่งสะสม km. แข่งกับอาจารย์ผู้สอน
5. จัดกิจกรรมศึกษาดูงาน ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ ได้แก่ ร้านอาหารมังสวิรัติบ้านอิ่มเย็น ร้านอาหารออร์แกนิกส์ ปฐมออร์แกนิกส์
6. ให้นักศึกษาค้นคว้า งานวิจัยที่เกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพมานำเสนอหน้าชั้นเรียนคนละเรื่องเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในห้องเรียน
7. เผยแพร่เมนูอาหารชูสุขภาพที่มีความโดดเด่น น่าสนใจลงในเพจสาขาฯ เพื่อการเผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์หลักสูตร
5. รหัสวิชา 1033210 รายวิชา เกมิฟิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ Gamification for Learning สาขาวิชา เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา (Educational Technology and Innovation)
คำอธิบายรายวิชา :
หลักการ แนวคิด ลักษณะ องค์ประกอบของเกมิฟิเคชั่น การออกแบบและขั้นตอนการพัฒนาเกมิฟิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ การประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนมาใช้ในการออกแบบและพัฒนาเกมิฟิเคชั่น และฝึกปฏิบัติ
คำอธิบายเพิ่มเติม :
รายวิชาเกมิฟิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับแนวคิดเกมิฟิเคชั่น กลไกเกม (Machanics) อารมณ์ของเกม (Emotions) พลวัตของเกม (Dynamics) การพัฒนาเกมิฟิเคชั่นจากกรณีศึกษา การออกแบบเกมิฟิเคชั่น การประยุกต์ใช้เกมิฟิเคชั่นเชิงธุรกิจเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งรายวิชานี้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการกับการพัฒนาท้องถิ่น โดยร่วมมือกับครูประจำวิชาประวัติศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนราชินีบูรณะ ในการพัฒนากิจกรรมเกมิฟิเคชั่น และการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน โดยครูประจำรายวิชาดังกล่าวได้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลด้านเนื้อหาในรายวิชาและพฤติกรรมของนักเรียน เพื่อให้นักศึกษาในรายวิชาเกมิฟิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ได้ออกแบบกิจกรรมเกมิฟิเคชั่นและการใช้เกมเป็นฐาน จากนั้นจึงนำกิจกรรมและเกมที่ออกแบบไปทดลองใช้ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนต่อไป
6. รหัสหัสวิชา 4173704 รายวิชา การพยาบาลฉุกเฉินและการจัดการภัยพิบัติ Emergency Nursing and Disaster Management สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
คำอธิบายรายวิชา :
แนวคิดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน หลักการ การพยาบาลผู้ที่มีปัญหาความเจ็บป่วยฉุกเฉิน ทุกช่วงอายุทั้งระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน การช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุอุบัติภัยและสาธารณภัย ณ จุดเกิดเหตุ การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ การช่วยเหลือเพื่อแก้ไขภาวะ ฉุกเฉิน การบาดเจ็บในระบบต่างๆ ภาวะช็อก และการช่วยฟื้นคืนชีพ การจัดการภัยพิบัติหลักกระบวนการพยาบาล ประเด็นกฎหมายจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
7. รายวิชาการพยาบาลมารดาทารก จัดการเรียนการสอน เรื่อง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ภาวะตกเลือดหลังคลอด
คำอธิบายเพิ่มเติม :
รายวิชาการพยาบาลฉุกเฉินและการจัดการภัยพิบัติ มีการจัดการเรียนการสอน เกี่ยวกับ ภาวะฉุกเฉินระบบหัวใจและหลอดเลือด ภาวะฉุกเฉินทางสูตินรีเวชและการคลอดฉุกเฉิน ภาวะฉุกเฉินระบบต่อมไร้ท่อ หลักการที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลผู้เจ็บป่วย/บาดเจ็บฉุกเฉิน หลักการพยาบาลฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วย / ผู้บาดเจ็บฉุกเฉิน ระยะก่อนถึงโรงพยาบาล ฝึกปฏิบัติการ: คัดแยกผู้บาดเจ็บ / ผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ และ ณ ห้องฉุกเฉิน ภาวะฉุกเฉินทางสิ่งแวดล้อม ฝึกปฏิบัติการ : การประเมิน และการช่วยเหลือระบบไหลเวียนโลหิต : การห้ามเลือด โดยการเย็บแผล ภาวะฉุกเฉินทางผิวหนัง การพยาบาลฉุกเฉิน ฝึกปฏิบัติการ : ประเมินและการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บไฟไหม้/น้ำร้อนลวก/ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นลม ภาวะฉุกเฉินทางระบบทางเดินหายใจ ฝึกปฏิบัติการ : การประเมิน และการช่วยเหลือระบบหายใจ (การเปิดทางเดินหายใจโดยการจัดท่า การใช้อุปกรณ์ และการใช้ Mask Valve Bag with self inflation) ภาวะฉุกเฉินทางจิตเวช การช่วยฟื้นคืนชีพ ฝึกปฏิบัติการ: ช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน BLS, AED ฝึกปฏิบัติการ: การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง (ACLS) ภาวะฉุกเฉินระบบกระดูก ข้อ กล้ามเนื้อและการยกเคลื่อนย้าย ฝึกปฏิบัติการ: ดาม การเคลื่อนย้าย การถอดหมวกกันน้อค การใส่ cervical collar ภาวะฉุกเฉินทางช่องท้อง ในภาคปฏิบัติทางการพยาบาลสอน เรื่องการเกิดอุบัติเหตุจราจรและการให้การช่วยเหลือ มีการฝึกปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บทางจราจรที่สงสัยว่ามีภาวะกระดูกสันหลังส่วนต้นคอได้รับบาดเจ็บร่วมกับแพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลนครปฐม การฝึกปฏิบัติในแต่ละบทบาทหน้าที่ของการเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บกรณีเกิดอุบัติภัยหมู่ โดยใช้ระบบบัญชาการ (Incident command system) การฝึกปฏิบัติการยกเคลื่อนย้ายและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นการนำความรู้จากการเรียนทฤษฎีที่กล่าวไว้ข้างต้น ไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยในสถานการณ์จริง ทั้งมิติการส่งเสริม การป้องกัน การดูแล และการฟื้นฟู
9. การศึกษาสำหรับ SDGs: หลักสูตรเฉพาะด้านความยั่งยืน
ปีการศึกษา 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีหลักสูตรที่เปิดสอนจำนวนทั้งสิ้น 67 หลักสูตร ประกอบด้วย ปริญญาเอก 3 หลักสูตร ปริญญาโท 6 หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิต 1 หลักสูตร ปริญญาตรี 56 หลักสูตร ประกาศนียบัตร 1 หลักสูตร โดยมีรายวิชาที่เปิดสอนทั้งหมด 2,113 รายวิชา มีรายวิชาที่เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งหมด 385 รายวิชา คิดเป็นร้อยละ 18.22