1. โครงการนิติอาสานำพาความรู้สู่ชุมชน
โครงการ “นิติอาสานำพาความรู้สู่ชุมชน” เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้นำความรู้ที่ได้จากชั้นเรียนไปเผยแพร่ให้แก่ชุมชนตามความต้องการของชุมชนโดยวิธีการลงมือปฏิบัติจริงตามแนวทางของการเป็นบัณฑิตนักปฏิบัติ ซึ่งการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงจะทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้เทคนิคและวิธีการนำเสนอ อธิบาย และการนำกฎหมายมาใช้อย่างถูกต้องนอกเหนือไปจากตำราและในชั้นเรียน นอกจากนี้ โครงการฯยังปลูกฝังความเป็นจิตอาสาและรู้จักการเสียสละด้วยการช่วยเหลือสัตว์ที่อ่อนแอและถูกทอดทิ้ง รวมถึงการซึมซาบความเป็นพุทธศาสนิกชนด้วยการช่วยกันทำนุบำรุงพระศาสนา กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ สามารถหล่อหลอมความเป็นนักกฎหมายที่ดี มีความรู้ มีจิตอาสาและมีคุณธรรม และเป็นการเตรียมความพร้อมในการสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติต่อไปในอนาคต โดยจัดโครงการระหว่างวันที่ 11-13 มกราคม 2566 สถานที่ดำเนินการ จำนวน 3 หย่วยงาน คือ
1. องค์การบริหารส่วนตำบลพญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
2. มูลนิธิอนุรักษ์โคกระบือไทยและให้ชีวิตใหม่แก่สัตว์ถูกทอดทิ้ง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
3. วัดถ้ำพระโพธิสัตว์ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย
1 พัฒนาบัณฑิตนักปฏิบัติด้วยการฝึกปฏิบัติ ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้
2 เกิดความร่วมมือในการทำงานเป็นหมู่คณะ
จิตอาสา
1 เกิดความตระหนักรู้และการให้บริการ
2 รู้จักการเป็นผู้ให้ การช่วยเหลือและเสียสละ
ทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม
1 เรียนรู้ศิลปะ วัฒนธรรมผ่านศิลปะโบราณ
2 ขัดเกลาจิตใจผ่านศาสนา
2. โครงการค่ายพัฒนาทักษะสังคมศึกษา “พี่สอนน้อง”
โครงการค่ายพัฒนาทักษะสังคมศึกษา “พี่สอนน้อง”
สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เพื่อให้นักศึกษามีจิตอาสาในการพัฒนาท้องถิ่น มีทักษะในศตวรรษที่ 21 และเพื่อให้นักศึกษามีความรักความผูกพันมีทักษะการทำงานเป็นทีม
3. การสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลต้นไม้มีค่าภายในวัด
การสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลต้นไม้มีค่าภายในวัด
นักศึกษาสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ร่วมกับวัดวังตะกู อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม และองค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกู ร่วมกันสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลต้นไม้มีค่าในวัด ซึ่งการสำรวจและจัดทำข้อมูลดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งการอนุรักษ์และรักษาป่าและแหล่งผลิตอากาศที่บริสุทธิ์ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญและเป็นภารกิจที่สำคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมอีกด้วย
4. การบริหารจัดการและนักสื่อความหมายการท่องเที่ยวเชิงปัญญาสร้างสรรค์ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดห้วยตะโก จังหวัดนครปฐม
การบริหารจัดการและนักสื่อความหมายการท่องเที่ยวเชิงปัญญาสร้างสรรค์ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดห้วยตะโก จังหวัดนครปฐม
ทีมวิจัยโครงการยุวชนอาสา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ปีงบประมาณ 2566 สัมภาษณ์พระครูปฐมวิบูลกิจ (ไพบูลย์วิบูลชาติ) เจ้าอาวาสวัดห้วยตะโก และคณะทำงานพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดห้วยตะโก จังหวัดนครปฐม ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง การบริหารจัดการและนักสื่อความหมายการท่องเที่ยวเชิงปัญญาสร้างสรรค์ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดห้วยตะโก จังหวัดนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างรูปแบบกลไกและระบบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตามแนวคิดและทฤษฎีการจัดการสมัยใหม่ (Planning Organizing Leading Controlling: POLC) โดยใช้เทคนิคกระบวนการบริหารจัดการองค์กรที่ใช้กันทั้ง ในภาครัฐและภาคเอกชนที่มีอํานาจบริหารหน้าที่ และบทบาทการบริหาร (Planning Organizing Staffing Directing Coordinating Repost Budgeting: POSDCoRB