ผลการดำเนินงาน ปี 2024
SDG17 :

1. หน่วยวิจัยเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำ และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

หน่วยวิจัยเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำ และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดตั้งหน่วยวิจัยเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำ และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน เพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ในการจัดการทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นแนวทางให้ผู้บริหารในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับการจัดการพัฒนาทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่นและประเทศที่ยั่งยืน ซึ่งจะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี และความผาสุกของประชากรในท้องถิ่น   ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม   นั่นคือ  "มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม   เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและสังคมไทย  และเป็นแหล่งความรู้ของปวงชน มุ่งจัดการศึกษา  เพื่อพัฒนาคนให้สมบูรณ์ มีคุณค่าด้านการจัดการภูมิปัญญา  และเทคโนโลยีที่เหมาะสมและมุ่งสร้างองค์ความรู้  เพื่อพัฒนาท้องถิ่นและปวงชน"

http://dept.npru.ac.th/cewm/index.php?act=6a992d5529f459a44fee58c733255e86&lntype=editor_top&stm_id=2119

2. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การจัดทำฐานข้อมูลพรรณไม้เพื่อการเรียนรู้ด้วย QR code

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้รับพระราชานุญาติให้เข้าร่วมสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2559 และได้มีการจัดทำแผนแม่บทโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีระยะ 5 ปี (1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2564) โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีการจัดกิจกรรมโดยดำเนินงานตามแผนในกิจกรรมที่ 5 กิจกรรมศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช ในกิจกรรมย่อยฐานข้อมูลการดำเนินงานหน่วยงานร่วมสนองพระราชดำริกิจกรรมย่อยฐานข้อมูลทรัพยากรในท้องถิ่น และกิจกรรมที่ 8 กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยมีเป้าหมายเพื่อถ่ายทอดความรู้และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรของประเทศให้แก่เยาวชนต่อไป

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีพรรณไม้ภายในมหาวิทยาลัยจำนวนมากมายหลายร้อยชนิด และได้มีการจัดทำหนังสือพรรณไม้ จึงมีความจำเป็นต้องสร้างกระบวนการถ่ายทอดความรู้ ด้วยการสร้างการเรียนรู้ให้กับประชาคมและคนภายนอกในรูปแบบที่สามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน จึงมีแนวคิดในการจัดกิจกรรมการจัดทำฐานข้อมูลพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเพื่อการเรียนรู้ด้วย QR code ขึ้น

โดยมีรูปแบบกิจกรรมคือ

- ดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลพรรณไม้เพื่อการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

- ดำเนินการจัดทำระบบจัดเก็บข้อมูลพรรณไม้เพื่อการเรียนรู้ในรูปแบบ Web application

- ดำเนินการจัดทำสื่อถ่ายทอดข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ด้วย QR code ผ่านอุปกรณ์พกพา

 

3. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก (ระยะที่ 2 : การอบรมเชิงปฏิบัติการ) กิจกรรมการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของผู้เรียนเชื่อมโยงหลักเกณฑ์การเลื่อนวิทยฐานะ ว.9 (PA) ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ระบบออนไลน์)

วัตถุประสงค์

                   1. เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้กับครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา และศิษย์เก่าตามความต้องการของโรงเรียน

                   2. เพื่ออบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโครงการต่าง ๆ       

                   3. เพื่ออบรมให้ความรู้และเสริมทักษะ (re-skill up-skill and new-skill) ให้กับครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา และศิษย์เก่า นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน

                   4. เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาและคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กสังกัด สพฐ.  

                   โดยระยะที่ 2 นี้ เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการผ่านระบบออนไลน์ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 ระหว่างเวลา 08.30 – 16.30 น. ณ อาคารปฏิบัติการครุศาสตร์และศูนย์สาธิตการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัย
ราชภัฏนครปฐม โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ 875 คน

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

                    1.  ผู้เข้าร่วมโครงการมีความคิดเห็น/พึงพอใจต่อวิทยากรอยู่ในระดับมากที่สุด มีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับมาก

                    2. การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความคิดเห็น/พึงพอใจด้านสถานที่/ระยะเวลา/การประชาสัมพันธ์/การอำนวยความสะดวกอยู่ในระดับมากที่สุด ภาพรวมผลสัมฤทธิ์ของโครงการบรรลุ วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

หลักฐานที่เกี่ยวข้อง / ภาพประกอบ

4. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

                   1. กิจกรรมการใช้สื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล การจัดทำคลิปวีดิทัศน์ออกแบบสื่อดิจิทัลสำหรับครู/ผู้บริหาร/ศึกษานิเทศก์ วันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2566

                   2. กิจกรรมการใช้กระบวนการ PLC สู่การวิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา วันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2566

                   3. กิจกรรมการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา Active Learning สาระวิชาสังคมศึกษา วันที่ 13-14 มีนาคม 2566

                   4. กิจกรรมการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและสื่อแอปพลิเคชันสำหรับเด็กปฐมวัย รุ่นที่ 1 วันที่ 13-14 มีนาคม 2566

                   5. กิจกรรมการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา Active Learning สาระวิชาภาษาไทย วันที่ 20-21 มีนาคม 2566

 

วัตถุประสงค์

                   1. เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้กับครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา และศิษย์เก่าตามความต้องการของโรงเรียน

                   2. เพื่ออบรมให้ความรู้ความเข้าใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโครงการต่าง ๆ

                   3. เพื่ออบรมให้ความรู้และเสริมทักษะ (re-skill up-skill and new-skill) ให้กับครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา และศิษย์เก่า นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน

                   4. เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาและคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กสังกัด สพฐ. กลุ่มเป้าหมายของโครงการ

                   1. โรงเรียนในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย สุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร

                   2. ครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา และศิษย์เก่า

 

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

                   1. กิจกรรมการใช้สื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล การจัดทำคลิปวีดิทัศน์ออกแบบสื่อดิจิทัลสำหรับครู/ผู้บริหาร/ศึกษานิเทศก์ วันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2566 ผลการประเมินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด

                   2. กิจกรรมการใช้กระบวนการ PLC สู่การวิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา วันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2566 ผลการประเมินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด

                   3. กิจกรรมการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา Active Learning สาระวิชาสังคมศึกษา วันที่ 13-14 มีนาคม 2566 ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

                   4. กิจกรรมการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและสื่อแอปพลิเคชันสำหรับเด็กปฐมวัย รุ่นที่ 1 วันที่ 13-14 มีนาคม 2566 ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

                   5. กิจกรรมการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา Active Learning สาระวิชาภาษาไทย วันที่ 20-21 มีนาคม 2566 ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

 

หลักฐานที่เกี่ยวข้อง / ภาพประกอบ

                   1. กิจกรรมการใช้สื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล การจัดทำคลิปวีดิทัศน์ออกแบบสื่อดิจิทัลสำหรับครู/ผู้บริหาร/ศึกษานิเทศก์ วันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2566

2. กิจกรรมการใช้กระบวนการ PLC สู่การวิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา วันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2566

3. กิจกรรมการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา Active Learning สาระวิชาสังคมศึกษา

4. กิจกรรมการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและสื่อแอปพลิเคชันสำหรับเด็กปฐมวัย รุ่นที่ 1 วันที่ 13-14 มีนาคม 2566

5. กิจกรรมการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา Active Learning สาระวิชาภาษาไทย วันที่ 20-21 มีนาคม 2566   

5. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก (การอบรมเชิงปฏิบัติการ) กิจกรรมการแนะแนวสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ตามคู่มือ สพฐ.)

วัตถุประสงค์

                   1. เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้กับครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา และศิษย์เก่า ตามความต้องการของโรงเรียน

                   2. เพื่ออบรมให้ความรู้ความเข้าใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโครงการต่าง ๆ

                   3. เพื่ออบรมให้ความรู้และเสริมทักษะ (re-skill up-skill and new-skill) ให้กับครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา และศิษย์เก่า นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน

                   4. เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาและคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กสังกัด สพฐ.

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ

                   1. โรงเรียนในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ประกอบด้วย สุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร

                   2. ครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา และศิษย์เก่า

                   ซึ่งจัดโครงการ ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารปฏิบัติการคณะครุศาสตร์และศูนย์สาธิตการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม วันที่ 12-13 มิถุนายน 2566  

หลักฐานที่เกี่ยวข้อง / ภาพประกอบ

6. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก (กิจกรรม          การอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้) โดยประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

                   1. กิจกรรมการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การใช้กระบวนการ PLC สู่การวิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา วันที่ 19 กรกฎาคม 2566

                   2. กิจกรรมการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้สื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล การจัดทำคลิปวีดิทัศน์ออกแบบสื่อดิจิทัลสำหรับครู/ผู้บริหาร/ศึกษานิเทศก์ วันที่ 20 กรกฎาคม 2566

                   3. กิจกรรมการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและสื่อแอปพลิเคชันสำหรับเด็กปฐมวัย วันที่ 24 กรกฎาคม 2566

                   4. กิจกรรมการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การแนะแนวสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ตามคู่มือ สพฐ.) วันที่ 28 สิงหาคม 2566

 

วัตถุประสงค์

                   1. เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้กับครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา และศิษย์เก่า ตามความต้องการของโรงเรียน

                   2. เพื่ออบรมให้ความรู้ความเข้าใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโครงการต่าง ๆ       

                   3. เพื่ออบรมให้ความรู้และเสริมทักษะ (re-skill up-skill and new-skill) ให้กับครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา และศิษย์เก่า นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน

                   4. เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาและคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กสังกัด สพฐ.

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ

                   1. โรงเรียนในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ประกอบด้วย สุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร

                   2. ครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา และศิษย์เก่า

                   ซึ่งจัดโครงการ ณ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารปฏิบัติการคณะครุศาสตร์และศูนย์สาธิตการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม วันที่ 19, 20, 24 กรกฎาคม 2566 และ 28 สิงหาคม 2566

 

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

                   1. กิจกรรมการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การใช้กระบวนการ PLC สู่การวิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 มีผู้เข้าร่วม จำนวน 39 คน ผลการประเมินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด

                   2. กิจกรรมการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้สื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล การจัดทำคลิปวีดิทัศน์ออกแบบสื่อดิจิทัลสำหรับครู/ผู้บริหาร/ศึกษานิเทศก์ วันที่ 20 กรกฎาคม 2566 มีผู้เข้าร่วม 43 คน ผลการประเมินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด

                   3. กิจกรรมการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและสื่อแอปพลิเคชันสำหรับเด็กปฐมวัย วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 มีผู้เข้าร่วม 38 คน ผลการประเมินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด

                   4. กิจกรรมการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การแนะแนวสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ตามคู่มือ สพฐ.) วันที่ 28 สิงหาคม 2566 มีผู้เข้าร่วม 37 คน ผลการประเมินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด

 

หลักฐานที่เกี่ยวข้อง / ภาพประกอบ

                   1. กิจกรรมการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การใช้กระบวนการ PLC สู่การวิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา วันที่ 19 กรกฎาคม 2566

2. กิจกรรมการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้สื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล การจัดทำคลิปวีดิทัศน์ออกแบบสื่อดิจิทัลสำหรับครู/ผู้บริหาร/ศึกษานิเทศก์ วันที่ 20 กรกฎาคม 2566

3. กิจกรรมการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและสื่อแอปพลิเคชันสำหรับเด็กปฐมวัย วันที่ 24 กรกฎาคม 2566

4. กิจกรรมการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การแนะแนวสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ตามคู่มือ สพฐ.) วันที่ 28 สิงหาคม 2566

7. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของผู้เรียนเชื่อมโยงหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งผู้บริหาร (ว.10/2564) และตำแหน่งศึกษานิเทศก์ (ว.11/2564)

ผู้รับผิดชอบ : คณะครุศาสตร์

วันที่จัด :วันที่ 23 ธันวาคม 2565

          สถานที่จัด : ห้องประชุมชั้น 1 อาคารสิริวรปัญญา

                   วัตถุประสงค์ :

                   1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนใหผู้้บริหารสถานศึกษา รองผู้ริหารสถานศึกษา และ ศึกษานิเทศก์ มีความรู้ ความเข้าใจ หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในระดับผู้บริหาร รองผู้บริหารและ ศึกษานิเทศก์

                   2. เพื่ออบรมให้ความรู้และเสริมทักษะ (re skill up skill and new-skill ให้กับผู้บริหาร

สถานศึกษารองผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ บุคลากรทางการศึกษาและศิษย์เก่า นำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน   

 

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

ผู้เข้าร่วมโครงการมีจำนวน 170 คน ผลการประเมินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด บรรลุวัตถุประสงค์โครงการ

หลักฐานที่เกี่ยวข้อง / ภาพประกอบ

   

8. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับการจัดการเรียนรูเพื่อพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก (ระยะที่ 2 : การอบรมเชิงปฏิบัติการ) ผ่านระบบออนไลน (รุนที่ 2)

ผู้รับผิดชอบ : คณะครุศาสตร์

วันที่จัด :  15 มกราคม 2566

สถานที่จัด : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

วัตถุประสงค์ :

          เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้กับครูประจำการ บุคลกรทางการศึกษา และศิษย์เก่าตาม ความต้องการของโรงเรียน ให้ความรู้ความเข้าใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโครงการต่าง ๆ ให้ความรู้และเสริมทักษะ  (re-skill up-skill and new-skill) ให้กับครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษา และศิษย์เก่า นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน และแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาและคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สพฐ.

 

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

          ผู้เข้าร่วมโครงการมีจำนวน 789 คน  ผลการประเมินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก (ระยะที่ 2 : การอบรมเชิงปฏิบัติการ) ผ่านระบบออนไลน์ อยู่ในระดับมากที่สุด

 

หลักฐานที่เกี่ยวข้อง / ภาพประกอบ

9. การศึกษาสำหรับ SDGs: ในชุมชนที่กว้างขึ้น

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพการศึกษาและการให้การศึกษาเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน  โดยบูรณการการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับนักศึกษาและประชาชนทั่วไป ซึ่งมหาวิทยาลัยได้เปิดโครงการการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (กศ.พป.) เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรการดูแลผู้สูงอายุ โครงการเพิ่มศักยภาพครูให้มีสมรรถนะครูยุคใหม่สำหรับการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 บทเรียนออนไลน์ต่างๆ เป็นต้น เพื่อสนับสนุนให้เกิดการศึกษา เรียนรู้สำหรับบุคคลทั่วไป

 

1. การศึกษาเพื่อปวงชน (กศ.พป.)

         มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเปิดโครงการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (กศ.พป.) ในปี พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน โดยมีสาขาวิชาที่เปิดสอนในปัจจุบันทั้งหมด 11 สาขาวิชา ได้แก่ 

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

         1. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ 

         2. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 

         3. สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 

     คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

         4. สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน 

         5. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ 

         6. สาขาวิชานิติศาสตร์ 

คณะวิทยาการจัดการ

         7. สาขาวิชาการจัดการทั่วไป 

         8. สาขาวิชาการตลาด 

         9. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 

         10. สาขาวิชาการบัญชี 

         11.สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์)

          การจัดการศึกษาเพื่อปวงชน เป็นการจัดการศึกษาที่เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานแล้ว และมีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี มาเรียนต่อยอด เป็นทางเลือกให้ผู้ที่พลาดโอกาสทางการศึกษาในระบบ หรือผู้ที่มีภาระการทำงานแล้ว ได้เข้ามาศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

2. NPRU Online Courses

https://online-courses.npru.ac.th/

          มหาวิทยาลัยมีนโยบายผลักดันและสนับสนุนการจัดทำบทเรียนออนไลน์ โดยการให้ทุนสนับสนุนการจัดทำบทเรียนออนไลน์ บนระบบ NPRU Online Courses เพื่อให้นักศึกษา และบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวกและสามารถใช้เพื่อการเรียนได้ตลอดชีวิต

3. หลักสูตรประกาศนียบัตรการดูแลผู้สูงอายุ

          คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุภายใต้การดูแลแบบพึ่งตนเองและลดภาวะการพึ่งพาผู้อื่นตามศักยภาพที่ลดลงในระยะยาว จึงพัฒนาหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นหลักสูตรระยะสั้นใช้เวลาเรียน 420 ชั่วโมง (3 เดือน) เพื่อพัฒนาส่งเสริมผู้ดูแลให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเรียนรู้จากสถานการณ์จำลอง และสถานการณ์จริง จนผู้อบรมมีความรู้และสามารถนำความรู้สู่การปฏิบัติจริง ทั้งนี้เพื่อสร้างสังคมกตัญญูทดแทนคุณผู้สูงอายุสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีตราบจนวาระท้ายแห่งชีวิต โดยวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ดังนี้

          เพื่อให้ผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรการดูแลผู้สูงอายุ

          1. มีความรู้ ความสามารถ และทักษะเบื้องต้นในการดูแลสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุในครอบครัว ชุมชน และสถานบริการสุขภาพได้

          2. มีเจตคติที่ดีต่อผู้สูงอายุ มีจิตบริการ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เพื่อการดูแลผู้สูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพ

          3. สามารถประสานงานกับบุคคล และหน่วยงาน เพื่อขอความช่วยเหลือด้านการดูแลผู้สูงอายุ

          4. มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อหน้าที่ มีระเบียบวินัย และซื่อสัตย์ 

          5. มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในสิทธิของผู้สูงอายุและบุคคล

10. การทำงานร่วมกันระหว่างประเทศเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมสนับสนุนให้มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางด้านวิชาการ การแลกเปลี่ยนนักศึกษา คณาจารย์ งานวิจัย เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้ทำงานร่วมกันระหว่างประเทศกับสถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศ อาทิ สถาบันอุดมศึกษาในสาธารณรัฐประชาชนจีน สถาบันอุดมศึกษาในไต้หวัน เป็นต้น ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ดำเนินกิจกรรมความร่วมมือระหว่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในด้านการศึกษาและการวิจัย โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ประชุมหารือร่วมกับผู้แทนจาก Times Higher Education (THE)

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยคณะทำงานส่งเสริมและยกระดับสถาบันอุดมศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานในระดับสากล ได้จัดประชุมหารือร่วมกับผู้แทนจาก Times Higher Education (THE) เพื่อนำเสนอผลสรุปการจัดทำแบบสำรวจนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของไทยในวันอังคารที่ 17 ตุลาคม 2566 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

11. โครงการนิติอาสานำพาความรู้สู่ชุมชน

โครงการ “นิติอาสานำพาความรู้สู่ชุมชน” เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้นำความรู้ที่ได้จากชั้นเรียนไปเผยแพร่ให้แก่ชุมชนตามความต้องการของชุมชนโดยวิธีการลงมือปฏิบัติจริงตามแนวทางของการเป็นบัณฑิตนักปฏิบัติ ซึ่งการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงจะทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้เทคนิคและวิธีการนำเสนอ อธิบาย และการนำกฎหมายมาใช้อย่างถูกต้องนอกเหนือไปจากตำราและในชั้นเรียน นอกจากนี้ โครงการฯยังปลูกฝังความเป็นจิตอาสาและรู้จักการเสียสละด้วยการช่วยเหลือสัตว์ที่อ่อนแอและถูกทอดทิ้ง รวมถึงการซึมซาบความเป็นพุทธศาสนิกชนด้วยการช่วยกันทำนุบำรุงพระศาสนา กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ สามารถหล่อหลอมความเป็นนักกฎหมายที่ดี มีความรู้ มีจิตอาสาและมีคุณธรรม และเป็นการเตรียมความพร้อมในการสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติต่อไปในอนาคต โดยจัดโครงการระหว่างวันที่ 11-13 มกราคม 2566 สถานที่ดำเนินการ จำนวน 3 หย่วยงาน คือ

1. องค์การบริหารส่วนตำบลพญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

2. มูลนิธิอนุรักษ์โคกระบือไทยและให้ชีวิตใหม่แก่สัตว์ถูกทอดทิ้ง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

3. วัดถ้ำพระโพธิสัตว์ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย

1 พัฒนาบัณฑิตนักปฏิบัติด้วยการฝึกปฏิบัติ ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้

2 เกิดความร่วมมือในการทำงานเป็นหมู่คณะ

จิตอาสา

1 เกิดความตระหนักรู้และการให้บริการ

2 รู้จักการเป็นผู้ให้ การช่วยเหลือและเสียสละ

ทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม

1 เรียนรู้ศิลปะ วัฒนธรรมผ่านศิลปะโบราณ

2 ขัดเกลาจิตใจผ่านศาสนา

12. โครงการค่ายพัฒนาทักษะสังคมศึกษา “พี่สอนน้อง”

โครงการค่ายพัฒนาทักษะสังคมศึกษา “พี่สอนน้อง”

สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เพื่อให้นักศึกษามีจิตอาสาในการพัฒนาท้องถิ่น มีทักษะในศตวรรษที่ 21 และเพื่อให้นักศึกษามีความรักความผูกพันมีทักษะการทำงานเป็นทีม 

13. ความมุ่งมั่นต่อการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีความมุ่งมั่นที่จะให้การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนกับนักศึกษาทุกคน ได้เรียนรู้และเข้าใจความสำคัญของการดำเนินชีวิตให้มีความยั่งยืน ดังนี้

1. รายวิชาศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จัดการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษาทำคลิปวิดีโอเกี่ยวกับการปลูกผัก และรายงานผลจากการศึกษาจากภาคปฏิบัติ การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงระดับบุคคล และครอบครัว

https://pws.npru.ac.th/praepat/system/20221214093430_76f758a8fee1d98e27eefd8341377d70.pdf

 

2. รายวิชาจิตอาสาพัฒนาท้องถิ่น จัดการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษาทำโครงการจิตอาสาพัฒนาท้องถิ่น เช่น โครงการการพัฒนาห้องน้ำ ณ ที่สาธารณะให้น่าใช้ การเก็บขยะเงินล้าน เนรมิตชุมชนให้แสนสะอาด ปันน้ำใจช่วยสุนัขและแมวที่วัดดอนยายหอม

 

3. รหัสวิชา 4522201 รายวิชาโภชนศาสตร์ Nutrition สาขาวิชาการจัดการอาหาร (Food Management)

คำอธิบายรายวิชา :

          ความหมาย ประวัติและความสำคัญของโภชนาการที่มีต่อสุขภาพ หลักการของโภชนศาสตร์ โภชนบัญญัติ ธงและฉลากโภชนาการ ประเภทของสารอาหาร หน้าที่และปริมาณที่ควรได้รับ แหล่งสารอาหาร การย่อยและการดูดซึมสารอาหาร ปัญหาโภชนาการในประเทศไทย หน่วยงานภายในและต่างประเทศที่มีบทบาทในการแก้ปัญหาโภชนาการ

          คำอธิบายเพิ่มเติม :

           ผู้สอนจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างสุขภาพที่ดี ดังนี้ 

 1. ให้นักศึกษาทุกคนสำรวจสุขภาพของตนเอง ด้วยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว และวิเคราะห์ดัชนีมวลกาย (BMI) จากนั้นให้วิเคราะห์ตนเองว่ามีสุขภาพอย่างไร กรณีที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น มีภาวะอ้วน ผู้สอนจะกระตุ้นให้ผู้เรียนวิเคราะห์ถึงสาเหตุว่าเกิดจากอะไรพร้อมให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ และมีการติดตามผลว่าผู้เรียนสามารถปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิตหรือไม่ และมีสุขภาพที่ดีขึ้นหรือไม่ 

           2. ให้ความรู้เรื่องการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารโดยการอ่านฉลากโภชนาการ เพื่อประโยชน์ในการเลือกซื้อ เลือกบริโภคให้เหมาะสมกับเเต่ละบุคคล รวมถึงให้เห็นความสำคัญของการลดหวานมันเค็ม ซึ่งจะเป็นสิ่งที่จะนำไปสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่เกิดจากการบริโภคอาหาร 

           3. กิจกรรมเกมส์ “Davinci game จานนี้กี่เเคล” ทำให้นักศึกษาคำนึงถึงปริมาณเเคลอรีที่ได้รับว่ารับประทานอาหารประเภทใด ให้เเคลอรีมากหรือน้อย เพื่อที่จะได้จำกัดปริมาณการบริโภคอย่างเหมาะสม

 

4. รหัสวิชา 4513207 รายวิชา อาหารเพื่อสุขภาพและความงาม Food for Health and Beauty สาขาวิชา การจัดการอาหาร ( Food Management )

คำอธิบายรายวิชา :

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีสุขภาพดี หลักการบริโภคอาหารเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี อาหารทางเลือก แมคโครไบโอติกส์ อาหารชีวจิต อาหารสมุนไพร อาหารก่อมะเร็ง อาหารต้านมะเร็ง อาหารคลีน อาหารคีโตจีนิกส์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและฟังชันนาลฟูดส์ อาหารดัดแปลงทางพันธุกรรม และอาหารกลุ่มใหม่ที่มีผลต่อสุขภาพและความงาม

          คำอธิบายเพิ่มเติม :
          ผู้สอนจัดกิจกรรมเสริมสร้างการมีสุขภาพดีและความเป็นอยู่ที่ดี ดังนี้ 

          1. ให้นักศึกษาทดลองทำอาหารเพื่อสุขภาพคนละ 1 เมนูพร้อมนำเสนอ concept idea ว่าอาหารสุขภาพที่ทำเหมาะกับคนกลุ่มใด และมี phytochemical และ zoochemical อะไรบ้างในเมนูนั้นๆ 

          2. จัดการเรียนการสอนเรื่องการดูแลสุขภาพและความงาม ได้แก่ อาหารลดน้ำหนัก, IF, Ketogenic diet,อาหารชีวจิต, south beach diet, Low CARB, Macrobiotics, CLEAN food, อาหารก่อมะเร็งและต้านมะเร็ง, วิธีการ burned เพื่อลดไขมันในร่างกาย, การออกกำลังกายอย่างถูกวิธี เป็นต้น

3. จัดกิจกรรม Challenge ให้นักศึกษาแข่งกันลดน้ำหนักและ % ไขมันในร่างกาย โดยวัดก่อนเรียนตอนต้นเทอม และวัดอีกครั้งก่อนปิด course โดยให้คะแนนพิเศษสำหรับ นศ. ที่ทำสำเร็จ 5 %

          4. จัดกิจกรรม Challenge การวิ่งสะสม km. แข่งกับอาจารย์ผู้สอน

          5. จัดกิจกรรมศึกษาดูงาน ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ ได้แก่ ร้านอาหารมังสวิรัติบ้านอิ่มเย็น ร้านอาหารออร์แกนิกส์ ปฐมออร์แกนิกส์

          6. ให้นักศึกษาค้นคว้า งานวิจัยที่เกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพมานำเสนอหน้าชั้นเรียนคนละเรื่องเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในห้องเรียน

          7. เผยแพร่เมนูอาหารชูสุขภาพที่มีความโดดเด่น น่าสนใจลงในเพจสาขาฯ เพื่อการเผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์หลักสูตร

 

        5. รหัสวิชา 1033210 รายวิชา เกมิฟิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ Gamification for Learning สาขาวิชา เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา (Educational Technology and Innovation)

คำอธิบายรายวิชา :

          หลักการ แนวคิด ลักษณะ องค์ประกอบของเกมิฟิเคชั่น การออกแบบและขั้นตอนการพัฒนาเกมิฟิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ การประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนมาใช้ในการออกแบบและพัฒนาเกมิฟิเคชั่น และฝึกปฏิบัติ

          คำอธิบายเพิ่มเติม :

          รายวิชาเกมิฟิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับแนวคิดเกมิฟิเคชั่น กลไกเกม (Machanics) อารมณ์ของเกม (Emotions) พลวัตของเกม (Dynamics) การพัฒนาเกมิฟิเคชั่นจากกรณีศึกษา การออกแบบเกมิฟิเคชั่น การประยุกต์ใช้เกมิฟิเคชั่นเชิงธุรกิจเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งรายวิชานี้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการกับการพัฒนาท้องถิ่น โดยร่วมมือกับครูประจำวิชาประวัติศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนราชินีบูรณะ ในการพัฒนากิจกรรมเกมิฟิเคชั่น และการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน โดยครูประจำรายวิชาดังกล่าวได้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลด้านเนื้อหาในรายวิชาและพฤติกรรมของนักเรียน เพื่อให้นักศึกษาในรายวิชาเกมิฟิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ได้ออกแบบกิจกรรมเกมิฟิเคชั่นและการใช้เกมเป็นฐาน จากนั้นจึงนำกิจกรรมและเกมที่ออกแบบไปทดลองใช้ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนต่อไป 

6. รหัสหัสวิชา 4173704 รายวิชา การพยาบาลฉุกเฉินและการจัดการภัยพิบัติ Emergency Nursing and Disaster Management สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

   

คำอธิบายรายวิชา :

          แนวคิดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน หลักการ การพยาบาลผู้ที่มีปัญหาความเจ็บป่วยฉุกเฉิน ทุกช่วงอายุทั้งระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน การช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุอุบัติภัยและสาธารณภัย ณ จุดเกิดเหตุ การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ การช่วยเหลือเพื่อแก้ไขภาวะ ฉุกเฉิน การบาดเจ็บในระบบต่างๆ ภาวะช็อก และการช่วยฟื้นคืนชีพ การจัดการภัยพิบัติหลักกระบวนการพยาบาล ประเด็นกฎหมายจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

7. รายวิชาการพยาบาลมารดาทารก จัดการเรียนการสอน เรื่อง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ภาวะตกเลือดหลังคลอด

          คำอธิบายเพิ่มเติม :

          รายวิชาการพยาบาลฉุกเฉินและการจัดการภัยพิบัติ มีการจัดการเรียนการสอน เกี่ยวกับ ภาวะฉุกเฉินระบบหัวใจและหลอดเลือด ภาวะฉุกเฉินทางสูตินรีเวชและการคลอดฉุกเฉิน ภาวะฉุกเฉินระบบต่อมไร้ท่อ หลักการที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลผู้เจ็บป่วย/บาดเจ็บฉุกเฉิน หลักการพยาบาลฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วย / ผู้บาดเจ็บฉุกเฉิน ระยะก่อนถึงโรงพยาบาล ฝึกปฏิบัติการ: คัดแยกผู้บาดเจ็บ / ผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ และ ณ ห้องฉุกเฉิน ภาวะฉุกเฉินทางสิ่งแวดล้อม ฝึกปฏิบัติการ : การประเมิน และการช่วยเหลือระบบไหลเวียนโลหิต : การห้ามเลือด โดยการเย็บแผล ภาวะฉุกเฉินทางผิวหนัง การพยาบาลฉุกเฉิน ฝึกปฏิบัติการ : ประเมินและการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บไฟไหม้/น้ำร้อนลวก/ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นลม ภาวะฉุกเฉินทางระบบทางเดินหายใจ ฝึกปฏิบัติการ : การประเมิน และการช่วยเหลือระบบหายใจ (การเปิดทางเดินหายใจโดยการจัดท่า การใช้อุปกรณ์ และการใช้ Mask Valve Bag with self inflation) ภาวะฉุกเฉินทางจิตเวช การช่วยฟื้นคืนชีพ ฝึกปฏิบัติการ: ช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน BLS, AED ฝึกปฏิบัติการ: การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง (ACLS) ภาวะฉุกเฉินระบบกระดูก ข้อ กล้ามเนื้อและการยกเคลื่อนย้าย  ฝึกปฏิบัติการ: ดาม การเคลื่อนย้าย การถอดหมวกกันน้อค การใส่ cervical collar ภาวะฉุกเฉินทางช่องท้อง ในภาคปฏิบัติทางการพยาบาลสอน เรื่องการเกิดอุบัติเหตุจราจรและการให้การช่วยเหลือ มีการฝึกปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บทางจราจรที่สงสัยว่ามีภาวะกระดูกสันหลังส่วนต้นคอได้รับบาดเจ็บร่วมกับแพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลนครปฐม การฝึกปฏิบัติในแต่ละบทบาทหน้าที่ของการเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บกรณีเกิดอุบัติภัยหมู่ โดยใช้ระบบบัญชาการ (Incident command system) การฝึกปฏิบัติการยกเคลื่อนย้ายและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นการนำความรู้จากการเรียนทฤษฎีที่กล่าวไว้ข้างต้น ไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยในสถานการณ์จริง ทั้งมิติการส่งเสริม การป้องกัน การดูแล และการฟื้นฟู

14. การศึกษาสำหรับ SDGs: หลักสูตรเฉพาะด้านความยั่งยืน

ปีการศึกษา 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีหลักสูตรที่เปิดสอนจำนวนทั้งสิ้น 67 หลักสูตร ประกอบด้วย ปริญญาเอก 3 หลักสูตร ปริญญาโท 6 หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิต 1 หลักสูตร ปริญญาตรี 56 หลักสูตร ประกาศนียบัตร 1 หลักสูตร โดยมีรายวิชาที่เปิดสอนทั้งหมด 2,113 รายวิชา มีรายวิชาที่เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งหมด 385 รายวิชา คิดเป็นร้อยละ 18.22

 

15. แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดอันดับ THE University Impact

                    มหาวิทยาลัยตระหนักถึงความสำคัญในการดำเนินงานร่วมกันเพื่อให้มีแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยในการเข้าร่วมการจัดอันดับ Times Higher Education Impact Ranking ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) มหาวิทยาลัยจึงพิจารณาจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการจัดอันดับ THE University Impact Ranking โดยให้ผู้แทนแต่ละหน่วยงานเข้าร่วมเป็นคณะทำงานดังกล่าวฯ เพื่อให้แต่ละหน่วยงานมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินโครงการ/กิจกรรม และการรายงานการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

16. การทำงานร่วมกันเพื่อแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย Sustainable Development Solutions Network Thailand (SDSN THAILAND)  เพื่อทำงานร่วมกับสมาชิกเครือข่ายในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งหาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายที่ได้วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย Sustainable Development Solutions Network Thailand (SDSN THAILAND)  

มหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย Sustainable Development Solutions Network Thailand (SDSN THAILAND)  เพื่อทำงานร่วมกับสมาชิกเครือข่ายในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

https://www.unsdsn.org/thailand

17. ประชุม เครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนประเทศไทย SDSN Thailand

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้เข้าร่วมประชุม เครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนประเทศไทย SDSN Thailand เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2566  โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

          1. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการปรึกษาหารือข้ามภาคส่วน

          2. ผลักดันให้เกิดเครือข่ายเชิงประเด็นเพื่อกี่แก้ปัญหาความยั่งยืน

          3. พัฒนาฐานข้อมูลและทำวิจัยเชิงนโยบายเพื่อการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย

          4. เสริมศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทยในการวิจัยและการเรียนการสอนด้านความยั่งยืน

18. บทสนทนาข้ามภาคส่วนเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย Sustainable Development Solutions Network Thailand (SDSN THAILAND) และหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต่างๆ เพื่อร่วมทำงานวิจัยเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อน SDGs ในประเทศไทย พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน พัฒนาบัณฑิต พัฒนางานวิชาการและงานด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งเพื่อให้มีการริเริ่มและมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านวิชาการ งานวิจัย การเรียนการสอน  การบริการวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยสรุปได้ดังนี้

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเข้าร่วมประชุมกับศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

          ตามที่มหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย Sustainable Development Solutions Network Thailand (SDSN THAILAND)  ทาง SDSN THAILAND ได้จัดประชุมเพื่อรับฟังแนวทางการดำเนินงานของเครือข่ายฯ ประจำปี 2565 และร่วมแลกเปลี่ยนการดำเนินงานในปัจจุบันของสมาชิกแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งร่วมปรึกษาหารือประเด็นสำคัญต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการเครือข่ายฯ ในวันที่ 19 พฤกษาคม 2565 เวลา 10.00-12.00 น. ผ่านระบบ Zoom Online

 

19. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15 ภายใต้หัวข้อ “วิจัยและพัฒนา บนฐานเศรษฐกิจ BCG สู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน”

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15 ภายใต้หัวข้อ “วิจัยและพัฒนา บนฐานเศรษฐกิจ BCG สู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” ระหว่างวันที่ 13 - 14 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุม Dhavaravati 1 โรงแรมไมด้า ทวารวดี แกรนด์ นครปฐม จังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนทางวิชาการ ระหว่างคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษา ทั้งจากหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย นำเสนอแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาการจากงานวิจัยและเผยแพร่ผลงานทาง วิชาการสู่สาธารณะ ซึ่งจะทำให้สามารถขับเคลื่อนในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านการวิจัยในสาขาต่าง ๆ ให้กว้างขวางในอนาคต และเป็นประโยชน์ให้ผู้ที่สนใจสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการศึกษาวิจัยและพัฒนาต่อไป

https://dept.npru.ac.th/conference15/

https://dept.npru.ac.th/conference15/data/files/NPRU_program%20book.pdf

20. บรรยายพิเศษ หัวข้อ “Sustainable Development Goals (SDGs) Seminar”

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เข้าร่วมฟังบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ SWU Sustainable Development Goals (SDGs) Seminar ในวันพุธที่ 18 ตุลาคม 2566 เวลา 09.00 – 10.45 น. จัดโดยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ซึ่งกิจกรรมจะมีการบรรยายพิเศษในหัวข้อที่น่าสนใจดังนี้

1. Global SDGs projects and green jobs

โดย Ms. Nitchakan Daramatat United Nations Development Programme – UNDP

 

2. How to Implement the Global SDGs projects through SkillUp, ASEAN's e-learning platform

โดย Mr. Jonas Avermann, CSR Projects Lead ASEAN จาก Umbrella Education

 

21. ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนและรัฐบาลสำหรับนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืน

งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The International Conference on Applied Sciences and Material Applications (ICASMA)

                   รศ.ดร.จักรพงษ์ แก้วขาว และ ผศ.ดร.ปิยะชาติ มีจิตรไพศาล และนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก จาก Center of Excellence in Glass Technology and Materials Science (CEGM), NPRU สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย ในงาน The International Conference on Applied Sciences and Material Applications (ICASMA) ระหว่างวันที่ 11 - 14 กันยายน 2566 ณ เมือง Medan จังหวัด North Sumatera ประเทศ อินโดนีเซีย

      

 

22. งานประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ "ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 7" วิจัย นวัตกรรม พลิกโฉมการพัฒนาท้องถิ่นสู่ "สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน"

งานประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ "ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 7" วิจัย นวัตกรรม พลิกโฉมการพัฒนาท้องถิ่นสู่ "สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน"

                   รศ.ดร.จักรพงษ์ แก้วขาว, รศ.ดร.ภัทรวจี ยะสะกะ, รศ.ดร.กิติพันธ์ บุญอินทร์, ผศ.ดร.ปิยะชาติ มีจิตรไพศาล และ อ.ดร.นวลทิพย์ วันทนะ พร้อมกับนักศึกษาปริญญาเอกและนักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาฟิสิกส์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ "ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 7" วิจัย นวัตกรรม พลิกโฉมการพัฒนาท้องถิ่นสู่ "สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน" ณ ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร  จังหวัด สกลนคร ระหว่างวันที่  13 – 16  เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 

   

23. การเข้าร่วมสมาชิกเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย Sustainable Development Solutions Network Thailand (SDSN THAILAND)  

สมาชิกเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย Sustainable Development Solutions Network Thailand (SDSN THAILAND)  

https://www.unsdsn.org/thailand

          มหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย Sustainable Development Solutions Network Thailand (SDSN THAILAND)  เพื่อทำงานร่วมกับสมาชิกเครือข่ายในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

24. ประชุมเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนประเทศไทย SDSN Thailand

ประชุมเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนประเทศไทย SDSN Thailand

          มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้เข้าร่วมประชุมเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนประเทศไทย SDSN Thailand เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2566 

โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

          1. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการปรึกษาหารือข้ามภาคส่วน

          2. ผลักดันให้เกิดเครือข่ายเชิงประเด็นเพื่อกี่แก้ปัญหาความยั่งยืน

          3. พัฒนาฐานข้อมูลและทำวิจัยเชิงนโยบายเพื่อการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย

          4. เสริมศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทยในการวิจัยและการเรียนการสอนด้านความยั่งยืน

25. การสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลต้นไม้มีค่าภายในวัด

การสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลต้นไม้มีค่าภายในวัด

นักศึกษาสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ร่วมกับวัดวังตะกู อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม และองค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกู ร่วมกันสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลต้นไม้มีค่าในวัด  ซึ่งการสำรวจและจัดทำข้อมูลดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น  ซึ่งการอนุรักษ์และรักษาป่าและแหล่งผลิตอากาศที่บริสุทธิ์ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญและเป็นภารกิจที่สำคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมอีกด้วย

รายละเอียดเพิ่มเติม

26. การบริหารจัดการและนักสื่อความหมายการท่องเที่ยวเชิงปัญญาสร้างสรรค์ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดห้วยตะโก จังหวัดนครปฐม

การบริหารจัดการและนักสื่อความหมายการท่องเที่ยวเชิงปัญญาสร้างสรรค์ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดห้วยตะโก จังหวัดนครปฐม

ทีมวิจัยโครงการยุวชนอาสา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ปีงบประมาณ 2566 สัมภาษณ์พระครูปฐมวิบูลกิจ (ไพบูลย์วิบูลชาติ) เจ้าอาวาสวัดห้วยตะโก และคณะทำงานพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดห้วยตะโก จังหวัดนครปฐม ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง การบริหารจัดการและนักสื่อความหมายการท่องเที่ยวเชิงปัญญาสร้างสรรค์ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดห้วยตะโก จังหวัดนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างรูปแบบกลไกและระบบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตามแนวคิดและทฤษฎีการจัดการสมัยใหม่ (Planning Organizing Leading Controlling: POLC) โดยใช้เทคนิคกระบวนการบริหารจัดการองค์กรที่ใช้กันทั้ง ในภาครัฐและภาคเอกชนที่มีอํานาจบริหารหน้าที่ และบทบาทการบริหาร (Planning Organizing Staffing Directing Coordinating Repost Budgeting: POSDCoRB

รายละเอียดเพิ่มเติม
 

27. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU กับสถาบันอุดมศึกษาในสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 3 แห่ง คือ 1) Kunming University 2) Yunnan Normal University 3) Southwest Forestry University  เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัย รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนนักศึกษา คณาจารย์ และการร่วมมือทางวิชาการร่วมกัน ในระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม – 4 มิถุนายน 2566

28. โครงการการลงนามบันทึกข้อตกลงทางวิชาการความร่วมมือต่อเนื่องและศึกษาดูงานเครือข่ายทางการพยาบาลระดับนานาชาติ มหาวิทยาลัย Hungkuang University ไต้หวัน

โครงการการลงนามบันทึกข้อตกลงทางวิชาการความร่วมมือต่อเนื่อง

และศึกษาดูงานเครือข่ายทางการพยาบาลระดับนานาชาติ มหาวิทยาลัย Hungkuang University ไต้หวัน

วันที่ 28 มีนาคม 2566 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.หทัยชนก บัวเจริญ คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์วริยา จันทร์ขำ รองคณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรางคณา สายสิทธิ์ รองคณบดี อาจารย์ณัฐยา เชิงฉลาดชูพรม นางสาวมณฑิรา วุฒิพงษ์ และนางสาวฐาปนี ซั่วเซ่งอี่  ได้รับการต้อนรับจาก Chen,Shu-Ling  Dean of College of Nursing HUNGKUNG UNIVERSITY และคณะ ร่วมหารือการความร่วมทางวิชาการและการวิจัยเพื่อร่วมผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติทางการพยาบาล การให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาเอก การเรียนการสอน VR และ AR  สำหรับการสอนทางการพยาบาล พร้อมทั้งดูงานห้องปฎิบัติทางการพยาบาล ณ College of Nursing HUNGKUNG UNIVERSITY ไต้หวัน