ผลการดำเนินงาน ปี 2024
SDG15-2-5 :

1. ศูนย์ฝึกศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ศูนย์ฝึกศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
การจัดตั้ง “ศูนย์ฝึกศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม” ด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งได้ทำงานยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างต่อเนื่อง โดย ใช้เนื้อที่จำลองกว่า 10 ไร่ เปิดฐานการเรียนรู้/กิจกรรมการสร้างองค์ความรู้ จำนวน 6 ฐาน เช่น การปลูกไม้ยืนต้น การทำนา การปลูกพืชผักสวนครัว การปลูกหญ้าแฝก การทำฝายชะลอน้ำ การทำคลองไส้ไก่ คันนาทองคำ และกิจกรรมอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาได้สัมผัสและลงมือปฏิบัติจริง เช่น เรียนรู้เรื่องการปลูกหญ้าแฝก เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ช่วยกักเก็บตะกอนดิน ลดการสูญเสียธาตุอาหารพืชจากพื้นที่ เพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดินและรักษาความชื้นในดิน เป็นต้น

 

ผลผลิตที่ได้จากศูนย์การเรียนรู้ฯ

 

2. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การจัดทำฐานข้อมูลพรรณไม้เพื่อการเรียนรู้ด้วย QR code

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้รับพระราชานุญาติให้เข้าร่วมสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2559 และได้มีการจัดทำแผนแม่บทโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีระยะ 5 ปี (1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2564) โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีการจัดกิจกรรมโดยดำเนินงานตามแผนในกิจกรรมที่ 5 กิจกรรมศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช ในกิจกรรมย่อยฐานข้อมูลการดำเนินงานหน่วยงานร่วมสนองพระราชดำริกิจกรรมย่อยฐานข้อมูลทรัพยากรในท้องถิ่น และกิจกรรมที่ 8 กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยมีเป้าหมายเพื่อถ่ายทอดความรู้และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรของประเทศให้แก่เยาวชนต่อไป

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีพรรณไม้ภายในมหาวิทยาลัยจำนวนมากมายหลายร้อยชนิด และได้มีการจัดทำหนังสือพรรณไม้ จึงมีความจำเป็นต้องสร้างกระบวนการถ่ายทอดความรู้ ด้วยการสร้างการเรียนรู้ให้กับประชาคมและคนภายนอกในรูปแบบที่สามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน จึงมีแนวคิดในการจัดกิจกรรมการจัดทำฐานข้อมูลพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเพื่อการเรียนรู้ด้วย QR code ขึ้น

โดยมีรูปแบบกิจกรรมคือ

- ดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลพรรณไม้เพื่อการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

- ดำเนินการจัดทำระบบจัดเก็บข้อมูลพรรณไม้เพื่อการเรียนรู้ในรูปแบบ Web application

- ดำเนินการจัดทำสื่อถ่ายทอดข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ด้วย QR code ผ่านอุปกรณ์พกพา