1. ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาพืชเกษตรหลักนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาพืชเกษตรหลักนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาพืชเกษตรหลักนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาพืชเกษตรหลักที่เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดนครปฐม โดยการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมสำหรับการผลิตพืช เช่น ไม้ผล ข้าว ผักต่างๆ และพืชดอก ทั้งนี้เพื่อตอยสนองความต้องการหรือแก้ไขปัญหาทางการเกษตรในจังหวัดนครปฐม รวมถึงการแก้ปัญหาหารผลิตผลผลิตพืชในพื้นที่ให้มีคุณภาพและปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรนอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดเทตโนโลยีให้กลุ่มเกษตรกร ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพของเกษตรกร และการอนุรักษ์สายพันธุ์พืชที่เป็นพืชถิ่นที่สำคัญอีกด้วย
2. สถาบันวิจัยและพัฒนาลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมวิสาหกิจชุมชน กลุ่มสตรีแม่บ้าน อสม. แปรรูปผลิตภัณฑ์แห้ว จ.สุพรรณบุรี
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2566 ผศ.ดร.พิทักษ์พงศ์ ป้อมปราณี รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครปฐม พร้อมด้วย ผศ.ดร.ประพนธ์ เล็กสุมา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และเจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยและพัฒนา ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม (Site Visit) ในการติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace) ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีแม่บ้าน อสม. แปรรูปผลิตภัณฑ์แห้ว ต.วังยาง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุร
https://news.npru.ac.th/u_news/detail.php?news_id=31934&ref_id=
3. โครงการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนเพื่อจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ
สถาบันวิจัยและพัฒนา จัดโครงการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนเพื่อจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีรายละเอียดกิจกรรมทั้ง 5 กิจกรรม ได้แก่
1. ในวันที่ 3 มีนาคม 2566 ได้ดำเนินการจัดกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือจากพื้นที่ในการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุโดยมีภาคียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
2. ในวันที่ 20 มีนาคม 2566 ได้ดำเนินการจัดกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุในพื้นที่
3. ในวันที่ 31 มีนาคม 2566 ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมเพื่อการ
เสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยมีการกำหนดแนวทางพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่
4. ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมศักยภาพแกนนำชุมชนในการจัดกิจกรรมในกิจกรรม การเกษตรในพื้นที่ขนาดเล็ก สำหรับผู้สูงวัย โดยเรียนรู้ในเรื่องการจัดการพื้นที่ขนาดเล็กเพื่อเป็นแหล่งอาหารปลอดภัยในครัวเรือน
5. ในวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ได้จัดกิจกรรมการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้โรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบฯ ด้วยศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น ณ องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของศูนย์เรียนรู้ระบบการดูแลผู้สูงอายุในระดับประเทศเพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุในพื้นที่
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
1. สามารถจัดตั้งคณะกรรมการ และแกนนำในการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุของชุมชนโพรงมะเดื่อ จังหวัดนครปฐม
2. คณะกรรมการและแกนนำโรงเรียนผู้สูงอายุได้รับการพัฒนาทักษะการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ
3. ได้หลักสูตรการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนผู้สูงอายุ ชุมชนโพรงมะเดื่อ จังหวัดนครปฐม
https://news.npru.ac.th/u_news/detail.php?news_id=35165
4. โครงการยกระดับการท่องเที่ยวบนฐานวิถีชีวิตใหม่จากภูมิปัญญาท้องถิ่น
สถาบันวิจัยและพัฒนา จัดโครงการยกระดับการท่องเที่ยวบนฐานวิถีชีวิตใหม่จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้มีการดำเนินการใน 5 กิจกรรม ดังนี้
1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการยกระดับการท่องเที่ยวบนฐานวิถีชีวิตใหม่จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้านการท่องเที่ยว
2. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับอาหารท้องถิ่น สู่Set เมนูอาหารตามอัตลักษณ์ท้องถิ่น โดยการพัฒนาทักษะ และการออกแบบชุดอาหารท้องถิ่น (Set menu เชิงสุขภาพ, Set menu เชิงวัฒนธรรม, Set menu ร่วมสมัย)
3. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับเครื่องดื่มชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการพัฒนาทักษะและออกแบบเครื่องดื่มชุมชน (เครื่องดื่ม Welcome drink, เครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ, เครื่องดื่มประเภทกาแฟชุมชน)
4. กิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับวัฒนธรรม ประเพณีสู่การแสดงชุมชน
5. กิจกรรม อีเวนต์ประชาสัมพันธ์การยกระดับการท่องเที่ยวบนฐานวิถีชีวิตใหม่จากภูมิปัญญาท้องถิ่น
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
1. ชุมชนได้รับการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว จำนวน 2 พื้นที่ 1) ชุมชนบ้านหัวอ่าวได้รับการพัฒนากิจกรรมการนวดและสปา 2) ชุมชนห้วยม่วงได้รับการพัฒนากิจกรรมเรียนรู้วิถีเกษตรอินทรีย์ กิจกรรมจับกุ้ง และกิจกรรมทำขนมดอกจอก
2. ชุมชนได้รับการพัฒนาเมนูอาหารตามอัตลักษณ์พื้นที่ จำนวน 2 พื้นที่ 1) ชุมชนบ้านหัวอ่าวอาหารเชิงสุขภาพตามอัตลักษณ์ท้องถิ่น 3 เมนู 2) ชุมชนห้วยม่วงได้รับการพัฒนาเมนูอาหารกุ้งตามอัตลักษณืพื้นถิ่น 3 เมนู
3. ชุมชนได้รับการพัฒนา เครื่องดื่ม Welcome drink, เครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ, เครื่องดื่มประเภทกาแฟชุมชน
4. ชุมชนได้รับการพัฒนาการแสดงเชิงวัฒนธรรม จำนวน 2 พื้นที่ 1) ชุมชนบ้านหัวอ่าวได้รับการพัฒนาการแสดง ฉ่อยในสวน 2) ชุมชนห้วยม่วงได้รับการพัฒนาการแสดงกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวน
5. ชุมชนได้สื่อประชาสัมพันธ์สำหรับฐานเรียนรู้จำนวน 8 ฐานการเรียนรู้
https://news.npru.ac.th/u_news/detail.php?news_id=31747
5. โครงการนวัตกรรมชุมชน นวัตกรรมชุดสีธรรมชาติท้องถิ่นเพื่อสิ่งทอชุมชน
สถาบันวิจัยและพัฒนา จัดโครงการนวัตกรรมชุดสีธรรมชาติท้องถิ่นเพื่อสิ่งทอชุมชน ได้มีการดำเนินการใน 5 กิจกรรม ดังนี้
1. ในระหว่างวันที่ 20-24 เมษายน 2566 ได้ดำเนินกิจกรรมสร้างนวัตกร (Innovator) ที่สามารถสร้างสรรค์แนวคิด วิธีการจัดกิจกรรมในการจัดการนวัตกรรมพัฒนาสีธรรมชาติย้อมเส้นใยธรรมชาติเพื่อผลิตภัณฑ์สิ่งทอชุมชน
2. ในระหว่างวันที่ 25-29 เมษายน 2566 ได้ดำเนินกิจกรรมสร้างนวัตกร (Innovator) ที่สามารถสร้างสรรค์แนวคิด วิธีการจัดกิจกรรมในการจัดการนวัตกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์สีธรรมชาติงานพิมพ์เส้นใยธรรมชาติ
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
1. ได้พัฒนา นวัตกร (Innovator) ในพื้นที่ ที่สามารถสร้างสรรค์แนวคิด วิธีการจัดกิจกรรมในการจัดการ นวัตกรรมพัฒนาสีธรรมชาติย้อมเส้นใยธรรมชาติ เพื่อผลิตภัณฑ์สิ่งทอชุมชน
2. ได้พัฒนา นวัตกร (Innovator) ในพื้นที่ ที่สามารถสร้างสรรค์แนวคิด วิธีการจัดกิจกรรมในการจัดการนวัตกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์สีธรรมชาติงานพิมพ์เส้นใยธรรมชาติ
6. โครงการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเพื่อสร้างมูลค่าตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทางเศรษฐกิจเกษตร อาหารและการท่องเที่ยว
สถาบันวิจัยและพัฒนา จัดโครงการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเพื่อสร้างมูลค่าตลอดห่วงโซ่อุปทานทางเศรษฐกิจเกษตร อาหาร และการท่องเที่ยว ได้มีการดำเนินการใน 4 กิจกรรม ดังนี้
1. วันที่ 20 มิถุนายน 2566 ได้จัดกิจกรรมยกระดับและพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจชุมชนด้านการเกษตรสินค้าเกษตรเพื่อต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน
2. ในวันที่ 25-26 พฤษภาคม 2566 ได้กิจกรรมส่งเสริมศักยภาพคนในชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้จากวัตถุดิบในชุมชน อาหารพื้นถิ่นของชุมชน เพื่อเรียนรู้การนำใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นการฝึกปฏิบัติเมนูอาหารที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ท้องถิ่น ได้แก่การคัดเลือกวัตถุดิบที่ถูกวิธี วิธีการล้าง การหยิบจับอาหาร และการแต่งกายที่ถูกต้อง การเลือกล้างภาชนะ อุปกรณ์การเลือกใช้เครื่องปรุงรสอาหาร
3. วันที่ 23-24,28-30 มิถุนายน 2566 การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การสร้างความรู้ความเข้าใจ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนตำบลวัดละมุด”
4. วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 ได้จัดกิจกรรมการประเมินความเป็นไปได้และรูปแบบการจัดอีเว้นต์นวัตกรรมการจัดการเพื่อสร้างมูลค่าตลอดห่วงโซ่อุปทานทางเศรษฐกิจเกษตรอาหารและการท่องเที่ยวโดยชุมชน
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
1. ได้ผลิตภัณฑ์ผักตบชวาที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของชุมชนวัดละมุด และเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้กับสินค้าโดยขอพื้นที่วางที่ห้างเซ็นทรัลศาลายาและรูปแบบออนไลน์ , ยกระดับผลิตภัณฑ์น้ำพริกเรือนไทยของชุมชนวัดละมุดโดยการทำบรรจุภัณฑ์ให้กับทางชุมชน และออกแบบตราสินค้าให้มีความสวยงาม แข็งแรง เหมาะกับการขนส่ง ของฝากและของที่ระลึกของทางชุมชน
2. ได้เมนูอาหารที่มีจากวัตถุดิบพื้นถิ่นของชุมชนโดยการมีส่วนร่วมในการนำเสนอเรื่องราวของเมนูต่าง ๆ ที่รังสรรค์ออกมาเพื่อให้ได้สัมผัสถึงความเป็นชุมชนวัดละมุดซึ่งมีเมนูอาหาร 3 เมนู ได้แก่เมนูแกงเขียวหวานหัวตาล ขนมขี้หนูจากผลตาลสุก เมนูข้าวผัดน้ำพริกลงเรือ ซึ่งทางชุมได้นำเมนูที่รังสรรค์นี้ไปสอดแทรกไว้ในร้านอาหารของชุมชนเพื่อไว้บริการแก่นักท่องเที่ยว
3. ได้เส้นทางท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์กับการมีส่วนร่วมในชุมชนอันนำไปสู่การสร้างรายได้ของคนในชุมชนพื้นที่ดังนี้ ชมโบสถ์เก่าสมัยอยุธยาตอนปลาย จิตกรรมฝาผนังอายุกว่า 200 ปี กิจกรรมปลูกผัก ผลไม้อินทรีย์ ณ ฟาร์มยิ้มสู้ , ทำพวงกุญแจของที่ระลึกจากผักตบชวา, ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
7. การดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัย ราชภัฏนครปฐม
ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พร้อมด้วย นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติผู้ว่าราชการ จังหวัดนครปฐม คณะผู้บริหาร คณาจารย์เจ้าหน้าที่ และผู้นำนักศึกษาวิศวกรสังคม และตัวแทนผู้นำนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ให้การต้อนรับพลเอกดาว์พงษ์รัตนสุวรรณ องคมนตรีและ ดร.นงรัตน์ อิสโร เลขานุการองคมนตรี ในโอกาสตรวจเยี่ยมติดตามความก้าวหน้าและทราบผลในการดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยกิจกรรมช่วงเช้าเป็นการบรรยายสรุป “การดำเนินงานการพัฒนาท้องถิ่น ” และการบรรยายสรุปยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารจัดการ ได้แก่ การบริหารจัดการ/ ขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาท้องถิ่น และการบรรยายสรุปรายงานการดำเนินโครงการพัฒนา Soft Skills ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม และพบผู้แทนนักศึกษา
จากนั้นในช่วงบ่ายองคมนตรีและคณะได้เดินทางลงพื้นที่ชุมชน ณ ชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (ตลาดในสวน) ชุมชนบ้านหัวอ่าว ต.บางช้าง อ.สามพราน จ.นครปฐม เพื่อพบปะประชาชนและเยี่ยมชมผลการดำเนินงานภายใต้โครงการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม สำหรับโครงการที่ดำเนินการภายใต้โครงการพัฒนาท้องถิ่นฯ ที่นำเสนอมีทั้งหมด 5 โครงการ ประกอบด้วย 1. โครงการชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (ตลาดในสวน) 2. โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น : วิสาหกิจชุมชนปันสุข ต.บ้านยาง อ.เมือง จ.นครปฐม 3. โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น : วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีแม่บ้าน อสม. แปรรูป ผลิตภัณฑ์แห้ว ต.วังยาง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี 4. โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น : วิสาหกิจชุมชนบ้านเห็ดขวัญวัลย์ฟาร์ม ต.ท่าเสา อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร 5. โครงการยกระดับมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น : กลุ่มผ้าทอศรีอุทุมพร วัดโพรงมะเดื่อ อ.เมือง จ.นครปฐม
https://news.npru.ac.th/u_news/detail.php?news_id=32002
8. โครงการพัฒนาต้นแบบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG จากฐานทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่น เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช (อพ.สธ.)
สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้ดำเนินงานโครงการในระหว่างวันที่ 28 มีนาคม 2566 - 31 กรกฎาคม 2566 โดยมีกิจกรรม ดังนี้
1. การจัดกิจกรรมการพัฒนาการผลิตกระชายแบบยั่งยืน โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านการปรับปรุงสภาพดิน และส่งเสริมการใช้สารชีวภาพในการควบคุมโรครากเน่าในท่อนพันธุ์กระชายก่อนปลูกให้กับชุมชน การถ่ายทอดองค์ความรู้ส่งเสริมการใช้สารสกัดจากพืชและจุลินทรีย์ต่อต้านในการควบคุมโรครากเน่าและศัตรูพืชของกระชายให้กับชุมชน
2. การจัดกิจกรรมการพัฒนาและส่งเสริมการเพิ่มมูลค่ากระชายด้วยการทำแห้งโดยอาศัยพลังงานจากแสงอาทิตย์ สำหรับสร้างรายได้ให้เกษตรกร
3. การจัดกิจกรรมกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารต่อยอดการใช้ประโยชน์จากกระชาย เพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างเศรษฐกิจได้ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์หมี่กรอบสมุนไพร ผลิตภัณฑ์ชาจากกระชาย ผลิตภัณฑ์กระชายผงพร้อมชง ผลิตภัณฑ์กระชายอบแห้ง
4.การจัดกิจกรรมกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้บรรจุภัณฑ์ช่วยยืดอายุการเก็บอาหารและพืชในชุมชน ด้วยระบบสุญญากาศ การบรรจุอาหารและพืชในชุมชน แบบสุญญากาศ (Vacuum packaging)
5. การจัดกิจกรรมกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้การเพาะเห็ดฟางด้วยผักตบชวาเพื่อสร้างรายได้ ปฏิบัติการในการดูแลเห็ดฟางหลังการเพาะ ปฏิบัติการในการตัดใยเห็ด และการดูและเห็ดฟางหลังการตัดใยเห็ด
6. การจัดกิจกรรมการพัฒนานวัตกรรมการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรในจังหวัดนครปฐม
1. ชุมชนมีองค์ความรู้ทางด้านการปรับปรุงสภาพดิน การใช้สารชีวภาพในการควบคุมโรครากเน่าในท่อนพันธุ์กระชายก่อนปลูก การใช้สารสกัดจากพืชและจุลินทรีย์ต่อต้านในการควบคุมโรครากเน่าและศัตรูพืชของกระชาย ทำให้ชุมชนลดต้นทุนในการผลิต สามารถปลูกกระชายได้ผลผลิตอย่างต่อเนื่องเพื่อจำหน่ายสร้างรายได้
2. ชุมชนมีองค์ความรู้ในขั้นตอนการผลิตกระชายด้วยการทำแห้ง โดยอาศัยพลังงานจากแสงอาทิตย์ เพื่อเพิ่มมูลค่าจากการพัฒนาต่อยอดการใช้ประโยชน์จากกระชาย นำไปสู่การเสริมสร้างเศรษฐกิจ
3. ชุมชนสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารต่อยอดการใช้ประโยชน์จากกระชาย นำไปสู่การเสริมสร้างเศรษฐกิจ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์หมี่กรอบสมุนไพร ผลิตภัณฑ์ชาจากกระชาย ผลิตภัณฑ์กระชายผงพร้อมชง
ผลิตภัณฑ์กระชายอบแห้ง
4. ชุมชนได้รับองค์ความรู้การใช้บรรจุภัณฑ์ช่วยยืดอายุการเก็บอาหารและพืชในชุมชน ด้วยระบบสุญญากาศ การบรรจุอาหารและพืชในชุมชน แบบสุญญากาศ (Vacuum packaging)
5. ชุมชนมีองค์ความรู้และสามารถเพาะเห็ดฟางด้วยผักตบชวาเพื่อสร้างรายได้
6. ชุมชนได้รับองค์ความรู้ทางด้านการผลิตน้ำมันหอมระเหยจากกระชายเพื่อต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
หลักฐานที่เกี่ยวข้อง / ภาพประกอบ
Link ที่เกี่ยวข้อง
https://news.npru.ac.th/u_news/detail.php?news_id=28534