ผลการดำเนินงาน ปี 2024
SDG1 :

1. ศูนย์ฝึกศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ศูนย์ฝึกศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
การจัดตั้ง “ศูนย์ฝึกศาสตร์พระราชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม” ด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งได้ทำงานยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างต่อเนื่อง โดย ใช้เนื้อที่จำลองกว่า 10 ไร่ เปิดฐานการเรียนรู้/กิจกรรมการสร้างองค์ความรู้ จำนวน 6 ฐาน เช่น การปลูกไม้ยืนต้น การทำนา การปลูกพืชผักสวนครัว การปลูกหญ้าแฝก การทำฝายชะลอน้ำ การทำคลองไส้ไก่ คันนาทองคำ และกิจกรรมอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาได้สัมผัสและลงมือปฏิบัติจริง เช่น เรียนรู้เรื่องการปลูกหญ้าแฝก เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ช่วยกักเก็บตะกอนดิน ลดการสูญเสียธาตุอาหารพืชจากพื้นที่ เพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดินและรักษาความชื้นในดิน เป็นต้น

 

ผลผลิตที่ได้จากศูนย์การเรียนรู้ฯ

 

2. นโยบายการจัดหาอย่างมีจริยธรรม

นโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว (NPRU Green University)

          มหาวิทยาลัยมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยฯ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ มีการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เกิดการลดการใช้ทรัพยากรสิ้นเปลืองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน มหาวิทยาลัยจึงได้จัดทำนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว (NPRU Green University) เพื่อให้อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ร้านค้าผู้ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัย

 

นโยบายอนุรักษ์พลังงาน

          มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดทำประกาศ เรื่อง นโยบายอนุรักษ์พลังงาน  เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงาน และเพื่อให้ทุกคนในมหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการพลังงานในหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

3.  ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาพืชเกษตรหลักนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

 ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาพืชเกษตรหลักนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาพืชเกษตรหลักนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาพืชเกษตรหลักที่เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดนครปฐม โดยการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมสำหรับการผลิตพืช เช่น ไม้ผล ข้าว ผักต่างๆ และพืชดอก ทั้งนี้เพื่อตอยสนองความต้องการหรือแก้ไขปัญหาทางการเกษตรในจังหวัดนครปฐม รวมถึงการแก้ปัญหาหารผลิตผลผลิตพืชในพื้นที่ให้มีคุณภาพและปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรนอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดเทตโนโลยีให้กลุ่มเกษตรกร ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพของเกษตรกร และการอนุรักษ์สายพันธุ์พืชที่เป็นพืชถิ่นที่สำคัญอีกด้วย

รายละเอียดเพิ่มเติม

4. จำนวนนักศึกษาทั้งหมด

 จำนวนนักศึกษาทั้งหมด

ปีการศึกษา 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีนักเรียน นักศึกษา จำนวน 15,415 คน จำแนกตามหน่วยงาน และระดับการศึกษา

 

5. จำนวนนักศึกษาขาดแคลนที่ได้รับทุนการศึกษา

จำนวนนักศึกษาขาดแคลนที่ได้รับทุนการศึกษา   

http://res2.npru.ac.th/recruit/detail.php?id=3

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้ให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่มีผลการเรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ภายใต้โครงการการให้ทุนสนับสนุนการศึกษาแก่นักเรียนที่มีผลการเรียนดีเพื่อการพัฒนาสาขาวิชาสู่ความเป็นเลิศ ประจำปีการศึกษา 2566 มีผลการพิจารณาทุนการศึกษาจำนวน 101 ราย โดยนักศึกษาจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษา และได้รับค่าครองชีพเดือนละ 2,000 บาท

http://res2.npru.ac.th/recruit/detail.php?id=2

 

ประกาศการให้ทุนสนับสนุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเพื่อการพัฒนาสาขาวิชาสู่ความเป็นเลิศ (npru.ac.th)

 

6. โครงการการสนับสนุนทุนการศึกษา

 

จำนวนนักศึกษาขาดแคลนที่ได้รับทุนการศึกษา   

http://res2.npru.ac.th/recruit/detail.php?id=3

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้ให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่มีผลการเรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ภายใต้โครงการการให้ทุนสนับสนุนการศึกษาแก่นักเรียนที่มีผลการเรียนดีเพื่อการพัฒนาสาขาวิชาสู่ความเป็นเลิศ ประจำปีการศึกษา 2566 มีผลการพิจารณาทุนการศึกษาจำนวน 101 ราย โดยนักศึกษาจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษา และได้รับค่าครองชีพเดือนละ 2,000 บาท

http://res2.npru.ac.th/recruit/detail.php?id=2

 

ประกาศการให้ทุนสนับสนุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเพื่อการพัฒนาสาขาวิชาสู่ความเป็นเลิศ (npru.ac.th)

7. ศูนย์บริการนักศึกษาพิการ DSS NPRU

ศูนย์บริการนักศึกษาพิการ DSS NPRU

          มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เปิดศูนย์ให้บริการนักศึกษาพิการหรือ DSS ซึ่งมหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลเรื่องต่างๆ หรือสวัสดิการให้กับนักศึกษาพิการ เช่น การให้คำปรึกษาต่างๆ หรือ ดูแลด้านทุนการศึกษา โดยปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีนักศึกษาพิการที่เข้ารับการศึกษา จำนวน 7 คน

http://alumni.npru.ac.th/npru-dss/#

8. การสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาที่เป็นกลุ่มขาดแคลนเงิน

จำนวนผู้ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาแก่นักเรียนที่มีผลการเรียนดี เพื่อพัฒนาสาขาวิชาสู่ความเป็นเลิศ ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 140 ทุน โดยมีนักศึกษาผู้รับทุน ที่สำเร็จการศึกษา จำนวน 25 คน รายละเอียดดังนี้

9. โครงการการสนับสนุนทุนการศึกษา

จำนวนนักศึกษาขาดแคลนที่ได้รับทุนการศึกษ   

http://res2.npru.ac.th/recruit/detail.php?id=3

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้ให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่มีผลการเรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ภายใต้โครงการการให้ทุนสนับสนุนการศึกษาแก่นักเรียนที่มีผลการเรียนดีเพื่อการพัฒนาสาขาวิชาสู่ความเป็นเลิศ ประจำปีการศึกษา 2566 มีผลการพิจารณาทุนการศึกษาจำนวน 101 ราย โดยนักศึกษาจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษา และได้รับค่าครองชีพเดือนละ 2,000 บาท

          

10. ศูนย์กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

.ศูนย์กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

          มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจัดตั้งศูนย์กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยจัดสถานที่ บุคลากร และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น Website เพื่อประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข่าวสาร ให้บริการในการติดต่อประสานงาน ช่วยเหลือ และให้คำปรึกษากับนักศึกษาในการจัดทำเรื่องการกู้ยืมเพื่อการศึกษา

http://loannpru.npru.ac.th/loannpru/

11. รถพลังงานไฟฟ้า รับ-ส่ง นักศึกษาและเจ้าหน้าที่

รถพลังงานไฟฟ้า รับ-ส่ง นักศึกษาและเจ้าหน้าที่

          มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีรถบริการรับ-ส่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรับ-ส่ง ผู้โดยสารไม่ว่าจะเป็น นักเรียน หรือเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นการลดจำนวนการใช้รถยนต์ และรถจักรยานยนต์สัญจรภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาทางด้านการจราจร และมลพิษภายในมหาวิทยาลัยตามมา

12. การสนับสนุนนักศึกษาที่เป็นกลุ่มขาดแคลนเงิน

การสนับสนุนนักศึกษาที่มีรายได้น้อย

 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมให้การสนับสนุนนักศึกษาที่อยู่ในครัวเรือนยากจน เพื่อให้สามารถเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยได้ 

ศูนย์กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

          มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจัดตั้งศูนย์กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยจัดสถานที่ บุคลากร และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น Website เพื่อประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข่าวสาร ให้บริการในการติดต่อประสานงาน ช่วยเหลือ และให้คำปรึกษากับนักศึกษาในการจัดทำเรื่องการกู้ยืมเพื่อการศึกษา

13. โครงการสนับสนุนค่าครองชีพนักศึกษาจากการทำงาน

โครงการสนับสนุนค่าครองชีพนักศึกษาจากการทำงาน

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้ให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมนิสิตนักศึกษาให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมั่นคง ด้วยการสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมในการพึ่งพาตนเองให้แก่นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์การทำงาน รับผิดชอบตนเอง รู้จักค่าของเงินและรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุดในช่วงที่กำลังศึกษาอยู่ นอกจากนี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และต้องการหารายได้ระหว่างเรียนให้สามารถทำงานที่เหมาะสมกับสถานภาพต่อไป

14. โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการตลาดเพื่อเสริมขีดความสามารถการเป็นผู้ประกอบการ

โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการตลาดเพื่อเสริมขีดความสามารถการเป็นผู้ประกอบการ

ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการตลาดเพื่อเสริมขีดความสามารถการเป็นผู้ประกอบการ ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08.30 - 12.30 น. วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีทักษะสามารถดำเนินธุรกิจอย่างเป็นระบบ  และเกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพด้วยการผลิตสินค้าในชุมชน โดยมีรายละเอียดกิจกรรม ดังนี้

              

              

              

15. โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพด้านธุรกิจเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2 เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง เรื่อง "การจัดทำบัญชีสำหรับธุรกิจ และการทำการตลาดออนไลน์บน Tiktok"

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกับศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพด้านธุรกิจเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2 เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง เรื่อง "การจัดทำบัญชีสำหรับธุรกิจ และการทำการตลาดออนไลน์บน Tiktok" ในวันที่ 12 - 14 กันยายน 2566 ณ โรงแรมริเวอร์ตัน อัมพวา ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม วัตถุประสงค์โครงการเพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับความรู้ด้านการเงิน การบัญชี และภาษีอากร สามารถกำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจให้เกิดผลกำไรและช่วยให้การบริหารธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับความรู้เทคนิคการขายสินค้าใน TikTok และเทคนิคการทำ Marketing content เพื่อพัฒนาต่อยอดให้ธุรกิจ ด้วยวิดีโอคอนเทนต์ที่น่าสนใจเจาะกลุ่มเป้าหมาย เพิ่มยอดขายธุรกิจ และสามารถขยายเครือข่ายทางธุรกิจ โดยมีรายละเอียดกิจกรรม ดังนี้

  

  

  

16. มหาวิทยาลัยได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏ (พ.ศ. 2566 -2570) โดยได้กำหนด วิสัยทัศน์ไว้ว่า

“มหาวิทยาลัยราชภัฏเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเป็นเลิศ โดยกระบวนจัดการเรียนการสอน เพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน”

ต่อมาได้มีการประชุมเพื่อทบทวนแผนฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2561 จึงได้ปรับวิสัยทัศน์เป็น  

          “มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถาบันที่ผลิตบัณฑิตที่มีอัตลักษณ์ มีคุณภาพ มีสมรรถนะ และเป็นสถาบัน หลักที่บูรณาการองค์ความรู้สู่นวัตกรรมในการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ”

          โดยมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ มีทัศนคติที่ดี เป็นพลเมืองดีในสังคม และมีสมรรถนะตามความ ต้องการของผู้ใช้บัณฑิต วิจัยสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ มุ่งเน้น การบูรณาการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม พัฒนาท้องถิ่นตามศักยภาพ สภาพปัญหาและความ ต้องการที่แท้จริงของชุมชนโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และน้อมนำแนวพระราชดำริสู่การปฏิบัติ สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชนให้ มีคุณธรรมและความสามารถในการบริหารงานเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม และบริหารจัดการทรัพยากรภายใน มหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพด้วยหลักธรรมาภิบาลพร้อมรองรับบริบทการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดการ พัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

          2. มหาวิทยาลัยราชภัฏนคปฐมโดยท่านอธิการบดี ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว ได้เข้าร่วมเป็นกรรมการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์พงศ์ ป้อมปราณี เป็นที่ปรึกษาในพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐจังหวัดนครปฐม ในการวางแผนกำหนดนโยบายในการพัฒนาทางด้านเกษตร ด้านแปรรูป (SME/OTOP) และด้านท่องเที่ยว ของจังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นการยกระดับรายได้เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนในจังหวัดนครปฐม

 

          3. มหาวิทยาลัยราชภัฏนคปฐมโดยท่านอธิการบดี ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว ได้รับการแต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทย ให้เป็นคณะกรรมการประสานและขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐ ประจำจังหวัด ในการวางแผนและขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนในจังหวัดนครปฐม

17. โครงการกิจกรรมค่าย NPRU Startup Design Thinking Camp

ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดอบรม “โครงการกิจกรรมค่าย NPRU Startup Design Thinking Camp”  วันที่ 23 - 25 เมษายน 2566 เพื่อพัฒนานักศึกษาสร้างสรรค์แนวความคิดทางธุรกิจให้เป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ณ ไอธารา รีสอร์ท แอนด์ สปา ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี วัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ สร้างความรู้ความเข้าใจรวมทั้งการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจการทำความเข้าใจความต้องการและปัญหาของกลุ่มเป้าหมายด้วยการระดมความคิดเห็น ทำให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจหลักการและกระบวนการ Design Thinking และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจได้

   

   

18. โครงการนิทรรศการแสดงผลงานผลิตภัณฑ์นวัตกรรมผู้ประกอบการรุ่นใหม่

ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดโครงการนิทรรศการแสดงผลงานผลิตภัณฑ์นวัตกรรมผู้ประกอบการรุ่นใหม่ วันที่ 15 พฤษภาคม 2566 ณ หอประชุมอาคารสิริวรปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ขยายตลาดให้กับผู้ประกอบการรุ่นใหม่

   

   

19. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการค่าย NPRU Startup Idea camp

ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดอบรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการค่าย NPRU Startup Idea camp วันที่ 18 - 20 ธันวาคม 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาแต่ละศาสตร์ที่มีความฝันมีความต้องการในการเป็นผู้ประกอบการหรือทำธุรกิจของตนเองได้มีแนวคิดวิธีการ กระบวนการที่ถูกต้องในการก้าวเข้าสู่นักธุรกิจรุ่นใหม่ อีกทั้งผลักดันสนับสนุนผู้ประกอบการ ที่มีฝันอยากทำธุรกิจได้สร้างสรรค์แนวคิดธุรกิจที่มีความโดดเด่นและแตกต่าง สร้างโอกาสในการเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ มีเงินรางวัลสำหรับการแข่งขันเสนอไอเดีย อันดับที่ 1  จำนวน 3,000 บาท อันดับที่ 2  จำนวน 2,000 บาท อันดับที่ 3 จำนวน 1,000 บาท

   

   

   

20. กิจกรรมการประกวด Smart Start Idea by GSB Startup ประจำปี 2566

วันที่ 12 มกราคม 2566 ธนาคารออมสิน ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ โดยมี อาจารย์ ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์พงศ์ ป้อมปราณี รองอธิการบดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์สมพล สุขเจริญพงษ์ รักษาการผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ ประชุมหารือแนวทางการกำหนดกรอบทิศทางการดำเนินงานสร้าง และพัฒนานักศึกษาผู้ประกอบการในปี 2566 และกล่าวขอบคุณ ณ ห้อง GSB NPRU Innovation club ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

   

กิจกรรมการประกวด Smart Start Idea by GSB Startup ประจำปี 2566 ภายใต้โครงการสร้างผู้ประกอบการ Micropreneur (GSB Micropreneur Academy) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ให้นิสิต นักศึกษา และบัณฑิตจบใหม่ ร่วมสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าหรือบริการ ภายใต้หัวข้อที่ธนาคารกำหนดแล้วส่งเข้าประกวดเพื่อรับทุนการศึกษาและต่อยอดสู่การพัฒนาเป็นสินค้าหรือบริการได้จริง  ชิงทุนการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยมูลค่า 1 หมื่นบาท

สำหรับนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกผลงานการประกวดจำนวน 3 ทีม จะได้รับทุนการศึกษา รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 5,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 3,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 2,000 บาท

21. โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการรุ่นใหม่ สนับสนุนพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบรายละ 20,000 บาท

ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการรุ่นใหม่ สนับสนุนพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบรายละ 20,000 บาท โดยนักศึกษา บัณฑิต ศิษย์เก่า ที่สำเร็จการศึกษาไม่เกิน 5 ปี ที่เป็นผู้ประกอบการรายใหม่จากกระบวนการพัฒนาของมหาวิทยาลัย ได้เข้าร่วมกิจกรรม โดยมีรายละเอียด ดังนี้

22. โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก

สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้ดำเนินงานโครงการในระหว่างวันที่ 26 มกราคม 2566 – 31 กรกฎาคม 2566 โดยมีกิจกรรม ดังนี้

          1. จัดกิจกรรมปฏิบัติการกระบวนการ การทำกิจกรรมการเกษตรในพื้นที่ขนาดเล็กเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนในระดับครัวเรือน : การพัฒนาแหล่งอาหารปลอดภัยในครัวเรือน ด้วยการทำการเพาะเห็ดในซุ้มเห็ด การปลูกผักปลอดภัย

          2. จัดกิจกรรมปฏิบัติการกระบวนการ การจัดการเศษใบไม้เหลือทิ้ง เพื่อลดปัญหาการเผาในชุมชน สู่วัสดุปรับปรุงดินคุณภาพสูง

 

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

          1. เกิดการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างข้างบ้านในการผลิตผักและสินค้าเกษตรปลอดภัย สามารถพึ่งพาตนเองได้และสร้างความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือน

          2. รายได้ของประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น

          3. ชุมชนเป้าหมายมีความรู้ความสามารถ ทักษะในการจัดการเศษใบไม้เหลือทิ้ง เพื่อลดปัญหาการเผาในชุมชน สู่วัสดุปรับปรุงดินคุณภาพสูง

      

https://news.npru.ac.th/u_news/detail.php?news_id=31933

23. อบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างกลยุทธ์และเทคนิคการตลาดสำหรับผู้ประกอบการสินค้า OTOP

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566 ผศ.ดร.พิทักษ์พงศ์ ป้อมปราณี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เป็นประธานพิธีเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างกลยุทธ์และเทคนิคการตลาดสำหรับผู้ประกอบการสินค้า OTOP ประจำปีงบประมาณ 2566 และกล่าวรายงานโดย ผศ.ดร.ประพนธ์ เล็กสุมา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา โดยมี ดร.ณรงค์ ศรีเกรียงทอง ที่ปรึกษา และประธานบริษัท IPBA และ คุณฤทธิรงค์ โคตะพันธุ์ ประธานบริษัท วินเทจ ฟาร์มดี จำกัด เป็นวิทยากร พร้อมด้วยผู้ประกอบการ และคณาจารย์จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเข้าร่วม โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารสิริวรปัญญา

 

          โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างกลยุทธ์และเทคนิคการตลาดสำหรับผู้ประกอบการสินค้า OTOP ประจำปี งบประมาณ 2566 อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อันจะนำไปสู่การขยายผลในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการจำหน่ายในเชิงพาณิชย์และเพื่อสร้างเครือข่ายในการทำงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน โดยโครงการนี้เปิดรับผู้ประกอบการ OTOP และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่สนใจเข้าร่วมในปี 2566 ภายใต้ความร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาชุมชน และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดในภูมิภาคตะวันตก มีผู้สมัครเข้าร่วมกว่า 48 ราย และได้สัมภาษณ์คัดเลือกผู้ประกอบการเข้าร่วม โครงการ จำนวน 25 ผลิตภัณฑ์ จากนั้นจึงนำมาพัฒนาโจทย์ วิจัยร่วมกับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องต่อความต้องการของผู้บริโภคต่อไป

สำหรับการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การสร้าง กลยุทธ์และเทคนิคการตลาดสำหรับผู้ประกอบการสินค้า OTOP ประจำปีงบประมาณ 2566 ครั้งนี้ มีผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในระหว่างการการพัฒนาร่วมกันระหว่าง อาจารย์ และผู้ประกอบการ จำนวน 25 ผลิตภัณฑ์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1. อาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 12 ผลิตภัณฑ์ 2. ผ้า และเครื่องแต่งกาย จำนวน 4 ผลิตภัณฑ์ 3. ของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์และ 4. สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร จำนวน 4 ผลิตภัณฑ์ จากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรีและจังหวัดสมุทรสาคร

https://news.npru.ac.th/u_news/detail.php?news_id=31561&ref_id=PR

24. สถาบันวิจัยและพัฒนาลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมวิสาหกิจชุมชน กลุ่มสตรีแม่บ้าน อสม. แปรรูปผลิตภัณฑ์แห้ว จ.สุพรรณบุรี

   

เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2566 ผศ.ดร.พิทักษ์พงศ์ ป้อมปราณี รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครปฐม พร้อมด้วย ผศ.ดร.ประพนธ์ เล็กสุมา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และเจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยและพัฒนา ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม (Site Visit) ในการติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการ ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อขยายตลาดภูมิปัญญา (University as a Marketplace) ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีแม่บ้าน อสม. แปรรูปผลิตภัณฑ์แห้ว ต.วังยาง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุร

https://news.npru.ac.th/u_news/detail.php?news_id=31934&ref_id=

25. โครงการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนเพื่อจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ

สถาบันวิจัยและพัฒนา จัดโครงการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนเพื่อจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีรายละเอียดกิจกรรมทั้ง 5 กิจกรรม ได้แก่

          1. ในวันที่ 3 มีนาคม 2566 ได้ดำเนินการจัดกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือจากพื้นที่ในการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุโดยมีภาคียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

          2. ในวันที่ 20 มีนาคม 2566 ได้ดำเนินการจัดกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุในพื้นที่

          3. ในวันที่ 31 มีนาคม 2566 ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมเพื่อการ

เสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยมีการกำหนดแนวทางพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่

          4. ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมศักยภาพแกนนำชุมชนในการจัดกิจกรรมในกิจกรรม การเกษตรในพื้นที่ขนาดเล็ก สำหรับผู้สูงวัย โดยเรียนรู้ในเรื่องการจัดการพื้นที่ขนาดเล็กเพื่อเป็นแหล่งอาหารปลอดภัยในครัวเรือน

          5. ในวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ได้จัดกิจกรรมการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้โรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบฯ ด้วยศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น ณ องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม  อำเภออินทร์บุรี  จังหวัดสิงห์บุรี เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของศูนย์เรียนรู้ระบบการดูแลผู้สูงอายุในระดับประเทศเพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุในพื้นที่

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

          1. สามารถจัดตั้งคณะกรรมการ และแกนนำในการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุของชุมชนโพรงมะเดื่อ จังหวัดนครปฐม

          2. คณะกรรมการและแกนนำโรงเรียนผู้สูงอายุได้รับการพัฒนาทักษะการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ

          3. ได้หลักสูตรการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนผู้สูงอายุ ชุมชนโพรงมะเดื่อ จังหวัดนครปฐม


      

https://news.npru.ac.th/u_news/detail.php?news_id=35165

26. โครงการยกระดับการท่องเที่ยวบนฐานวิถีชีวิตใหม่จากภูมิปัญญาท้องถิ่น

สถาบันวิจัยและพัฒนา จัดโครงการยกระดับการท่องเที่ยวบนฐานวิถีชีวิตใหม่จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้มีการดำเนินการใน 5 กิจกรรม ดังนี้

1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการยกระดับการท่องเที่ยวบนฐานวิถีชีวิตใหม่จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้านการท่องเที่ยว

2. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับอาหารท้องถิ่น สู่Set เมนูอาหารตามอัตลักษณ์ท้องถิ่น โดยการพัฒนาทักษะ และการออกแบบชุดอาหารท้องถิ่น (Set menu เชิงสุขภาพ, Set menu เชิงวัฒนธรรม, Set menu ร่วมสมัย)

3. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับเครื่องดื่มชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการพัฒนาทักษะและออกแบบเครื่องดื่มชุมชน (เครื่องดื่ม Welcome drink, เครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ, เครื่องดื่มประเภทกาแฟชุมชน)

4. กิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับวัฒนธรรม ประเพณีสู่การแสดงชุมชน

5. กิจกรรม อีเวนต์ประชาสัมพันธ์การยกระดับการท่องเที่ยวบนฐานวิถีชีวิตใหม่จากภูมิปัญญาท้องถิ่น

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม
            1. ชุมชนได้รับการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว จำนวน 2 พื้นที่ 1) ชุมชนบ้านหัวอ่าวได้รับการพัฒนากิจกรรมการนวดและสปา 2) ชุมชนห้วยม่วงได้รับการพัฒนากิจกรรมเรียนรู้วิถีเกษตรอินทรีย์ กิจกรรมจับกุ้ง และกิจกรรมทำขนมดอกจอก
            2. ชุมชนได้รับการพัฒนาเมนูอาหารตามอัตลักษณ์พื้นที่ จำนวน 2 พื้นที่ 1) ชุมชนบ้านหัวอ่าวอาหารเชิงสุขภาพตามอัตลักษณ์ท้องถิ่น 3 เมนู 2) ชุมชนห้วยม่วงได้รับการพัฒนาเมนูอาหารกุ้งตามอัตลักษณืพื้นถิ่น 3 เมนู
            3. ชุมชนได้รับการพัฒนา เครื่องดื่ม Welcome drink, เครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ, เครื่องดื่มประเภทกาแฟชุมชน
            4. ชุมชนได้รับการพัฒนาการแสดงเชิงวัฒนธรรม จำนวน 2 พื้นที่ 1) ชุมชนบ้านหัวอ่าวได้รับการพัฒนาการแสดง ฉ่อยในสวน 2) ชุมชนห้วยม่วงได้รับการพัฒนาการแสดงกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวน
            5. ชุมชนได้สื่อประชาสัมพันธ์สำหรับฐานเรียนรู้จำนวน 8 ฐานการเรียนรู้

      

  https://news.npru.ac.th/u_news/detail.php?news_id=31747

27. โครงการนวัตกรรมชุมชน นวัตกรรมชุดสีธรรมชาติท้องถิ่นเพื่อสิ่งทอชุมชน

สถาบันวิจัยและพัฒนา จัดโครงการนวัตกรรมชุดสีธรรมชาติท้องถิ่นเพื่อสิ่งทอชุมชน ได้มีการดำเนินการใน 5 กิจกรรม ดังนี้

          1. ในระหว่างวันที่ 20-24 เมษายน 2566 ได้ดำเนินกิจกรรมสร้างนวัตกร (Innovator) ที่สามารถสร้างสรรค์แนวคิด วิธีการจัดกิจกรรมในการจัดการนวัตกรรมพัฒนาสีธรรมชาติย้อมเส้นใยธรรมชาติเพื่อผลิตภัณฑ์สิ่งทอชุมชน

          2. ในระหว่างวันที่ 25-29 เมษายน 2566 ได้ดำเนินกิจกรรมสร้างนวัตกร (Innovator) ที่สามารถสร้างสรรค์แนวคิด วิธีการจัดกิจกรรมในการจัดการนวัตกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์สีธรรมชาติงานพิมพ์เส้นใยธรรมชาติ

 

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

          1. ได้พัฒนา นวัตกร (Innovator) ในพื้นที่ ที่สามารถสร้างสรรค์แนวคิด วิธีการจัดกิจกรรมในการจัดการ นวัตกรรมพัฒนาสีธรรมชาติย้อมเส้นใยธรรมชาติ เพื่อผลิตภัณฑ์สิ่งทอชุมชน

          2. ได้พัฒนา นวัตกร (Innovator) ในพื้นที่ ที่สามารถสร้างสรรค์แนวคิด วิธีการจัดกิจกรรมในการจัดการนวัตกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์สีธรรมชาติงานพิมพ์เส้นใยธรรมชาติ

      

28. โครงการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเพื่อสร้างมูลค่าตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทางเศรษฐกิจเกษตร อาหารและการท่องเที่ยว

สถาบันวิจัยและพัฒนา จัดโครงการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเพื่อสร้างมูลค่าตลอดห่วงโซ่อุปทานทางเศรษฐกิจเกษตร อาหาร และการท่องเที่ยว ได้มีการดำเนินการใน 4 กิจกรรม ดังนี้

          1. วันที่ 20 มิถุนายน 2566 ได้จัดกิจกรรมยกระดับและพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจชุมชนด้านการเกษตรสินค้าเกษตรเพื่อต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน

          2. ในวันที่ 25-26 พฤษภาคม 2566 ได้กิจกรรมส่งเสริมศักยภาพคนในชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้จากวัตถุดิบในชุมชน อาหารพื้นถิ่นของชุมชน เพื่อเรียนรู้การนำใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นการฝึกปฏิบัติเมนูอาหารที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ท้องถิ่น ได้แก่การคัดเลือกวัตถุดิบที่ถูกวิธี วิธีการล้าง การหยิบจับอาหาร และการแต่งกายที่ถูกต้อง การเลือกล้างภาชนะ อุปกรณ์การเลือกใช้เครื่องปรุงรสอาหาร

          3. วันที่ 23-24,28-30 มิถุนายน 2566 การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การสร้างความรู้ความเข้าใจ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนตำบลวัดละมุด”

          4. วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 ได้จัดกิจกรรมการประเมินความเป็นไปได้และรูปแบบการจัดอีเว้นต์นวัตกรรมการจัดการเพื่อสร้างมูลค่าตลอดห่วงโซ่อุปทานทางเศรษฐกิจเกษตรอาหารและการท่องเที่ยวโดยชุมชน

 

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

          1. ได้ผลิตภัณฑ์ผักตบชวาที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของชุมชนวัดละมุด และเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้กับสินค้าโดยขอพื้นที่วางที่ห้างเซ็นทรัลศาลายาและรูปแบบออนไลน์ , ยกระดับผลิตภัณฑ์น้ำพริกเรือนไทยของชุมชนวัดละมุดโดยการทำบรรจุภัณฑ์ให้กับทางชุมชน และออกแบบตราสินค้าให้มีความสวยงาม แข็งแรง เหมาะกับการขนส่ง ของฝากและของที่ระลึกของทางชุมชน

          2. ได้เมนูอาหารที่มีจากวัตถุดิบพื้นถิ่นของชุมชนโดยการมีส่วนร่วมในการนำเสนอเรื่องราวของเมนูต่าง ๆ ที่รังสรรค์ออกมาเพื่อให้ได้สัมผัสถึงความเป็นชุมชนวัดละมุดซึ่งมีเมนูอาหาร 3 เมนู ได้แก่เมนูแกงเขียวหวานหัวตาล ขนมขี้หนูจากผลตาลสุก เมนูข้าวผัดน้ำพริกลงเรือ ซึ่งทางชุมได้นำเมนูที่รังสรรค์นี้ไปสอดแทรกไว้ในร้านอาหารของชุมชนเพื่อไว้บริการแก่นักท่องเที่ยว

          3. ได้เส้นทางท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์กับการมีส่วนร่วมในชุมชนอันนำไปสู่การสร้างรายได้ของคนในชุมชนพื้นที่ดังนี้ ชมโบสถ์เก่าสมัยอยุธยาตอนปลาย จิตกรรมฝาผนังอายุกว่า 200 ปี กิจกรรมปลูกผัก ผลไม้อินทรีย์ ณ ฟาร์มยิ้มสู้ , ทำพวงกุญแจของที่ระลึกจากผักตบชวา, ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

      

29. การดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัย ราชภัฏนครปฐม

ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พร้อมด้วย นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติผู้ว่าราชการ จังหวัดนครปฐม คณะผู้บริหาร คณาจารย์เจ้าหน้าที่ และผู้นำนักศึกษาวิศวกรสังคม และตัวแทนผู้นำนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ให้การต้อนรับพลเอกดาว์พงษ์รัตนสุวรรณ องคมนตรีและ ดร.นงรัตน์ อิสโร เลขานุการองคมนตรี ในโอกาสตรวจเยี่ยมติดตามความก้าวหน้าและทราบผลในการดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยกิจกรรมช่วงเช้าเป็นการบรรยายสรุป “การดำเนินงานการพัฒนาท้องถิ่น ” และการบรรยายสรุปยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารจัดการ ได้แก่ การบริหารจัดการ/ ขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาท้องถิ่น และการบรรยายสรุปรายงานการดำเนินโครงการพัฒนา Soft Skills ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม และพบผู้แทนนักศึกษา

          จากนั้นในช่วงบ่ายองคมนตรีและคณะได้เดินทางลงพื้นที่ชุมชน ณ ชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (ตลาดในสวน) ชุมชนบ้านหัวอ่าว ต.บางช้าง อ.สามพราน จ.นครปฐม เพื่อพบปะประชาชนและเยี่ยมชมผลการดำเนินงานภายใต้โครงการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม สำหรับโครงการที่ดำเนินการภายใต้โครงการพัฒนาท้องถิ่นฯ ที่นำเสนอมีทั้งหมด 5 โครงการ ประกอบด้วย 1. โครงการชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (ตลาดในสวน) 2. โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น : วิสาหกิจชุมชนปันสุข ต.บ้านยาง อ.เมือง จ.นครปฐม 3. โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น : วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีแม่บ้าน อสม. แปรรูป ผลิตภัณฑ์แห้ว ต.วังยาง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี 4. โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น : วิสาหกิจชุมชนบ้านเห็ดขวัญวัลย์ฟาร์ม ต.ท่าเสา อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร 5. โครงการยกระดับมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น : กลุ่มผ้าทอศรีอุทุมพร วัดโพรงมะเดื่อ อ.เมือง จ.นครปฐม

 https://news.npru.ac.th/u_news/detail.php?news_id=32002

30. โครงการพัฒนาต้นแบบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG จากฐานทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่น เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช (อพ.สธ.)

 สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้ดำเนินงานโครงการในระหว่างวันที่ 28 มีนาคม 2566 - 31 กรกฎาคม 2566 โดยมีกิจกรรม ดังนี้

1. การจัดกิจกรรมการพัฒนาการผลิตกระชายแบบยั่งยืน โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านการปรับปรุงสภาพดิน และส่งเสริมการใช้สารชีวภาพในการควบคุมโรครากเน่าในท่อนพันธุ์กระชายก่อนปลูกให้กับชุมชน การถ่ายทอดองค์ความรู้ส่งเสริมการใช้สารสกัดจากพืชและจุลินทรีย์ต่อต้านในการควบคุมโรครากเน่าและศัตรูพืชของกระชายให้กับชุมชน

2. การจัดกิจกรรมการพัฒนาและส่งเสริมการเพิ่มมูลค่ากระชายด้วยการทำแห้งโดยอาศัยพลังงานจากแสงอาทิตย์ สำหรับสร้างรายได้ให้เกษตรกร

3. การจัดกิจกรรมกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารต่อยอดการใช้ประโยชน์จากกระชาย เพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างเศรษฐกิจได้ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์หมี่กรอบสมุนไพร ผลิตภัณฑ์ชาจากกระชาย ผลิตภัณฑ์กระชายผงพร้อมชง ผลิตภัณฑ์กระชายอบแห้ง

4.การจัดกิจกรรมกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้บรรจุภัณฑ์ช่วยยืดอายุการเก็บอาหารและพืชในชุมชน ด้วยระบบสุญญากาศ การบรรจุอาหารและพืชในชุมชน แบบสุญญากาศ (Vacuum packaging)

5. การจัดกิจกรรมกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้การเพาะเห็ดฟางด้วยผักตบชวาเพื่อสร้างรายได้ ปฏิบัติการในการดูแลเห็ดฟางหลังการเพาะ ปฏิบัติการในการตัดใยเห็ด และการดูและเห็ดฟางหลังการตัดใยเห็ด

6. การจัดกิจกรรมการพัฒนานวัตกรรมการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรในจังหวัดนครปฐม

1. ชุมชนมีองค์ความรู้ทางด้านการปรับปรุงสภาพดิน การใช้สารชีวภาพในการควบคุมโรครากเน่าในท่อนพันธุ์กระชายก่อนปลูก การใช้สารสกัดจากพืชและจุลินทรีย์ต่อต้านในการควบคุมโรครากเน่าและศัตรูพืชของกระชาย ทำให้ชุมชนลดต้นทุนในการผลิต สามารถปลูกกระชายได้ผลผลิตอย่างต่อเนื่องเพื่อจำหน่ายสร้างรายได้

 2. ชุมชนมีองค์ความรู้ในขั้นตอนการผลิตกระชายด้วยการทำแห้ง โดยอาศัยพลังงานจากแสงอาทิตย์ เพื่อเพิ่มมูลค่าจากการพัฒนาต่อยอดการใช้ประโยชน์จากกระชาย นำไปสู่การเสริมสร้างเศรษฐกิจ

3. ชุมชนสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารต่อยอดการใช้ประโยชน์จากกระชาย นำไปสู่การเสริมสร้างเศรษฐกิจ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์หมี่กรอบสมุนไพร ผลิตภัณฑ์ชาจากกระชาย ผลิตภัณฑ์กระชายผงพร้อมชง

ผลิตภัณฑ์กระชายอบแห้ง

4. ชุมชนได้รับองค์ความรู้การใช้บรรจุภัณฑ์ช่วยยืดอายุการเก็บอาหารและพืชในชุมชน ด้วยระบบสุญญากาศ การบรรจุอาหารและพืชในชุมชน แบบสุญญากาศ (Vacuum packaging)

5. ชุมชนมีองค์ความรู้และสามารถเพาะเห็ดฟางด้วยผักตบชวาเพื่อสร้างรายได้

6. ชุมชนได้รับองค์ความรู้ทางด้านการผลิตน้ำมันหอมระเหยจากกระชายเพื่อต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

หลักฐานที่เกี่ยวข้อง / ภาพประกอบ

        

        

          Link ที่เกี่ยวข้อง

https://news.npru.ac.th/u_news/detail.php?news_id=28534

31. การส่งเสริมศิลปะและมรดกตกทอด

กิจกรรมศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 21 “ยลแสง-ศิลป์ ดินแดนแห่งความสุข”

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้เข้าร่วมงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 21 “ยลแสง-ศิลป์ ดินแดนแห่งความสุข” ได้ส่งชุดการแสดงเข้าร่วมงานจำนวน 1 ชุดการแสดง ภายใต้ชื่อชุดการแสดงว่า “ระบำทวารวดี” โดยจะเข้าร่วมงานระหว่างวันที่ 16 – 19 กุมภาพันธ์ 2566 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือภายใน ภายนอก และประชาคม ในการเป็นผู้นำและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พัฒนาและเผยแพร่วัฒนธรรมระดับสากล และเพื่อให้เยาวชนและประชาชนได้เกิดการเรียนรู้ ตระหนักคุณค่า และร่วมกันอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ผลลัพธ์จากการดำเนินการกิจกรรมนี้ คือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปะการแสดงศิลปวัฒนธรรม จากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ

    

    

กิจกรรมมหกรรมศิลปวัฒนธรรมอาเซียนสัมพันธ์และการแสดงนานาชาติครั้งที่ 11

 

                   สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้รับหนังสือขอความอนุเคราะห์ชุดการแสดงงานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมอาเซียนสัมพันธ์และการแสดงนานาชาติ ครั้งที่ 11 ในระหว่างวันที่ 5 – 7 ธันวาคม 2565 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และอุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4) อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เพื่อเป็นการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมสานสัมพันธ์อันดีระหว่างกันให้คงอยู่ตลอดไป สำนักฯ จึงส่งชุดการแสดง 1 ชุดการแสดง ภายใต้ชื่อชุดการแสดงว่า “จิตรลักษณ์ วัฒนธรรมวัดละมุด” จากสาขานาฏศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

    

    

32. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15 ภายใต้หัวข้อ “วิจัยและพัฒนา บนฐานเศรษฐกิจ BCG สู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน”

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15 ภายใต้หัวข้อ “วิจัยและพัฒนา บนฐานเศรษฐกิจ BCG สู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” ระหว่างวันที่ 13 - 14 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุม Dhavaravati 1 โรงแรมไมด้า ทวารวดี แกรนด์ นครปฐม จังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนทางวิชาการ ระหว่างคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษา ทั้งจากหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย นำเสนอแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาการจากงานวิจัยและเผยแพร่ผลงานทาง วิชาการสู่สาธารณะ ซึ่งจะทำให้สามารถขับเคลื่อนในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านการวิจัยในสาขาต่าง ๆ ให้กว้างขวางในอนาคต และเป็นประโยชน์ให้ผู้ที่สนใจสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการศึกษาวิจัยและพัฒนาต่อไป

https://dept.npru.ac.th/conference15/

https://dept.npru.ac.th/conference15/data/files/NPRU_program%20book.pdf

33. มาตรการประหยัดพลังงาน

มาตรการประหยัดพลังงาน

          มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดทำประกาศ เรื่อง มาตรการประหยัดพลังงาน  เพื่อเป็นแนวทางการอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน  เช่น มาตรการประหยัดไฟฟ้า มาตรการประหยัดน้ำมัน มาตรการลดค่าใช้โทรศัพท์ มาตรการลดค่าไปรษณีย์ มาตรการประหยัดน้ำประปา การลดใช้พลาสติก

34. การบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

การบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จัดอบรมหลักสูตร "การบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน" เพื่อเรียนรู้การจัดการข้อมูลชุมชน ทักษะการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์(GIS)ในการวิเคราะห์และจัดทำแผนที่ชุมชน เพื่อใช้ในการพัฒนาเชิงพื้นที่ในมิติต่าง ๆ อาทิ การจัดทำแผนที่สำหรับการจัดการท่องเที่ยวชุมชน แผนที่กลุ่มผู้เปราะบางในชุมชน รวมถึงการจัดทำแผนที่การจัดการภัยพิบัติสำหรับชุมชนเป็นต้น โดยจัดอบรมระหว่างวันที่ 27-30 มีนาคม 2566

35. การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

          มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้ให้ความสำคัญในเรื่องของคุณธรรม ความโปร่งใส และการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล อันประกอบไปด้วย หลักนิติธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า มหาวิทยาลัยจึงได้เข้ารับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้คะแนน 84.09 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน อยู่ในระดับ A

 

 

36. การบริหารจัดการและนักสื่อความหมายการท่องเที่ยวเชิงปัญญาสร้างสรรค์ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดห้วยตะโก จังหวัดนครปฐม

การบริหารจัดการและนักสื่อความหมายการท่องเที่ยวเชิงปัญญาสร้างสรรค์ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดห้วยตะโก จังหวัดนครปฐม

ทีมวิจัยโครงการยุวชนอาสา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ปีงบประมาณ 2566 สัมภาษณ์พระครูปฐมวิบูลกิจ (ไพบูลย์วิบูลชาติ) เจ้าอาวาสวัดห้วยตะโก และคณะทำงานพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดห้วยตะโก จังหวัดนครปฐม ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง การบริหารจัดการและนักสื่อความหมายการท่องเที่ยวเชิงปัญญาสร้างสรรค์ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดห้วยตะโก จังหวัดนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างรูปแบบกลไกและระบบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตามแนวคิดและทฤษฎีการจัดการสมัยใหม่ (Planning Organizing Leading Controlling: POLC) โดยใช้เทคนิคกระบวนการบริหารจัดการองค์กรที่ใช้กันทั้ง ในภาครัฐและภาคเอกชนที่มีอํานาจบริหารหน้าที่ และบทบาทการบริหาร (Planning Organizing Staffing Directing Coordinating Repost Budgeting: POSDCoRB

รายละเอียดเพิ่มเติม