โครงการพัฒนาต้นแบบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG จากฐานทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่น เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช (อพ.สธ.)
สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้ดำเนินงานโครงการในระหว่างวันที่ 28 มีนาคม 2566 - 31 กรกฎาคม 2566 โดยมีกิจกรรม ดังนี้
1. การจัดกิจกรรมการพัฒนาการผลิตกระชายแบบยั่งยืน โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านการปรับปรุงสภาพดิน และส่งเสริมการใช้สารชีวภาพในการควบคุมโรครากเน่าในท่อนพันธุ์กระชายก่อนปลูกให้กับชุมชน การถ่ายทอดองค์ความรู้ส่งเสริมการใช้สารสกัดจากพืชและจุลินทรีย์ต่อต้านในการควบคุมโรครากเน่าและศัตรูพืชของกระชายให้กับชุมชน
2. การจัดกิจกรรมการพัฒนาและส่งเสริมการเพิ่มมูลค่ากระชายด้วยการทำแห้งโดยอาศัยพลังงานจากแสงอาทิตย์ สำหรับสร้างรายได้ให้เกษตรกร
3. การจัดกิจกรรมกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารต่อยอดการใช้ประโยชน์จากกระชาย เพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างเศรษฐกิจได้ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์หมี่กรอบสมุนไพร ผลิตภัณฑ์ชาจากกระชาย ผลิตภัณฑ์กระชายผงพร้อมชง ผลิตภัณฑ์กระชายอบแห้ง
4.การจัดกิจกรรมกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้บรรจุภัณฑ์ช่วยยืดอายุการเก็บอาหารและพืชในชุมชน ด้วยระบบสุญญากาศ การบรรจุอาหารและพืชในชุมชน แบบสุญญากาศ (Vacuum packaging)
5. การจัดกิจกรรมกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้การเพาะเห็ดฟางด้วยผักตบชวาเพื่อสร้างรายได้ ปฏิบัติการในการดูแลเห็ดฟางหลังการเพาะ ปฏิบัติการในการตัดใยเห็ด และการดูและเห็ดฟางหลังการตัดใยเห็ด
6. การจัดกิจกรรมการพัฒนานวัตกรรมการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรในจังหวัดนครปฐม
1. ชุมชนมีองค์ความรู้ทางด้านการปรับปรุงสภาพดิน การใช้สารชีวภาพในการควบคุมโรครากเน่าในท่อนพันธุ์กระชายก่อนปลูก การใช้สารสกัดจากพืชและจุลินทรีย์ต่อต้านในการควบคุมโรครากเน่าและศัตรูพืชของกระชาย ทำให้ชุมชนลดต้นทุนในการผลิต สามารถปลูกกระชายได้ผลผลิตอย่างต่อเนื่องเพื่อจำหน่ายสร้างรายได้
2. ชุมชนมีองค์ความรู้ในขั้นตอนการผลิตกระชายด้วยการทำแห้ง โดยอาศัยพลังงานจากแสงอาทิตย์ เพื่อเพิ่มมูลค่าจากการพัฒนาต่อยอดการใช้ประโยชน์จากกระชาย นำไปสู่การเสริมสร้างเศรษฐกิจ
3. ชุมชนสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารต่อยอดการใช้ประโยชน์จากกระชาย นำไปสู่การเสริมสร้างเศรษฐกิจ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์หมี่กรอบสมุนไพร ผลิตภัณฑ์ชาจากกระชาย ผลิตภัณฑ์กระชายผงพร้อมชง
ผลิตภัณฑ์กระชายอบแห้ง
4. ชุมชนได้รับองค์ความรู้การใช้บรรจุภัณฑ์ช่วยยืดอายุการเก็บอาหารและพืชในชุมชน ด้วยระบบสุญญากาศ การบรรจุอาหารและพืชในชุมชน แบบสุญญากาศ (Vacuum packaging)
5. ชุมชนมีองค์ความรู้และสามารถเพาะเห็ดฟางด้วยผักตบชวาเพื่อสร้างรายได้
6. ชุมชนได้รับองค์ความรู้ทางด้านการผลิตน้ำมันหอมระเหยจากกระชายเพื่อต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
หลักฐานที่เกี่ยวข้อง / ภาพประกอบ
Link ที่เกี่ยวข้อง
https://news.npru.ac.th/u_news/detail.php?news_id=28534