โครงการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเพื่อสร้างมูลค่าตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทางเศรษฐกิจเกษตร อาหารและการท่องเที่ยว

โครงการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเพื่อสร้างมูลค่าตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทางเศรษฐกิจเกษตร อาหารและการท่องเที่ยว

สถาบันวิจัยและพัฒนา จัดโครงการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเพื่อสร้างมูลค่าตลอดห่วงโซ่อุปทานทางเศรษฐกิจเกษตร อาหาร และการท่องเที่ยว ได้มีการดำเนินการใน 4 กิจกรรม ดังนี้

          1. วันที่ 20 มิถุนายน 2566 ได้จัดกิจกรรมยกระดับและพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจชุมชนด้านการเกษตรสินค้าเกษตรเพื่อต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน

          2. ในวันที่ 25-26 พฤษภาคม 2566 ได้กิจกรรมส่งเสริมศักยภาพคนในชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้จากวัตถุดิบในชุมชน อาหารพื้นถิ่นของชุมชน เพื่อเรียนรู้การนำใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นการฝึกปฏิบัติเมนูอาหารที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ท้องถิ่น ได้แก่การคัดเลือกวัตถุดิบที่ถูกวิธี วิธีการล้าง การหยิบจับอาหาร และการแต่งกายที่ถูกต้อง การเลือกล้างภาชนะ อุปกรณ์การเลือกใช้เครื่องปรุงรสอาหาร

          3. วันที่ 23-24,28-30 มิถุนายน 2566 การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การสร้างความรู้ความเข้าใจ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนตำบลวัดละมุด”

          4. วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 ได้จัดกิจกรรมการประเมินความเป็นไปได้และรูปแบบการจัดอีเว้นต์นวัตกรรมการจัดการเพื่อสร้างมูลค่าตลอดห่วงโซ่อุปทานทางเศรษฐกิจเกษตรอาหารและการท่องเที่ยวโดยชุมชน

 

ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/กิจกรรม

          1. ได้ผลิตภัณฑ์ผักตบชวาที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของชุมชนวัดละมุด และเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้กับสินค้าโดยขอพื้นที่วางที่ห้างเซ็นทรัลศาลายาและรูปแบบออนไลน์ , ยกระดับผลิตภัณฑ์น้ำพริกเรือนไทยของชุมชนวัดละมุดโดยการทำบรรจุภัณฑ์ให้กับทางชุมชน และออกแบบตราสินค้าให้มีความสวยงาม แข็งแรง เหมาะกับการขนส่ง ของฝากและของที่ระลึกของทางชุมชน

          2. ได้เมนูอาหารที่มีจากวัตถุดิบพื้นถิ่นของชุมชนโดยการมีส่วนร่วมในการนำเสนอเรื่องราวของเมนูต่าง ๆ ที่รังสรรค์ออกมาเพื่อให้ได้สัมผัสถึงความเป็นชุมชนวัดละมุดซึ่งมีเมนูอาหาร 3 เมนู ได้แก่เมนูแกงเขียวหวานหัวตาล ขนมขี้หนูจากผลตาลสุก เมนูข้าวผัดน้ำพริกลงเรือ ซึ่งทางชุมได้นำเมนูที่รังสรรค์นี้ไปสอดแทรกไว้ในร้านอาหารของชุมชนเพื่อไว้บริการแก่นักท่องเที่ยว

          3. ได้เส้นทางท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์กับการมีส่วนร่วมในชุมชนอันนำไปสู่การสร้างรายได้ของคนในชุมชนพื้นที่ดังนี้ ชมโบสถ์เก่าสมัยอยุธยาตอนปลาย จิตกรรมฝาผนังอายุกว่า 200 ปี กิจกรรมปลูกผัก ผลไม้อินทรีย์ ณ ฟาร์มยิ้มสู้ , ทำพวงกุญแจของที่ระลึกจากผักตบชวา, ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง