การพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก กรณีศึกษาชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ บ้านดอนแฉลบ ต.ห้วยม่วง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
การพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก กรณีศึกษาชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ บ้านดอนแฉลบ ต.ห้วยม่วง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
มหาวิทยาลัยโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาร่วมกับสาขาวิชา 4 สาขาวิชาในมหาวิทยาลัย ได้ แก่ 1.สาขาการบริการธุรกิจท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์ 2.สาขานาฏศิลป์และศิลปะการแสดง 3.สาขาศิลปศึกษา 4.สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ได้ดำเนินการการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ชุมชนบ้านดอนแฉลบ ต.ห้วยม่วง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ในรูปแบบการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยการตลาดวิถีใหม่เพื่อเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ในรูปแบบออฟไลน์/ออนไลน์ของคนในชุมชนห้วยม่วง จังหวัดนครปฐม
กิจกรรมที่มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการให้กับชุมชน
1. ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยการตลาดวิถีใหม่เพื่อเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ ในรูปแบบออฟไลน์/ออนไลน์ของคนในชุมชนห้วยม่วง จังหวัดนครปฐม
2. พัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนด้านการจัดการตลาดวิถีใหม่ เช่น การพัฒนาเมนูอาหารท้องถิ่นจาก วัตถุดิบในท้องถิ่น การบริการอาหารและเครื่องดื่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน การจัดศิลปะการแสดงวัฒนธรรมและความเชื่อของชุมชนเพื่อการจัดงาน งานกิจกรรมต่างๆ (Event) การสื่อสารการตลาดและประชาสัมพันธ์ในรูปแบบออนไลน์
3. พัฒนารูปแบบการจัดการตลาดวิถีใหม่โดยชุมชน
ผลลัพธ์ของการดำเนินงาน
1. ชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการตลาดวีถีใหม่ มีการวางแผนทำการตลาดเพื่อนำผลิตภัณฑ์ของทางชุมชนมาเปิดร้านขายในพื้นที่ตลาดนัดชุมชน และเพิ่มช่องทางทางในการขายผ่านช่องทางการตลาดแบบออนไลน์ผ่านทางเพจเฟสบุ๊คของทางชุมชนห้วยม่วง ทำให้ทางชุมชนสามารถมียอดขายผลิตภัณฑ์ของชุมชนเพิ่มขึ้นอีกช่องทางหนึ่ง ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
2. จากการพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนห้วยม่วงด้วยการอบรมการตลาดวิถีใหม่ ทำให้ทางชุมชนสามารถนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนมาแปรรูปเป็นเมนูอาหารประจำถิ่น เพื่อใช้ในการให้บริการจัดเลี้ยงในการจัดงาน งานกิจกรรมต่างๆ (Event) และการให้บริการนักท่องเที่ยว และคนในชุมชน ซึ่งทางชุมชนสามารถนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนมาแปรรูปเป็นเมนูอาหารได้ทั้งหมด 10 เมนู ผลิตภัณฑ์ผ้าทอของชาวลาวครั่งที่ได้จากการพัฒนาต่อยอดให้มีสีสันหลากหลาย เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กลุ่มลูกค้าหรือนักท่องเที่ยว ชุดการแสดงชุมชนที่เป็นการแสดงสำหรับการต้อนรับนักท่องเที่ยว 2 ชุดการแสดง
3. ชุมชนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดโครงการไปต่อยอดในการจัดตลาดโดยการออกร้านที่เป็นร้านของทางชุมชนห้วยม่วงร่วมกับตลาดนัดที่มีขึ้นในชุมชนทั้งในรูปแบบออฟไลน์ และในรูปแบบออนไลน์ และในระยะถัดไปทางชุมชนห้วยม่วงได้วางแผนในการดำเนินการจัดกิจกรรมให้คนมาเที่ยวในชุมชนโดยการเตรียมจัดโครงการวิ่งมาราธอนกุ้งซิ่งที่ยิ่งใหญ่และน่าสนใจมากขึ้น ซึ่งจะเป็นช่องทางในการท่องเที่ยวโดยชุมชนและทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น