ความมุ่งมั่นต่อการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัด 17.4 การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดย่อย 17.4.1 ความมุ่งมั่นต่อการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีความมุ่งมั่นที่จะให้การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนกับนักศึกษาทุกคน ได้เรียนรู้และเข้าใจความสำคัญของการดำเนินชีวิตให้มีความยั่งยืน โดยมหาวิทยาลัยได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ. 2566-2570
1. รหัสวิชา 4522201 รายวิชาโภชนศาสตร์ Nutrition สาขาวิชาการจัดการอาหาร (Food Management)
คำอธิบายรายวิชา :
ความหมาย ประวัติและความสำคัญของโภชนาการที่มีต่อสุขภาพ หลักการของโภชนศาสตร์ โภชนบัญญัติ ธงและฉลากโภชนาการ ประเภทของสารอาหาร หน้าที่และปริมาณที่ควรได้รับ แหล่งสารอาหาร การย่อยและการดูดซึมสารอาหาร ปัญหาโภชนาการในประเทศไทย หน่วยงานภายในและต่างประเทศที่มีบทบาทในการแก้ปัญหาโภชนาการ
คำอธิบายเพิ่มเติม :
ผู้สอนจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างสุขภาพที่ดี ดังนี้
1. ให้นักศึกษาทุกคนสำรวจสุขภาพของตนเอง ด้วยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว และวิเคราะห์ดัชนีมวลกาย (BMI) จากนั้นให้วิเคราะห์ตนเองว่ามีสุขภาพอย่างไร กรณีที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น มีภาวะอ้วน ผู้สอนจะกระตุ้นให้ผู้เรียนวิเคราะห์ถึงสาเหตุว่าเกิดจากอะไรพร้อมให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ และมีการติดตามผลว่าผู้เรียนสามารถปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิตหรือไม่ และมีสุขภาพที่ดีขึ้นหรือไม่
2. ให้ความรู้เรื่องการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารโดยการอ่านฉลากโภชนาการ เพื่อประโยชน์ในการเลือกซื้อ เลือกบริโภคให้เหมาะสมกับเเต่ละบุคคล รวมถึงให้เห็นความสำคัญของการลดหวานมันเค็ม ซึ่งจะเป็นสิ่งที่จะนำไปสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่เกิดจากการบริโภคอาหาร
3. กิจกรรมเกมส์ “Davinci game จานนี้กี่เเคล” ทำให้นักศึกษาคำนึงถึงปริมาณเเคลอรีที่ได้รับว่ารับประทานอาหารประเภทใด ให้เเคลอรีมากหรือน้อย เพื่อที่จะได้จำกัดปริมาณการบริโภคอย่างเหมาะสม
2. รหัสวิชา 4513207 รายวิชา อาหารเพื่อสุขภาพและความงาม Food for Health and Beauty สาขาวิชา การจัดการอาหาร ( Food Management )
คำอธิบายรายวิชา :
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีสุขภาพดี หลักการบริโภคอาหารเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี อาหารทางเลือก แมคโครไบโอติกส์ อาหารชีวจิต อาหารสมุนไพร อาหารก่อมะเร็ง อาหารต้านมะเร็ง อาหารคลีน อาหารคีโตจีนิกส์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและฟังชันนาลฟูดส์ อาหารดัดแปลงทางพันธุกรรม และอาหารกลุ่มใหม่ที่มีผลต่อสุขภาพและความงาม
คำอธิบายเพิ่มเติม :
ผู้สอนจัดกิจกรรมเสริมสร้างการมีสุขภาพดีและความเป็นอยู่ที่ดี ดังนี้
1. ให้นักศึกษาทดลองทำอาหารเพื่อสุขภาพคนละ 1 เมนูพร้อมนำเสนอ concept idea ว่าอาหารสุขภาพที่ทำเหมาะกับคนกลุ่มใด และมี phytochemical และ zoochemical อะไรบ้างในเมนูนั้นๆ
2. จัดการเรียนการสอนเรื่องการดูแลสุขภาพและความงาม ได้แก่ อาหารลดน้ำหนัก, IF, Ketogenic diet,อาหารชีวจิต, south beach diet, Low CARB, Macrobiotics, CLEAN food, อาหารก่อมะเร็งและต้านมะเร็ง, วิธีการ burned เพื่อลดไขมันในร่างกาย, การออกกำลังกายอย่างถูกวิธี เป็นต้น
3. จัดกิจกรรม Challenge ให้นักศึกษาแข่งกันลดน้ำหนักและ % ไขมันในร่างกาย โดยวัดก่อนเรียนตอนต้นเทอม และวัดอีกครั้งก่อนปิด course โดยให้คะแนนพิเศษสำหรับ นศ. ที่ทำสำเร็จ 5 %
4. จัดกิจกรรม Challenge การวิ่งสะสม km. แข่งกับอาจารย์ผู้สอน
5. จัดกิจกรรมศึกษาดูงาน ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ ได้แก่ ร้านอาหารมังสวิรัติบ้านอิ่มเย็น ร้านอาหารออร์แกนิกส์ ปฐมออร์แกนิกส์
6. ให้นักศึกษาค้นคว้า งานวิจัยที่เกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพมานำเสนอหน้าชั้นเรียนคนละเรื่องเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในห้องเรียน
7. เผยแพร่เมนูอาหารชูสุขภาพที่มีความโดดเด่น น่าสนใจลงในเพจสาขาฯ เพื่อการเผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์หลักสูตร
3. รหัสวิชา 1033210 รายวิชา เกมิฟิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ Gamification for Learning สาขาวิชา เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา (Educational Technology and Innovation)
คำอธิบายรายวิชา :
หลักการ แนวคิด ลักษณะ องค์ประกอบของเกมิฟิเคชั่น การออกแบบและขั้นตอนการพัฒนาเกมิฟิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ การประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนมาใช้ในการออกแบบและพัฒนาเกมิฟิเคชั่น และฝึกปฏิบัติ
คำอธิบายเพิ่มเติม :
รายวิชาเกมิฟิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับแนวคิดเกมิฟิเคชั่น กลไกเกม (Machanics) อารมณ์ของเกม (Emotions) พลวัตของเกม (Dynamics) การพัฒนาเกมิฟิเคชั่นจากกรณีศึกษา การออกแบบเกมิฟิเคชั่น การประยุกต์ใช้เกมิฟิเคชั่นเชิงธุรกิจเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งรายวิชานี้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบูรณาการกับการพัฒนาท้องถิ่น โดยร่วมมือกับครูประจำวิชาประวัติศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนราชินีบูรณะ ในการพัฒนากิจกรรมเกมิฟิเคชั่น และการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน โดยครูประจำรายวิชาดังกล่าวได้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลด้านเนื้อหาในรายวิชาและพฤติกรรมของนักเรียน เพื่อให้นักศึกษาในรายวิชาเกมิฟิเคชั่นเพื่อการเรียนรู้ได้ออกแบบกิจกรรมเกมิฟิเคชั่นและการใช้เกมเป็นฐาน จากนั้นจึงนำกิจกรรมและเกมที่ออกแบบไปทดลองใช้ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนต่อไป
4. รหัสหัสวิชา 4173704 รายวิชา การพยาบาลฉุกเฉินและการจัดการภัยพิบัติ Emergency Nursing and Disaster Management สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
คำอธิบายรายวิชา :
แนวคิดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน หลักการ การพยาบาลผู้ที่มีปัญหาความเจ็บป่วยฉุกเฉิน ทุกช่วงอายุทั้งระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน การช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุอุบัติภัยและสาธารณภัย ณ จุดเกิดเหตุ การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ การช่วยเหลือเพื่อแก้ไขภาวะ ฉุกเฉิน การบาดเจ็บในระบบต่างๆ ภาวะช็อก และการช่วยฟื้นคืนชีพ การจัดการภัยพิบัติหลักกระบวนการพยาบาล ประเด็นกฎหมายจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
คำอธิบายเพิ่มเติม :
รายวิชาการพยาบาลฉุกเฉินและการจัดการภัยพิบัติ มีการจัดการเรียนการสอน เกี่ยวกับ ภาวะฉุกเฉินระบบหัวใจและหลอดเลือด ภาวะฉุกเฉินทางสูตินรีเวชและการคลอดฉุกเฉิน ภาวะฉุกเฉินระบบต่อมไร้ท่อ หลักการที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลผู้เจ็บป่วย/บาดเจ็บฉุกเฉิน หลักการพยาบาลฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วย / ผู้บาดเจ็บฉุกเฉิน ระยะก่อนถึงโรงพยาบาล ฝึกปฏิบัติการ: คัดแยกผู้บาดเจ็บ / ผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ และ ณ ห้องฉุกเฉิน ภาวะฉุกเฉินทางสิ่งแวดล้อม ฝึกปฏิบัติการ : การประเมิน และการช่วยเหลือระบบไหลเวียนโลหิต : การห้ามเลือด โดยการเย็บแผล ภาวะฉุกเฉินทางผิวหนัง การพยาบาลฉุกเฉิน ฝึกปฏิบัติการ : ประเมินและการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บไฟไหม้/น้ำร้อนลวก/ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นลม ภาวะฉุกเฉินทางระบบทางเดินหายใจ ฝึกปฏิบัติการ : การประเมิน และการช่วยเหลือระบบหายใจ (การเปิดทางเดินหายใจโดยการจัดท่า การใช้อุปกรณ์ และการใช้ Mask Valve Bag with self inflation) ภาวะฉุกเฉินทางจิตเวช การช่วยฟื้นคืนชีพ ฝึกปฏิบัติการ: ช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน BLS, AED ฝึกปฏิบัติการ: การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง (ACLS) ภาวะฉุกเฉินระบบกระดูก ข้อ กล้ามเนื้อและการยกเคลื่อนย้าย ฝึกปฏิบัติการ: ดาม การเคลื่อนย้าย การถอดหมวกกันน้อค การใส่ cervical collar ภาวะฉุกเฉินทางช่องท้อง ในภาคปฏิบัติทางการพยาบาลสอน เรื่องการเกิดอุบัติเหตุจราจรและการให้การช่วยเหลือ มีการฝึกปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บทางจราจรที่สงสัยว่ามีภาวะกระดูกสันหลังส่วนต้นคอได้รับบาดเจ็บร่วมกับแพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลนครปฐม การฝึกปฏิบัติในแต่ละบทบาทหน้าที่ของการเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บกรณีเกิดอุบัติภัยหมู่ โดยใช้ระบบบัญชาการ (Incident command system) การฝึกปฏิบัติการยกเคลื่อนย้ายและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นการนำความรู้จากการเรียนทฤษฎีที่กล่าวไว้ข้างต้น ไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยในสถานการณ์จริง ทั้งมิติการส่งเสริม การป้องกัน การดูแล และการฟื้นฟู